LASTEST NEWS

10 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 10 ต.ค. 2567ข่าวดี!!! สพป.สกลนคร เขต 1 เตรียมเรียกบรรจุครูผู้ช่วย 8 วิชาเอก 30 อัตรา 10 ต.ค. 2567โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง 5 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 8 - 27 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนผาเมืองวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน ตั้งแต่วันที่ 10-25 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 7 กลุ่มวิชาเอก 23 อัตรา - รายงานตัว 16 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนสีชมพูศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,050 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 ตุลาคม 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 09 ต.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567ครูสายผู้สอน ที่จะไปสอบผอ.โรงเรียนในรอบถัดไป ความหวังเริ่มริบหรี่ ก.ค.ศ. ออกเกณฑ์สกัดดาวรุ่ง ต้องเป็นรองผอ.ชำนาญการพิเศษ 2 ปี หรือตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า 08 ต.ค. 2567ก.ค.ศ. ออกหนังสือแจ้ง ว 19/2567 มาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

“กระจายอำนาจการศึกษา” ทางออกไทยแก้จน-เหลื่อมลํ้า

  • 23 ส.ค. 2565 เวลา 21:31 น.
  • 1,274
“กระจายอำนาจการศึกษา” ทางออกไทยแก้จน-เหลื่อมลํ้า

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“กระจายอำนาจการศึกษา” ทางออกไทยแก้จน-เหลื่อมลํ้า


มื่อเร็วๆ นี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการปรับปรุงข้อเสนอ โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ปี 2565 ครั้งที่ 2ซึ่งเปิดให้มีเวทีเสวนาของภาคีร่วมดำเนินงานทั้ง 12 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ปัตตานี พะเยา พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ระยอง ลำปาง สงขลา สมุทรสงคราม สุโขทัย สุราษฎร์ธานี และสุรินทร์

ผศ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวว่า เป็นปีที่ 3 แล้วที่สมัชชาการศึกษานครจังหวัดลำปาง ร่วมเป็นภาคีจังหวัดจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพราะเชื่อว่าอนาคตของเด็กคืออนาคตของลำปาง โดยได้ตั้งเป้าหมายการทำงานไว้ 3 ระยะ คือ 1.ระยะยาว (อีก 3-4 ปีข้างหน้า) ลำปางจะต้องเกิดการยกระดับสมัชชาการศึกษานครลำปาง ให้เป็นองค์กรเชิงโครงสร้าง มีบทบาทในการระดมทุน ระดมสมอง และระดมทรัพยากรจัดตั้งเป็นกองทุนการศึกษา


2.ระยะกลาง กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสหรือเด็กเสี่ยงและเด็กหลุดจากระบบการศึกษาสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ ส่วนเด็กที่อยู่ในระบบจะต้องมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น และ 3.ระยะแรก จังหวัดลำปางต้องเกิดการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเป็นของตัวเอง ใช้ได้จริง และบูรณาการได้กับทุกภาคส่วน

นายคำรณ นิ่มอนงค์ บริษัท สร้างสรรค์ปัญญา จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจแบบ “โซเชียลเอ็นเตอร์ไพรส์” กล่าวว่า แนวคิดการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของจังหวัดสมุทรสงครามคือ การสร้างกลไกปกป้อง คุ้มครอง เยียวยา รักษา ส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชนในจังหวัด โดยบริษัทจะทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงกลไกภาครัฐ ภาคเอกชน วัด และภาคประชาสังคมให้เข้ามาบูรณาการการทำงานร่วมกัน ภายใต้แนวคิดการทำงานแบบ 3 ชั้น ได้แก่ 1.ชั้น Nano เป็นการเคลื่อนงานของกลไกระดับแนวราบทุกตำบล

2.ชั้น Micro เป็นการทำงานขับเคลื่อนโดยกลุ่ม ครอบครัว ชุมชน สถานศึกษาในระดับพื้นที่ และเครือข่ายเด็กเยาวชนเพื่อเคลื่อนงานกับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มเด็กและเยาวชนที่เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา กลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ และ 3.ชั้น Mesoเป็นการทำงานชั้นผสมผสานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานในระดับอำเภอและท้องถิ่นเข้ามาเป็นแกนกลาง ที่ต้องทำงานประสานและเชื่อมโยงกันในทุกระดับชั้น

โดยชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นกลไกหลักทำหน้าที่ดูภาพรวมการทำงานทั้งหมด มีคณะอำนวยการระดับจังหวัดที่มีศึกษาธิการจังหวัดมาเป็นกลไกหลักร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งการทำงานของคนทำงานทั้ง 3 ชั้นจะก่อให้เกิดระบบ “นิเวศการเรียนรู้” ที่มีเด็กเยาวชนทั้งในและนอกระบบเข้ามามีส่วนร่วมทำงานร่วมกับผู้ใหญ่จากทุกภาคส่วน โดยบริษัทจะทำหน้าที่เชื่อมประสาน นอกจากนี้ยังมีการทำระบบข้อมูล 2 ส่วน คือ

1.การทบทวนข้อมูลเดิม กับ 2.ทำข้อมูลใหม่ ผ่านข้อมูลแอปพลิเคชั่น เพื่อให้คนในพื้นที่เกิดการตระหนักรู้แทนการทำข้อมูลเพื่อจัดเก็บ โดยในปีแรกอยากให้เกิดโมเดลการทำงานของทั้งเด็กในระบบและนอกระบบใน 3 อำเภอ 6 ตำบล เพื่อสร้างนวัตกรรมในการดูแลปกป้อง คุ้มครอง เยียวยา รักษา ส่งเสริมและสนับสนุน ส่วนแผนระยะยาวคือ อยากให้เกิดกองทุนเพื่อการศึกษาของจังหวัดเอง

น.ส.สุภัคกมล ชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอนขออาสาเป็น “ข้อกลาง”ในการประสานทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินงาน โดยเน้นทำงานกับกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสที่พ่อแม่มีฐานะยากจนและเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบส่วนเด็กที่ต้องการอยู่นอกระบบก็จะจัดการศึกษาตามความสนใจและศักยภาพของเด็กและครอบครัว เช่น หลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิต เพื่อให้พ้นจากเส้นความยากจนได้

ที่ผ่านมา “การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่” ซึ่งหมายถึง “การกระจายอำนาจ” เป็นสิ่งที่ กสศ. ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง โดย รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม อนุกรรมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กสศ. กล่าวว่าการจัดการศึกษาจะประสบผลสำเร็จได้ต้องลดขนาดการจัดการลง ไม่ใช้รูปแบบเดียวตายตัว แต่เปลี่ยนความคิดว่าการแก้ปัญหาการศึกษาต้องแก้ที่พื้นที่ เพราะพื้นที่จะเห็นบริบทปัญหา เห็นกลุ่มเป้าหมาย สามารถทำงานได้อย่างใกล้ชิดชัดเจนในฐานะที่เป็นคนของพื้นที่ และไม่เพียงแต่เป็นเจ้าของพื้นที่เท่านั้น แต่ยังเป็นเจ้าของปัญหาด้วย

ดังนั้นการดำเนินงานดังกล่าวหัวใจสำคัญคือ ความรู้สึกร่วมของคณะทำงานในพื้นที่ การใช้ข้อมูล การสร้างการรับรู้ การสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ที่จะเข้ามาร่วมขยายพื้นที่การทำงานในการสร้างโอกาสทางการศึกษา สุดท้ายสิ่งที่จะทำร่วมกันก็คือ แต่ละจังหวัดมีแผนบูรณาการระดับจังหวัดว่าจะรับมือและให้โอกาสช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ได้อย่างไร ซึ่งแผนนี้จะกลายเป็น “เข็มทิศ” นำทางการช่วยเหลือในระยะยาว

ทั้งนี้ นับจากปี 2562 ประเทศไทยมีคนยากจนที่พิจารณาจากเส้นความยากจนประมาณ 4.3 ล้านคน แต่ปี 2563เพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้านคน ซึ่งการเพิ่มขึ้นราว 5 แสนคน ภายใน 1 ปี นับว่าไม่น้อยอีกทั้ง “ภาพรวมทางเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนทั้งประเทศ มีลักษณะที่เปราะบางมากขึ้น เห็นได้จาก เงินออมในกลุ่มรายได้น้อยมีแนวโน้มลดต่ำลงหรือแทบไม่มีเลย” อีกทั้งประชากรวัยแรงงานที่มีสมาชิกในครอบครัวจะต้องดูแลมีจำนวนมากขึ้น ครัวเรือนที่มีขนาดใหญ่มีสัดส่วนความยากจนมากกว่าครอบครัวขนาดเล็ก

ขณะที่ครอบครัวแหว่งกลางที่เด็กอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย ยิ่งมีความยากจนมากขึ้นไปอีก โอกาสที่เด็กกลุ่มนี้จะได้รับการศึกษาก็น้อยลงตามไปด้วย นอกจากนี้ ฐานข้อมูลของ กสศ. ที่มีการคัดกรองเด็กยากจนพิเศษรอบใหม่เมื่อภาคเรียนที่ 1/2564 ที่ผ่านมา ยังพบว่า มีเด็กยากจนพิเศษยากจนเพิ่มขึ้นราว 1.3 ล้านคน และพบว่ายังมีเด็กกว่า 40,000 คนไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ซึ่งเราไม่รู้เลยว่าเด็กนอกระบบเหล่านี้เขาไปอยู่ไหน และไม่รู้ว่าเด็กเหล่านั้นได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือยัง หากเราสามารถติดตามเด็กกลุ่มนี้ก็จะทำให้เขาได้รับโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น

“ข้อมูลที่ผมนำเสนอข้างต้นฉายภาพปัญหาเด็กและเยาวชนในเชิงปริมาณ ขณะที่เชิงคุณภาพก็สาหัสพอกันเป็นเรื่องจริงที่น่ากังวลมากและเกิดขึ้นแล้วกับทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ กสศ.มุ่งหวังพัฒนาต้นแบบการดูแล การคิดค้นนวัตกรรมวิธีการในการแก้ไขปัญหา” รศ.ดร.ซุกรี กล่าว

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
  • 23 ส.ค. 2565 เวลา 21:31 น.
  • 1,274

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^