LASTEST NEWS

10 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 10 ต.ค. 2567ข่าวดี!!! สพป.สกลนคร เขต 1 เตรียมเรียกบรรจุครูผู้ช่วย 8 วิชาเอก 30 อัตรา 10 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ต.ค. 2567โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง 5 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 8 - 27 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนผาเมืองวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน ตั้งแต่วันที่ 10-25 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 7 กลุ่มวิชาเอก 23 อัตรา - รายงานตัว 16 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนสีชมพูศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,050 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 ตุลาคม 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 09 ต.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567ครูสายผู้สอน ที่จะไปสอบผอ.โรงเรียนในรอบถัดไป ความหวังเริ่มริบหรี่ ก.ค.ศ. ออกเกณฑ์สกัดดาวรุ่ง ต้องเป็นรองผอ.ชำนาญการพิเศษ 2 ปี หรือตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า 08 ต.ค. 2567ก.ค.ศ. ออกหนังสือแจ้ง ว 19/2567 มาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

“กนก” จี้ ศธ. ต้องคืนครู ให้นักเรียนในชนบททันที

  • 13 มิ.ย. 2565 เวลา 19:58 น.
  • 2,147
“กนก” จี้ ศธ. ต้องคืนครู ให้นักเรียนในชนบททันที

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“กนก” จี้ ศธ. ต้องคืนครู ให้นักเรียนในชนบททันที

ส.ส.ปชป. ชี้สิ่งแรกที่ ศธ. โดยเฉพาะสพฐ. ต้องทำในทันที ไม่มีการผัดวันประกันพรุ่งอีกต่อไปก็คือ การปรับระบบ และหลักเกณฑ์ การจัดสรรอัตราตำแหน่ง และเงินเดือนของครู ให้เพียงพอ

13 มิ.ย.2565-นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก “กนก วงษ์ตระหง่าน (Kanok Wongtrangan)” เรื่อง ศธ. ต้อง “คืนครู” ให้นักเรียนในชนบททันที ระบุว่า “วันนี้ ข้อเท็จจริง ที่เป็นความจริงของแผ่นดินและปวดร้าว คือ มีโรงเรียนที่เด็กต่ำกว่า 120 คน เป็นจำนวนนับหมื่นโรงเรียนจาก 30,000 กว่าโรงเรียน เด็กเหล่านี้บางแห่ง มีครู 2 คน 3 คน แถมไม่มี ผอ. ด้วย แต่มี 6 ชั้นเรียน หลับตานึกภาพเอาเองครับว่าแล้วคุณภาพ มันจะมีไหม ครู 2 คน ต้องสอน 6 ชั้นเรียน เป็นเวรกรรมของเด็กๆ เหล่านี้หรือครับ ที่ต้องมาเรียนหนังสือที่โรงเรียน ที่ไม่มีครูให้พวกเขา แล้วความเท่าเทียมทางการศึกษา ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติล่ะครับ อยู่ที่ไหนกัน

กระทรวงศึกษาธิการ ก็ไม่ตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไร จะยุบรวม หรือ จัดครูในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษามากองรวมกัน แล้วจัดตารางเรียนร่วมกันในแต่ละเขต แล้วแชร์ครูไปสอนให้ครบชั้นเรียน ครบสาระวิชา จะทำอย่างไร ก็ไม่ทำ ผมเคยทำให้ดูมาแล้วที่อ่างทอง ซึ่งก็ได้ผล ผมยินดีที่จะให้ข้อเสนอแนะครับ อย่าปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้ แก้ปัญหาด้วยตัวมันเอง สงสารเด็กครับ สงสารประเทศครับที่อนาคตจะมืดมนเพราะคุณภาพของคนจะด้อยลง ด้วยคุณภาพของการศึกษา”

นี่เป็นข้อความเพียงบางส่วนที่ “นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้สื่อสารผ่านจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเรียกร้องการ “คืนครูให้นักเรียน” โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท จนกลายมาเป็นประเด็นบนพื้นที่สื่อออนไลน์ เมื่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 พ.ค.)

ถ้าตามอ่านการสื่อสารของผม และฟังการอภิปราย ก็คงทราบดีว่า ผมสนใจในเรื่องนี้มาตลอด และเรียกร้องการแก้ไขปัญหาอันเหมาะสมมาอย่างต่อเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การออกมาชี้ประเด็นดังกล่าวนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นของท่านสมศักดิ์ และกระทุ้งไปยังกระทรวงศึกษาธิการให้ขยับเขยื้อนการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ให้มีประสิทธิภาพ ต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน จึงเป็นเรื่องที่ผมเห็นด้วยอย่างจริงใจ และขอสนับสนุนข้อเรียกร้องของท่านสมศักดิ์ในครั้งนี้อย่างเต็มกำลัง

ผมย้ำอยู่เสมอว่า นักเรียนในชนบทนั้น มีความเสียเปรียบนักเรียนในเมือง มากมายหลายด้านอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องรายได้ของครอบครัว การเดินทางไปโรงเรียน รวมไปถึงเรื่องอาหารกลางวัน เป็นต้น ยิ่งถ้านักเรียนในชนบทเหล่านั้น มีฐานะที่ยากจน ก็ยิ่งเสียเปรียบมากขึ้นเป็นทวีคูณ แล้วท่ามกลางความเสียเปรียบของนักเรียนในชนบทห่างไกลเช่นนี้ ถ้าระบบและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ยังมาเพิ่มความเสียเปรียบที่สำคัญยิ่งให้นักเรียนชนบทเข้าไปอีก ในเรื่อง “จำนวนของครู” ที่ไม่เพียงพอต่อการรักษาคุณภาพทางการศึกษาขั้นต่ำไว้ได้ ก็เสมือนเป็นการทำลายอนาคตของนักเรียนเหล่านั้นไปโดยปริยาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมยอมไม่ได้ และแน่นอนว่า ท่านสมศักดิ์ ก็เช่นกัน 

ดังนั้น สิ่งแรกที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องทำในทันที ไม่มีการผัดวันประกันพรุ่งอีกต่อไปก็คือ การปรับระบบ และหลักเกณฑ์ การจัดสรรอัตราตำแหน่ง และเงินเดือนของครู ให้เพียงพอต่อการประกันคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท

นอกจากนั้น ก็ต้องเสริมศักยภาพการเรียนการสอนให้กับโรงเรียนเหล่านั้น รวมไปถึงการดูแลเรื่องสุขอนามัยของนักเรียนทุกคนอย่างเหมาะสม และเท่าเทียมในทุกพื้นที่ ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องที่รอไม่ได้อีกเช่นกัน และผมก็พยายามสื่อสารไปยังกระทรวงศึกษาธิการ และสพฐ. อยู่เสมอ แต่ก็ดูเหมือนว่า จะยังไม่มีความคืบหน้าของการดำเนินการนัก แต่อย่างไรก็ตามผมจะยังคงเฝ้าติดตามต่อไป และจะคอยเสนอแนะอย่างต่อเนื่องเหมือนที่เคยทำมา เพราะเรื่องคุณภาพทางการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการพัฒนาในทุกๆ มิติของประเทศไทยอย่างแท้จริง

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 13 มิถุนายน 2565 เวลา 8:47 น.
  • 13 มิ.ย. 2565 เวลา 19:58 น.
  • 2,147

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^