LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครู...

  • 28 เม.ย. 2565 เวลา 11:12 น.
  • 4,903
รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครู...

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ชื่อเรื่อง รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์
ผู้วิจัย วีรพล ธิกะ
ปีที่ทำวิจัย  2563
บทคัดย่อ
              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ 2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ 4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์
 
              วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประชากรที่ใช้ คือ ผู้บริหาร และครูของโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ และค่าร้อยละ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ ศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือ ครูผู้สอนของโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ จำนวน 129 คน ในปีการศึกษา 2564  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกคะแนน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย 4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด คือ ผู้บริหารงาน 4 คนจาก 4 ฝ่ายงานครูผู้สอน โรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ จำนวน 129 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ในปีการศึกษา 2564 รวม 147 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
 
              ผลการวิจัยพบว่า
              1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 81 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 15 ตัวบ่งชี้ 2) การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ 12 ตัวบ่งชี้ 3) เทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ 13 ตัวบ่งชี้ 4) ชุมชนกัลยาณมิตร 10 ตัวบ่งชี้ 5) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีดิจิทัล 13 ตัวบ่งชี้ 6) การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 7 ตัวบ่งชี้ 7) การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ 6 
ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 8 โครงสร้างสนับสนุนชุมชน 5 ตัวบ่งชี้
              2. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วยหลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ประกอบด้วย 2.1 กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีดิจิทัล 2) การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ 3) เทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ 4) กิจกรรมการเรียนรู้เชิงลึก 5) การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ 6) ชุมชนกัลยาณมิตร 7) การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 8) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน 2.2 การพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครู ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ส่วนที่ 3 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า รูปแบบ มีความเหมาะสม 
              3. ผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ พบว่า 1) นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นทุกระดับชั้น 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของผลการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ (NT) เพิ่มขึ้น 3) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น 4) โรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ได้รับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) รางวัลรองชนะเลิศระดับเหรียญทอง สถานศึกษายอดเยี่ยม ประเภทประถมศึกษาขนาดใหญ่ ด้านวิชาการ ครูผู้สอนได้รับรางวัลจากนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คลิปการสอนเสมือนจริง นวัตกรรมแบบ Active Learning Innovation ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps 
              4.  รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ ในภาพรวมทั้ง 3 ส่วน มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

 
Title   An Online Professional Learning Community Model for the Enhancing Management Competency on Active Learning of teachers in Anuban Phetchabun School 
Author Veeraphon Tika
Academic Year 2019
 
Abstract
 
              This purposes of this research were to: 1) analysis components of an online professional learning community for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School, 2) create an online professional learning community model for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School, 3) study the results of using an online professional learning community model for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School, and 4) evaluate an online professional learning community model for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School.
              The research methodology consisted of 4 steps: 1) analysis components of an online professional learning community for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School by analyzing related documents and researches, interviewing 5 experts a structured interview. The population of 142 administrators and teachers. The tools by using the 5-level estimation scale questionnaire. The statistics consisted frequency, percentage, mean, standard deviation, and Exploratory Factor Analysis: EFA, 2) create an online professional learning community model for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School were examined by holding the connoisseurship from 9 experts. The statistics used were frequency and percentage, 3) the results of using of an online professional learning community model for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School. The population used for 129 teachers in academic year 2019. The statistics employed were percentage and mean, 4) the evaluation of an online professional learning community model for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School. The population used for 4 administrators, 129 teachers and 14 committee, totally 147 people. The tools by using the evaluation form with 5-level estimation scale. The statistics used were mean, and standard deviation. 
 
              The findings were as follows:
              1. Analysis components of an online professional learning community for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School were 8 components and 81 variables were as follows: 1) learning Activities 15 indicators, 2) learning and professional development 12 indicators, 3) Online Information Technology 13 indicators, 4) Caring Community 10 indicators, 5) Digital Technology Leadership 13 indicators, 6) Developing a network of cooperation 7 indicators, 7) Creating Values and Vision 6 indicators, and 8) Supportive Structure 5 indicators. 
              2. An online professional learning community model for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School comprised 3 parts were as follows: Part 1, principles and objectives of the model. Part 2, the content of the model consists of 2.1 process of an online professional learning community; an online professional learning community, Creating Values and Vision, Online Information Technology, learning Activities, learning and professional development, Caring Community, Developing a network of cooperation, Supportive Structure. 2.2 Development of enhancing management competency on active learning of teachers; Knowledge, Skill, attitude. Part 3 Factors for Success. A model were appropriate. 
              3. The results of using an online professional learning community model for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School shown that; 1) learning achievements of primary 1-6 students in mathematics subject were increased all levels. 2) Grade 3 students had an average score increase in mathematics subject of national basic test results (NT). 3) Grade 6 students had the average score increased for mathematics subject of national basic test results (O-NET). 5) Anuban Phetchabun School received the OBEC AWARDS award, the gold medal runner-up award. excellent academy Large primary school category academic teachers were awarded prizes for innovation in teaching and learning in the epidemic situation. of Coronavirus Disease 2019 (Covid-19) Semester 1, Academic Year 2021 Virtual teaching clip, Active Learning Innovation with advanced thinking process based on GPAS 5 Steps.
              4. An online professional learning community model for the enhancing management competency on active learning of teachers in Anuban Phetchabun School in the overall of 3 parts were at the high level, when it was considered each aspect found that: the accuracy, the propriety, and the feasibility were at a high level, but the utility was at a highest level.


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :: เอกสารแนบ

 
  • 28 เม.ย. 2565 เวลา 11:12 น.
  • 4,903

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อสร้างสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกของครู...

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^