LASTEST NEWS

11 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ต.ค. 2567ข่าวดี!!! สพป.สกลนคร เขต 1 เตรียมเรียกบรรจุครูผู้ช่วย 8 วิชาเอก 30 อัตรา 10 ต.ค. 2567โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง 5 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 8 - 27 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนผาเมืองวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน ตั้งแต่วันที่ 10-25 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 7 กลุ่มวิชาเอก 23 อัตรา - รายงานตัว 16 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนสีชมพูศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,050 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 ตุลาคม 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 09 ต.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567ครูสายผู้สอน ที่จะไปสอบผอ.โรงเรียนในรอบถัดไป ความหวังเริ่มริบหรี่ ก.ค.ศ. ออกเกณฑ์สกัดดาวรุ่ง ต้องเป็นรองผอ.ชำนาญการพิเศษ 2 ปี หรือตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า 08 ต.ค. 2567ก.ค.ศ. ออกหนังสือแจ้ง ว 19/2567 มาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ด่วน! ผลประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 9 มีนาคม 2566

  • 09 มี.ค. 2566 เวลา 18:54 น.
  • 4,645
ด่วน! ผลประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 9 มีนาคม 2566

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ด่วน! ผลประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 9 มีนาคม 2566

          ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)  ครั้งที่ 3/2566 วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2566 โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุมซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและมีมติที่สำคัญ ดังนี้

1. เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการย้าย การเปลี่ยนตำแหน่ง และการโอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ ไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

          เนื่องจาก ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่ง การย้าย และการโอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ ไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2) ตาม ว 30/2560 ซึ่งยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน และจากการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้มาระยะหนึ่งพบว่ายังไม่ครอบคลุมการย้ายบางกรณี ได้แก่ การย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่ง และการย้ายตามผลการสอบแข่งขันได้ ซึ่งมีข้อหารือประเด็นปัญหาและแนวปฏิบัติมายังสำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นจำนวนมาก ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว เพื่อให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและกลไกการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) สอดคล้องกับบริบทของกฎหมายและหลักเกณฑ์และวิธีการฯที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานการศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้มีการสังเคราะห์ข้อกฎหมายและสภาพปัญหาในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ประกอบกับได้รับฟังความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และได้ปรับปรุง (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการย้าย การเปลี่ยนตำแหน่ง และการโอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ ไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

          ทั้งนี้ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ที่ได้ปรับปรุงใหม่ดังกล่าว มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดให้ส่วนราชการกำหนดรายละเอียดองค์ประกอบ ตัวชี้วัด น้ำหนักคะแนน เกณฑ์การตัดสิน วิธีการในการประเมินบุคคลและประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่หลักเกณฑ์และวิธีการใหม่มีผลใช้บังคับ โดยในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านที่ส่วนราชการยังมิได้ประกาศรายละเอียดองค์ประกอบ ตัวชี้วัด น้ำหนักคะแนนเกณฑ์การตัดสิน และวิธีการในการประเมินบุคคล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใหม่ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังคับอยู่เดิมไปพลางก่อน การใดอยู่ระหว่างดำเนินการ หรือเคยดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังคับอยู่เดิม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเติมการย้ายอีก 3 กรณี ได้แก่ การย้ายสับเปลี่ยน การย้ายตามผลการสอบแข่งขัน และการย้ายเพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ในการบริหารจัดการในหน่วยงานการศึกษา เพื่อให้มีความสอดคล้องในการบริหารงานบุคคลฯ มากยิ่งขึ้น

2. เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการอื่นมาบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

          สืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการอื่น มาบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)ตาม ว 29/2560 ต่อมา ก.ค.ศ. ได้ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการอื่นฯ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 206.5/10 ลงวันที่ 13 มกราคม 2563 และแนวทางการพิจารณาเทียบเคียงมาตรฐานการสอบแข่งขันตามหลักเกณฑ์และวิธีการโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการอื่นฯ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.5/387 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจากการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวมาระยะหนึ่งพบว่า ส่วนราชการและหน่วยงานการศึกษายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯดังกล่าวในหลายประเด็น ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับข้อหารือเนื่องจากประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติเป็นจำนวนมาก

          ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการอื่น มาบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตาม ว 29/2560 มีความสอดคล้องกับบริบทของกฎหมายและหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ที่เกี่ยวข้องและมีความชัดเจนในทางปฏิบัติ เพื่อหน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามระบบคุณธรรม และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยได้มีการสังเคราะห์ข้อกฎหมายและสภาพปัญหาในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ประกอบกับได้รับฟังความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และได้ปรับปรุง (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการอื่น มาบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

          ทั้งนี้ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ที่ได้ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ได้แก่ กำหนดให้ส่วนราชการกำหนดรายละเอียดองค์ประกอบ ตัวชี้วัด น้ำหนักคะแนน เกณฑ์การตัดสิน วิธีการในการประเมินบุคคลและประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่หลักเกณฑ์และวิธีการใหม่มีผลใช้บังคับในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านที่ส่วนราชการยังมิได้ประกาศรายละเอียดองค์ประกอบ ตัวชี้วัด น้ำหนักคะแนนเกณฑ์การตัดสิน และวิธีการในการประเมินบุคคล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใหม่ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังคับอยู่เดิมไปพลางก่อน การใดอยู่ระหว่างดำเนินการ หรือเคยดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังคับอยู่เดิม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จ

3. เห็นชอบ (ร่าง) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดังนี้

         1. (ร่าง) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ)

         2. (ร่าง) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์

         3. (ร่าง) แนวปฏิบัติวิธีการนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ)

         สืบเนื่องจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งฯ ที่ 19/2560 ซึ่ง พรบ.ดังกล่าว กำหนดให้มี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ทำหน้าที่การบริหารงานบุคคลตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ แทน กศจ. และปรับเปลี่ยนผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งฯ ในเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรา 53 (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ไปเป็นอำนาจของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา จึงส่งผลต่อการบรรจุและแต่งตั้งฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย และตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัด สพฐ. ซึ่งดำเนินการไว้ก่อนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

        ดังนั้น ก.ค.ศ. จึงได้ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ. ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการบรรจุและแต่งตั้งฯ ได้ภายหลังจากมี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เรียบร้อยแล้ว โดยหลักการสำคัญของ (ร่าง) หลักเกณฑ์ดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

        1. แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งฯ ใช้ในการดำเนินการบรรจุและแต่งตั้งฯ สำหรับกรณีที่ มีผู้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย และผู้ขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัด สพฐ. (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) ซึ่งได้ดำเนินการไว้ก่อนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งฯ ที่ 19/2560 มีผลใช้บังคับและบัญชีดังกล่าวยังไม่ครบอายุการขึ้นบัญชี

        2. บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย หรือบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ แล้วแต่กรณี ของแต่ละ กศจ. ให้เป็นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ หรือบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ทุกเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนั้น ๆ

        3. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 หรือเขตเดียวในจังหวัด มีหน้าที่ดูแล ควบคุม และประสานงานเกี่ยวกับการใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จนกว่าจะครบอายุการขึ้นบัญชีหรือบัญชีถูกยกเลิก

        สำหรับบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ เนื่องจากการประกาศขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกฯ แยกเป็นสังกัด สพป. และสังกัด สพม. ดังนั้น จึงมอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 หรือเขตเดียวในจังหวัด มีหน้าที่ดูแล ควบคุม และประสานงานเกี่ยวกับการใช้บัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกฯ สังกัด สพป. และให้ สพม. มีหน้าที่ดูแล ควบคุมและประสานงานเกี่ยวกับการใช้บัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกฯ สังกัด สพม. จนกว่าจะครบอายุการขึ้นบัญชีหรือบัญชีถูกยกเลิก

        4. การดำเนินการบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีของ กศจ. ในจังหวัดนั้น

                4.1 การบรรจุและแต่งตั้งฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย เมื่อสถานศึกษามีตำแหน่งว่าง ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีตำแหน่งว่าง เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเพื่อมีมติอนุมัติจำนวนตำแหน่งว่างกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก ที่จะบรรจุและแต่งตั้ง และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีตำแหน่งว่างแจ้งมติดังกล่าวไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ทำหน้าที่ดูแลบัญชี เพื่อเรียกตัวผู้ขึ้นบัญชีมารายงานตัวเพื่อเลือกสถานศึกษาที่จะบรรจุและแต่งตั้ง

                4.2 การบรรจุและแต่งตั้งฯ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ให้ดำเนินการดังนี้

                     1) การบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกในสังกัด สพป. เมื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีตำแหน่งว่าง ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีตำแหน่งว่าง เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเพื่อมีมติอนุมัติจำนวนตำแหน่งว่างที่จะบรรจุและแต่งตั้ง และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีตำแหน่งว่างแจ้งมติดังกล่าวไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ทำหน้าที่ดูแลบัญชี เพื่อเรียกตัวผู้ขึ้นบัญชีมารายงานตัวเพื่อเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ จะบรรจุและแต่งตั้ง

                    2) การบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกในสังกัด สพม. เมื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มีตำแหน่งว่าง ให้เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่มัธยมศึกษา พิจารณาเพื่อมีมติอนุมัติจำนวนตำแหน่งว่างที่จะบรรจุและแต่งตั้ง แล้วจึงเรียกตัวผู้ได้รับการคัดเลือกมารายงานตัวเพื่อเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จะบรรจุและแต่งตั้ง

        5. การดำเนินการบรรจุและแต่งตั้งฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยการขอใช้บัญชีจาก กศจ. อื่น

               5.1 เมื่อสถานศึกษามีตำแหน่งว่าง ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีตำแหน่งว่างเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณากำหนดกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก เมื่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มีมติอนุมัติให้ขอใช้บัญชี ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งมติไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อขอรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้

               5.2 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ (เจ้าของบัญชี) เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษานั้น พิจารณาเพื่อมีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ทั้งนี้ หากมีมติอนุมัติให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้สอบถามความสมัครใจผู้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และแจ้งรายชื่อผู้สมัครใจให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ขอใช้บัญชีทราบเท่ากับจำนวนตำแหน่งว่างตามที่ขอ

               5.3 เมื่อผู้สอบแข่งขันได้รายใดได้รับการประกาศขึ้นบัญชีของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาที่ขอใช้บัญชีแล้วผู้สอบแข่งขันได้รายนั้นจะถูกยกเลิกการขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีเดิม

        6. การบรรจุและแต่งตั้ง ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี สั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานตำแหน่ง โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา โดยให้บรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่และตามจำนวนตำแหน่งว่าง

4. เห็นชอบ ขยายเวลาการบังคับใช้ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564

          สืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. ได้ออกระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 เพื่อให้ส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด นำระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในกระบวนการบริหารและจัดการข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับทะเบียนประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้นส่วนราชการดังกล่าวจึงต้องดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ซึ่งจะครบกำหนดภายในวันที่ 20 มีนาคม 2566 นี้

          แต่เนื่องจากผลของการประกาศ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน 2560 พ.ศ. 2565 ได้กำหนดให้มี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา และให้ปรับเปลี่ยนผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรา 53 (3) และ (4) แห่ง พรบ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547และแก้ไขเพิ่มเติม ไปเป็นหน้าที่และอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี นั้น ส่งผลกระทบต่อระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาไว้ ซึ่งระบบดังกล่าว ไม่ได้ออกแบบให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งฯ ก.ค.ศ. จึงได้มีมติขยายเวลาการบังคับใช้ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 ออกไปอีก 1 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ดำเนินการปรับปรุงระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความสอดคล้อง และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

5. เห็นชอบ (ร่าง) แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในช่วงเปลี่ยนผ่าน

                    ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้ พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง คสช. ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการฯ ทำให้อำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรา 53 (3) และ (4) ไปเป็นหน้าที่และอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี และเมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ 2566 ก.ค.ศ. ได้เห็นชอบให้มี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นั้น ส่งผลต่อการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเดิมกรณีศึกษาธิการจังหวัดได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ข้าราชการครูฯ สังกัด สพท. ไว้ก่อนวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจการบริหารงานบุคคลจาก กศจ. ไปยัง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับข้อหารือในการดำเนินการกรณีต่าง ๆ ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร เช่น

                    1. คณะกรรมการสอบสวนรายงานการสอบสวนต่อไปได้หรือไม่

                    2. การออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขกรรมการสอบสวน

                    3. การคัดค้านกรรมการสอบสวน

                    4. คณะกรรมการสอบสวนจะต้องรายงานการสอบสวนต่อผู้ใด รวมทั้งการพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ที่ศึกษาธิการจังหวัดรับเรื่องไว้แล้วแต่ยังไม่เสนอ กศจ.

                    ก.ค.ศ. ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ดังนี้

                    1. คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ที่ศึกษาธิการจังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งไว้ก่อนวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 สามารถดำเนินการสอบสวนต่อไปได้จนแล้วเสร็จ

                    2. กรณีที่ต้องมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวน การสั่งในเรื่องคัดค้านกรรมการสอบสวน การสั่งขยายระยะเวลาการสอบสวน เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาสั่ง หากมีการส่งเรื่องดังกล่าวไปยังศึกษาธิการจังหวัด (ผู้ออกคำสั่งเดิม) ให้ศึกษาธิการจังหวัดส่งเรื่องไปให้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี ดำเนินการพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

                    3. การรายงานการสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานไปยังศึกษาธิการจังหวัด เพื่อตรวจสำนวนการสอบสวน (โดยเทียบเคียงกับข้อ 37 ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550) เมื่อศึกษาธิการจังหวัดได้ตรวจสำนวนการสอบสวนแล้ว ให้ส่งสำนวนไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี เพื่อตรวจสำนวนและพิจารณาสั่งสำนวนการสอบสวนต่อไป

                    4. สำหรับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ที่มีการยื่นไว้ที่ศึกษาธิการจังหวัด แต่ศึกษาธิการจังหวัดยังมิได้เสนอ กศจ. เพื่อพิจารณาก่อนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ให้ส่งเรื่องให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาต่อไป

                   ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. จะได้แจ้งแนวปฏิบัติให้ทราบต่อไป

6. แก้ไขเพิ่มเติมการตั้ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา

    สืบเนื่องจาก ก.ค.ศ. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้น 245 เขต โดยมีเงื่อนไขว่า หากตรวจสอบภายหลังพบว่า ประธานอนุกรรมการหรืออนุกรรมการรายใด มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม หรือมีกรณีใดกรณีหนึ่งที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด จะถูกเพิกถอนการดำรงตำแหน่งฯ ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ตรวจสอบในภายหลังพบว่า

          1. ประธานอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ขอลาออก หรือมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 3 เขต เห็นควรแต่งตั้งบุคคลที่ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจฯ ได้มีมติเห็นชอบดังกล่าว มาทดแทน เพื่อให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีองค์ประกอบครบถ้วน

          2. อนุกรรมการผู้แทน ก.ค.ศ. ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ขอลาออก หรือมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 11 เขต ควรสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติฯ มาทดแทน เพื่อให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีองค์ประกอบครบถ้วน โดยสำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นผู้เสนอรายชื่อ

          3. รายชื่ออนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนทางธุรการ จำนวน 20 เขต เห็นควรแก้ไขคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และนามสกุลของคณะอนุกรรมการฯ ให้ถูกต้อง

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: สำนักงาน ก.ค.ศ. วันที่ 9 มีนาคม 2566
  • 09 มี.ค. 2566 เวลา 18:54 น.
  • 4,645

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^