LASTEST NEWS

10 ต.ค. 2567โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง 5 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 8 - 27 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 09 ต.ค. 2567โรงเรียนผาเมืองวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน ตั้งแต่วันที่ 10-25 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 09 ต.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 7 กลุ่มวิชาเอก 23 อัตรา - รายงานตัว 16 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนสีชมพูศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,050 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 ตุลาคม 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 09 ต.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567ครูสายผู้สอน ที่จะไปสอบผอ.โรงเรียนในรอบถัดไป ความหวังเริ่มริบหรี่ ก.ค.ศ. ออกเกณฑ์สกัดดาวรุ่ง ต้องเป็นรองผอ.ชำนาญการพิเศษ 2 ปี หรือตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า 08 ต.ค. 2567ก.ค.ศ. ออกหนังสือแจ้ง ว 19/2567 มาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 08 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด! ที่ ศธ 04277/ว 1057 เรื่อง กำชับแนวทางปฏิบัติในการพานักเรียนไปนอกสถานศึกษา

“ไล่ยุบ ร.ร.ลูกชาวบ้าน ศธภ./ศธจ.กลับไม่ต้องการยุบตัวเอง” มุมมองจาก “วีระ” รองปลัด ศธ.

  • 18 พ.ค. 2565 เวลา 19:49 น.
  • 2,135
“ไล่ยุบ ร.ร.ลูกชาวบ้าน ศธภ./ศธจ.กลับไม่ต้องการยุบตัวเอง” มุมมองจาก “วีระ” รองปลัด ศธ.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“ไล่ยุบ ร.ร.ลูกชาวบ้าน ศธภ./ศธจ.กลับไม่ต้องการยุบตัวเอง” มุมมองจาก “วีระ” รองปลัด ศธ.

ไล่ยุบโรงเรียนลูกชาวบ้าน
ศธภ./ศธจ.กลับไม่ต้องการยุบตัวเอง
มุมมองจาก "วีระ" รองปลัดฯ-โฆษก ศธ. 

วิชเทพ ฦาชาฤทธิ์ : บรรณาธิการ

 
จากเหตุการณ์ คณะปกป้องศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ประมาน 100 คน เดินทางไปยื่นหนังสือถึงน.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้มี สำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อไป  จากนั้นได้ไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล และเดินทางไปยื่นหนังสือถึง นายตวง อันธะไชย ประธานกรรมาธิการฯที่รัฐสภา เมื่อ วันที่  2 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

ครานี้มี นายณัทชัย ใจเย็น ศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี ในฐานะตัวแทนคณะปกป้อง ศธภ.และ ศธจ. อ้างว่า...

ศธภ.ถือเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาจากหน่วยกลางลงสู่ภาคและจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำกับติดตามงานอย่างใกล้ชิด ทำให้หน่วยงานในระดับพื้นที่สนองนโยบายต่าง ๆ ได้เร็ว ขณะที่ ศธจ.เป็นหน่วยงานที่ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาของ ศธ.แบบเดิมในส่วนภูมิภาค จากการจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ที่ไม่สามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งในเชิงการดำเนินงานและการบริหารจัดการ เนื่องจากในจังหวัดหนึ่งมีสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัดศธ.จำนวนมาก รวมถึงประเด็นสำคัญการบริหารงานบุคคลของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาในการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง และโยกย้าย โดยใช้กลไกของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด

ทั้งนี้ นายวีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะโฆษก ศธ. กล่าวว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่ม ศธจ. ศธภ.แล้ว ซึ่งเท่าที่หารือร่วมกันพบว่ากลุ่มดังกล่าวต้องการมาผลักดันเรื่อง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.. ให้ประสบผลสำเร็จตามเจตนารมย์ของการปฎิรูปการศึกษา โดยในส่วนของการปรับโครงสร้างศธ.นั้นอยากให้อยู่ในการจัดทำกฎหมายลูกตามลำดับต่อไปมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วก็ได้มีการเผยแพร่จดหมายในลักษณะบทความที่แสดงความคิดเห็น ของ ดร.วีระ แข็งกสิการ ออกเผยแพร่โดยตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๕ พฤษภาคม ๖๕ ผ่านกลุ่มไลน์ ที่มีผู้นำทางวิชาการ ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา นักการศึกษา จำนวนมากเป็นสมาชิก ให้ความสนใจและตามด้วยเสียงกังวลใจเป็นห่วงในเนื้อหาตามมาที่เริ่มด้วย...



“ เหตุไฉนไฟที่ใกล้มอดแล้ว กรรมาธิการจึงเอาน้ำมันไปราดอีก

โบราณว่าการยุยงให้คณะสงฆ์แตกกัน หรือทำให้ทะเลาะกัน

มันเป็นอนันตริยกรรม เป็นกรรมหนักทำเพื่ออะไร                                                  

หรือหวังผลทางการเมืองจึงทำให้ครูเราทะเลาะกัน”


ผมกำลังกล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ….. ได้พิจารณาลงมติเสียงข้างมากเห็นชอบร่างมาตรา 3 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งมีคำสั่งคสช.ที่ 19/2560 เรื่อง ปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ. โดยการนี้มีผลให้ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการภาค ถูกยกเลิกนั้น...

ในมุมมองของผม ผมมองว่า คณะกรรมการวิสามัญกำลังขับเคลื่อนกฎหมายหลักคือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ...ซึ่งมีหลายฝ่ายที่มีความกังวลว่าจะสามารถมีผลทันสมัยประชุมหรือไม่ กังวลว่าจะดำเนินการให้เสร็จทันในรัฐบาลชุดนี้ ได้ไหม เพราะยังเหลือการประชุมร่วมกันของรัฐสภาสมัยวิสามัญอีกครั้งในเดือนกันยายน หากเกิดความขัดแย้งมีการต่อต้านอาจทำให้กฎหมายสำคัญนี้ต้องตกไปด้วยการที่คณะกรรมาธิการวิสามัญได้หยิบประเด็นในเรื่องคำสั่งคสช. 5 ฉบับขึ้นมามีมติ นั้น อาจเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งของคนในกระทรวงศึกษาธิการ

ซึ่งคำสั่งนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของการบริหารการศึกษาในระดับภูมิภาค เกิดความขัดแย้งในระดับพื้นที่ ส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมา แต่ในปัจจุบันระยะเวลาได้เยียวยาความขัดแย้งดังกล่าว ทำให้ปัญหาได้คลี่คลายไป ทุกหน่วยงานทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง ตัวอย่างเช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารการศึกษาในบริบทของตนเอง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบูรณาการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันชัดเจน ทำให้งานการศึกษาในระดับจังหวัด ในระดับภาคขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว

แต่เมื่อมีการนำเรื่องในอดีตมาพิจารณาว่าหน่วยงานไหนควรมี ควรยุบอีก การพิจารณาของกรรมาธิการดังกล่าวจึงเป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เปรียบเสมือนไฟที่กำลังจะมอดสนิท ถูกคนเอาน้ำมันมาราด ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนาๆ  ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ ลามไปจนถึงสถานศึกษา ครูผู้สอน องค์กรครูที่มีอยู่จริงบ้างไม่มีอยู่จริงบ้าง ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเผ็ดร้อน วิพากษ์วิจารณ์อย่างสนุกปาก กลุ่มศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด และบุคลากรตกอกตกใจ เดินทางมากระทรวงศึกษาธิการไม่มีอันทำงานทำการ กลายเป็นความขัดแย้งกันในองค์กรอีกครั้ง ที่ดูเหมือนจะรุนแรงกว่าเมื่อปี

...ผมจึงขอถามคณะกรรมาธิการที่กำลังขับเคลื่อนพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. ว่าแทนที่จะพยายามสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนกระทรวงศึกษาธิการเพื่อขับเคลื่อน พรบ การศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. …สู่ความสำเร็จ เพราะกฎหมายฉบับนี้ มุ่งเน้นที่เรื่อง การปฎิรูปการศึกษา และการพัฒนาผู้เรียน เพราะประเด็นสำคัญที่สุดคือการจัดการศึกษาในการตอบโจทย์โลกในศตวรรษที่ 21   แต่กลับมาสร้างให้สังคมครูทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน จนเกิดความวุ่นวายอยู่ในปัจจุบันนี้ มันจะทำให้การขับเคลื่อนพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้สะดุดหรือไม่ 

บทบาทหน้าที่ของการให้มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง มันควรเป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการคณะนี้หรือไม่ เพราะมันมีกฎหมายอีกฉบับที่เราเรียกว่า พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้กำหนดว่าการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการว่าควรมีหน่วยงานใดบ้าง ดูแลโดยตรงอยู่แล้ว มีเหตุผลใดหรือ ที่คณะกรรมาธิการคณะนี้จะนำเรื่องที่สร้างความขัดแย้งนี้มาพิจารณาเสียก่อน

และการทำให้คนในกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนภูมิภาคต้องกลับมาขัดแย้ง เกิดความสับสนวุ่นวาย ถกเถียงในประเด็นที่ไม่ควรพูดไม่ควรถกเถียงมันสมควรแล้วหรือ ปรากฎการณ์ในสังคมไทยที่มักวิพากษ์วิจารณ์โดยไม่ฟังเหตุผลมันมีมากมายอยู่แล้ว มันทำให้เกิดรอยร้าวในสังคมอย่างยิ่ง อาทิเช่น ครูบอกว่า ยุบเสียให้หมด ถ้าไม่มีงานทำจะได้มาเป็นธุรการโรงเรียนให้หมด สมาคม สมาพันธ์ ชมรม ต่างๆก็ออกมาพูดมาวิพากษ์วิจารณ์ อย่างรุนแรง มากมาย การพูดก็ดูจะเป็นการพูดเชิงด้อยค่า ดูหมิ่น งานของคนอื่น พูดในลักษณะเอามันแต่ฝ่ายเดียว แม้แต่กรรมาธิการก็เถอะ บางคนก็เป็นถึง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติ ทรงความรู้ ขออนุญาตไม่เอ่ยนามก็แล้วกัน ออกมาโพสต์เฟสบุ๊คว่า

❝...ในขณะที่กำลังไล่ยุบโรงเรียนของลูกชาวบ้าน ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด กลับไม่ต้องการยุบตัวเอง ❞

ประเด็นนี้ จะหาว่าไม่รู้ความจริงคงจะไม่ได้ เพราะเป็นถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นถึงกรรมาธิการ  รู้ทั้งรู้ว่าการยุบโรงเรียนไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการภาค แต่เอามาพูดโดยมีวัตถุประสงค์อะไรกันแน่  ถ้าไม่ใช่เพื่อสร้างความแตกแยกในองค์กร ถ้าไม่ใช่การหวังผลทางการเมือง

ซึ่งจะเห็นได้ว่าการกระทำในลักษณะขาดวุฒิภาวะ ขาดความเป็นผู้ใหญ่ ขาดความคิดพิจารณาให้รอบคอบ การวิพากษ์วิจารณ์โดยเอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง เป็นการสร้างความขัดแย้งในวงการครูและความขัดแย้งนี้ก็จะขยายวงออกไป จนไม่สามารถมองหน้ากันติด จนทำให้มีปัญหาในการทำงาน มีปัญหาในการประสานงาน แล้วใครจะรับผิดชอบปัญหาที่จะตามมา กรรมาธิการวิสามัญกระนั้นหรือ

ในทางพระพุทธศาสนา ผู้ใดทำให้พระสงฆ์แตกแยก ยุยงให้คณะสงฆ์แตกความสามัคคี เขาถือว่าเป็นอนันตริยกรรม เป็นกรรมหนัก นอกจากนี้มีคำถามตามมาอีกว่าการมีมตินี้ของกรรมาธิการสามารถทำได้หรือไม่ ยิ่งถ้าไม่ใช่หน้าที่แล้วมาทำให้วงการครูทะเลาะ กัน ขัดแย้งกัน ขาดความสามัคคีกัน ย่อมถือว่าเป็นกรรมหนักจริงๆ

เพื่อนครู ผู้บริหารและบุคลากรพวกเราชาวกระทรวงศึกษาธิการที่เคารพ ผมเสนอว่าเรื่องโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ จะยุบใคร ไม่ยุบใคร ใครจะมีหรือไม่ หน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการในส่วนกลางจะมีหน่วยงานไหนบ้าง หน่วยงานส่วนภูมิภาค จะมีหน่วยงานใดบ้าง เราอย่าเพิ่งมายกพวกตีกัน เราอย่าเพิ่งมาทะเลาะกัน เราอย่าเพิ่งตีค่า ด่าทอกันและกันเลย เพราะเรายังเห็นข้อมูลไม่รอบด้าน เดี๋ยววันข้างหน้าเราจะมองหน้ากันไม่ติด เพราะอย่างไรเสียเราก็เป็นคนในกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยกัน มีตราเสมาธรรมจักร ด้วยกัน เราค่อยๆคิดค่อยๆพิจารณาไปดีกว่า


ตัวผมเคยผ่านเหตุการณ์แบบนี้มาหลายครั้ง ปี 2545-2547 ผมกำลังมีชีวิตราชการที่รุ่งโรจน์ ผมเป็นถึงหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ มีอำนาจล้นฟ้าในการดูแลครูทั้งอำเภอ

รุ่งขึ้น มีกฎหมายการศึกษาออกมา ตำแหน่งหัวหน้าการประถมศึกษาหายไป อำนาจผมหายไปในพริบตา ผมตกมาเป็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปี 2553-2559 ผมเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผมมีอำนาจโยกย้ายครูได้ 100% รุ่งขึ้น มีศึกษาธิการจังหวัด อำนาจหน้าที่ผมเรื่องบริหารบุคคลหายไปในทันที

ผมเห็นการเกิดดับ เกิดดับ บ่อยครั้ง ผมจึงเข้าใจ ความรู้สึกของทุกคน ผมเข้าใจดีว่าบางคนสะใจ สมใจในความวิบัติของเพื่อน เราอาจต้องคิดในมิติใจเขาใจเราบ้างก็จะมองด้วยใจเป็นธรรมมากขึ้น

ผมจึงขอวิงวอนทุกฝ่าย ให้คณะกรรมาธิการพิจารณาขับเคลื่อนพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .. ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ให้ทันในสมัยประชุมวิสามัญนี้ ส่วนเรื่องการพิจารณาเรื่องโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ นั้น อยากให้ผู้ที่มีหน้าที่ทำกฎหมายลูก หรือคณะกรรมาธิการเฉพาะเรื่องนี้เป็นผู้ทำกล่าวคือ คนทำ พรบ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา ควรเป็นผู้พิจารณา

เมื่อถึงวาระนั้น ผมเชื่อว่าคงมีการประชาพิจารณ์กันกว้างขวางหลากหลาย ข้อมูลครบถ้วนรอบด้าน จะดีกว่าไหม แม้เราทะเลาะกันวันนี้ ก็ไม่ได้มีผลอะไร รอไปถกแถลงในการพิจารณาเรื่องโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการจะดีกว่า

อย่าตกหลุมพราง ที่นายพรานใจร้าย ที่หวังผลทางการเมือง ขุดไว้ล่อพวกเรา ความรักความสามัคคี ในวงการครูเรา เราควรรักษาไว้ อย่าให้ใครมายุแหย่ให้คนในส่วนภูมิภาคเราทะเลาะกัน  วันนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กับ ศึกษาธิการจังหวัด เขาสามารถทำงานร่วมกับตามบทบาทหน้าที่ของเขา อย่าให้เขาต้องมองหน้ากันไม่ติด อย่าให้เขาต้องยกพวกตีกัน

เชื่อผมนะครับ สังคมทุกวันนี้มีแต่ความรุนแรง มีแต่คำว่ากระแส เอาแต่ใจร้อนใจเร็ว ไม่พิจารณาให้รอบด้าน ความใคร่ครวญไตร่ตรอง มีน้อยลงไปทุกที เราเป็นครู อยากให้ใจเย็น  ๆ ความใจเย็น ความนิ่งก็ให้เกิดความสงบ ความสงบ ก่อเกิดสติ ความมีสติก่อเกิดปัญญา หากมีปัญญา เราก็หาทางเดิน หาทางออก หาทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดได้  พระพุทธองค์กล่าวว่า มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดในการประพฤติปฎิบัติตน เรามาหาเส้นทางแห่งมัชฌิมาปฎิปทากันดีกว่าไหม?

ดร วีระ แข็งกสิการ

รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ

๕ พฤษภาคม ๖๕


ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: สำนักข่าว EDUNEWSSIAM ONLINE วันที่ 18 พฤษภาคม 2565
  • 18 พ.ค. 2565 เวลา 19:49 น.
  • 2,135

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^