LASTEST NEWS

08 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 08 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 ต.ค. 2567ครูสายผู้สอน ที่จะไปสอบผอ.โรงเรียนในรอบถัดไป ความหวังเริ่มริบหรี่ ก.ค.ศ. ออกเกณฑ์สกัดดาวรุ่ง ต้องเป็นรองผอ.ชำนาญการพิเศษ 2 ปี หรือตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า 08 ต.ค. 2567ก.ค.ศ. ออกหนังสือแจ้ง ว 19/2567 มาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 08 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด! ที่ ศธ 04277/ว 1057 เรื่อง กำชับแนวทางปฏิบัติในการพานักเรียนไปนอกสถานศึกษา 08 ต.ค. 2567(8 ต.ค.2567) เปิดรายชื่อ 74 เขตพื้นที่ฯ ยังไม่ประกาศผลการพิจารณาย้ายครู ประจำปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 ต้องประกาศภายใน 23.59 น. ของวันที่ 15 ต.ค.67 08 ต.ค. 2567สพม.นครสวรรค์ เผยแพร่ข้อมูลการเรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชี ปี 2566 และ บัญชี ปี 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง นักวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดประชานาถ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 11 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 14 - 18 ตุลาคม 2567

“ตรีนุช” ให้สิทธิพื้นที่เปิด-ปิดโรงเรียน ล่าสุดเปิด On-site เกินครึ่งแล้ว

  • 10 ม.ค. 2565 เวลา 21:18 น.
  • 2,046
“ตรีนุช” ให้สิทธิพื้นที่เปิด-ปิดโรงเรียน ล่าสุดเปิด On-site เกินครึ่งแล้ว

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“ตรีนุช” ให้สิทธิพื้นที่เปิด-ปิดโรงเรียน ล่าสุดเปิด On-site เกินครึ่งแล้ว

วันที่ 10 มกราคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จัดเสวนา “โอมิครอน ร้ายจริงหรือ? ถึงต้องปิดโรงเรียน” โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย , รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย , นพ.ทรงเกียรติ อุดมพรวัฒนะ Admin Facebook จากเพจดัง “Infectious ง่ายนิดเดียว” , ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเสวนา

โดยนางสาวตรีนุช กล่าวชี้แจงผ่านระบบ Zoom Meeting ถึงนโยบายความปลอดภัย ในสถานศึกษา การปรับการจัดการเรียนรู้ทุกรูปแบบ (5 on) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทุกที่ ทุกสถานการณ์ และการเตรียมความพร้อมที่จะเปิด On Site ของทุกโรงเรียน อย่างปลอดภัย โดยความร่วมมือของ ศธ.กับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 หรือ โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นความท้าทายของคนทั้งโลกตลอด 2 ปีที่ผ่านมา และขณะนี้มีการแพร่ระบาดของ “โอมิครอน (Omicron) 

ซึ่งศธ. ได้เปิดโอกาสให้แต่ละสถานศึกษาสามารถเลือกรูปแบบการจัดการเรียนการที่เหมาะสมกับบริบทของการแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่ สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในแบบ On-Site ทุกแห่ง ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และ 7 มาตรการเข้มงวด

รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการศึกษาของเด็กและเยาวชน จึงเร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครูเป็นลำดับต้นๆ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 และฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้เด็กอายุ 12-18 ปี ซึ่งข้อมูลการวัคซีนโควิด-19 และการเปิดเรียนแบบ On-Site ของ ศธ. ณ วันที่ 9 มกราคม 2565 มีดังนี้ ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ประสงค์รับวัคซีน 982,427 คน ได้รับวัคซีนเข็ม 1 แล้ว 99.99% เข็ม 2 แล้ว 78.11% ส่วนนักเรียนผู้ประสงค์รับวัคซีน 4,320,130 คน ได้รับวัคซีนเข็ม 1 แล้ว 94.76% เข็ม 2 แล้ว 69.52% และขณะนี้รัฐบาลก็ได้ส่งเสริมให้มีการฉีดวัคซีนโควิด -19 เข็ม 3 กันแล้ว

“ที่ผ่านมาการปิดประเทศ lock down นำมาสู่การปิดโรงเรียน ทำให้เด็กสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้ ศธ.จึงต้องจัดรูปแบบการศึกษาที่หลากหลาย แต่ที่สุดแล้ว ศธ.ก็พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก คือ การมาโรงเรียน ดังนั้น การปิดโรงเรียนจึงไม่ใช่มาตรการหลักของเรา ขณะนี้มีสถานศึกษาในสังกัด ศธ.เปิด On-Site 18,672 แห่ง จากทั้งหมด 35,172 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 53.09 และจากการที่ดิฉันได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่งทั่วทุกภูมิภาค สิ่งหนึ่งที่พบคือ สถานศึกษาได้มีการปรับตัวและกวดขันในเรื่องมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเป็นอย่างดี แต่ก็แน่นอนว่ายังมีอีกหลายแห่งที่ยังไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ ซึ่งดิฉันก็ได้ติดตาม และได้สั่งการให้ผู้บริหารในพื้นที่ดูแลสถานศึกษาอย่างใกล้ชิดมาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีการแพร่ระบาดของโอมิครอน จึงเป็นอีกวาระสำคัญที่ ศธ. และ สธ.ได้ร่วมมือกัน สร้างการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวโน้มความรุนแรงของการแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโอมิครอนในสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกสถานการณ์ และพร้อมจะเปิด On-Stie ของทุกโรงเรียนอย่างปลอดภัย“ นางสาวตรีนุช กล่าว

ด้าน นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขณะนี้อัตราการติดเชื้อในเด็กเพิ่มขึ้นจากเดิมทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยเอง แต่อัตราความรุนแรงการเสียชีวิตยังเท่าเดิม ซึ่งในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตเพียง 13-14 คน คนที่เสียชีวิตเป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัค ส่วนเด็กยังไม่พบว่ามีการเสียชีวิตจากโอมิครอน

นพ.สราวุฒิ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลที่มีพบเด็กที่อายุ 5-11 ปี เด็กจะติดเชื้อได้เร็วคล้ายผู้ใหญ่ ส่วนความรุนแรงจะพบในเด็กกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กโรคอ้วน เด็กที่มีโรคประจำตัว ดังนั้น ในเด็กที่อายุ 5-11 ปี ทางกระทรวงสาธารณสุขกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กที่ผู้ปกครองยินยอมได้รับวัคซีนไฟเซอร์ คาดว่าวัคซีนเข้ามาภายในปลายเดือน ม.ค.-ต้นเดือน ก.พ.นี้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาฯ ได้ตรียมความพร้อมในการสำรวจผู้ปกครองที่ยินยอมให้เด็กได้ฉีดวัคซีนไว้แล้ว และเชื่อว่าตัวเลขเด็กที่ยินยอมฉีดวัคซีนจะมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน และลดความรุนแรงลงหากติดเชื้อ และหากเปิดเรียนออนไซต์ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการที่วางไว้เพื่อความปลอดภัย

“จากการหารือระหว่างทีมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข กับทีมบริหารของ ศธ. และภาคี เห็นควรให้เปิดเรียนแบบออนไซต์ เพราะสถานศึกษา และโรงเรียนเป็นสถานที่สุดท้ายที่ควรจะปิดถ้าเกิดการระบาดของโรค หากสถานที่อื่นๆยังเปิดได้อยู่ เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่ที่สามารถทำตามสมาตรการได้ดีกว่าสถานที่เสี่ยงอื่นๆ และแน่นอนการเปิดเรียนแบบอนนไซต์ ผู้ปกครองต้องมีความกังวลอย่างแน่นอน แต่ผมคิดว่าเราต้องรู้เท่าทัน ซึ่งตอนนี้เรามีโอมิครอน เดี๋ยวต่อไปก็จะมีโรคอื่นอีก ที่สำคัญเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันและสามารถป้องกันตนเองได้อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญบอกทุกคนอาจจะต้องติดเชื้อ แต่ถ้าเราฉีดวัคซีนแล้วก็เท่ากับเรามีเสื้อเกาะป้องกัน และต้องใส่แมท ล้างมือ เว้นระยะห่าง ความรุนแรงก็จะลดลงได้ เราก็จะอยู่กับมันได้ง่ายขึ้น”

ส่วน รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อฯ กล่าวว่า คนที่ฉีดวัคซีนแล้วโอกาสที่จะติดก็ไม่แตกต่างกับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนมากนัก แต่คนที่ฉีดแล้วจะป้องกันโรคที่มีความรุนแรงได้ เพราะฉะนั้น การเปิดเรียนออนไซต์ ต้องชั่งน้ำหนักว่าผลดีกับผลเสียมีอะไรบ้าง เมื่อช่างน้ำหนักแล้ว จะเห็นว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้วเหมือนมีเสื้อเกาะถึงติดเชื้ออาการก็จะไม่รุนแรง ส่วนคนที่ยังไม่ตัดสินใจฉีดก็จะมีความเสี่ยง ส่วนเด็กอายุ 5-11 ปีที่กำลังจะได้รับการฉีดวัคซีนก็จะเป็นแนวทางที่ดีที่จะป้องกันตนเอง ได้ ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี นั้นยังลำบาก ทางการแพทย์จะต้องทำการวิจัยต่อไป

“ขณะนี้พบว่าเด็กติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมากขึ้น เพราะเด็กยังไม่ได้รับวัคซีน ถือว่ายังไม่มีเสื้อเกาะ และโดยธรรมชาติเด็กจะติดเชื้อได้ง่าย เช่น เด็กติดไข้หวัดได้ง่าย แต่หากติดแล้วจะทำให้เด็กมีภูมิไปตลอดชีวิต ผิดกับผู้สูงอายุหากติดไข้หวัดอาจจะรุนแรงถึงตายได้ ก็หวังว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนจะกลายเป็นไข้หวัดต่าง ๆที่เราเคยมี ซึ่งจากข้อมูลโอมิครอนแพร่ระบาดเร็วมาก ขณะนี้ติดเชื้อหลายสิบล้านคนแล้วทั่วโลกแต่จำนวนผู้เสียชีวิตไม่เพิ่มขึ้น

ส่วนนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดศธ. กล่าวว่า มอบหมายให้ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ร่วมกันสำรวจข้อมูลเด็กอายุ 5-11 ปี และทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองให้ความยินยอมฉีดวัคซีนแก่เด็ก โดยภาพรวมทั้งประเทศมีเด็กอายุ 5-11 ปี จำนวน 5.2 ล้านคน เบื้องต้นได้รับรายงานมา 33 จังหวัดแล้ว โดยผู้ปกครองให้ความยินยอมให้เด็กฉีดวัคซีนประมาณ 71% แต่เชื่อว่าจะมีผู้ปกครองให้ความยินยอมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ศธ.จะเร่งทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองเข้าใจและให้ความยินยอมมากขึ้น

“ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่าปลัดกระทรวง ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยท่านนายกฯ มีความเป็นห่วงเรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ จึงเน้นย้ำให้ ศธ.จัดการเรียนการสอนให้ดีที่สุดและมีคุณภาพด้วย นอกจากนี้นายกฯมีความเป็นห่วงโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆสำหรับการศึกษา ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล เร่งให้ความช่วยเหลือ” นายสุภัทร กล่าว

ขณะที่ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการกพฐ. กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงเรื่องการเรียนออนไลน์ นักเรียนอาจจะไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เพียงพอ จึงกำชับให้ ศธ.ไปเติมความพร้อมในการเรียนออนไลน์ให้กับเด็ก นอกจากนี้การเรียนออนไลน์ เด็กขาดการปฏิสัมพันธ์ ดังนั้นควรจะเรียนหน้าจอให้น้อยลงและให้ฝึกปฏิบัติมากขึ้น ส่วนการจัดการเรียนการสอน ออนไซต์ นั้น ขณะนี้พบว่ามีหลายจังหวัดที่เปิดให้สถานศึกษาจัดการสอนรูปแบบออนไซต์ทั้งจังหวัด และมีบางจังหวัดที่อนุญาตให้โรงเรียนสอนออนไซต์เป็นบางแห่ง หรือบางจังหวัดไม่อนุญาตให้โรงเรียนจัดการเรียนรูปแบบออนไซต์เลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การแพร่ระบาดไม่ได้แพร่ระจายไปทุกพื้นที่ เพราะมีบางจังหวัดมีการระบาดอยู่ที่อำเภอ หรือตำบล เท่านั้น แต่พื้นที่อื่นๆไม่มีการระบาดเลย จึงควรให้สถานศึกษาเปิดเรียนออนไซต์ในพื้นที่หม่มีการแพร่ระบาดได้

“การพิจารณาเปิดเรียนไม่ควรพิจารณาภาพรวมทั้งจังหวัด แต่ถ้าจังหวัดเอาตำบล และ ตำบลเป็นฐานในการพิจารณา ก็อาจจะพิจารณาเปิดเรียนออนไซต์ในบางพื้นที่ได้ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสได้เรียน ทั้งนี้ ผมได้มอบหมายให้ ศธจ. และผู้อำนวยการ สพท. หารือร่วมกันพิจารณาเป็นรายพื้นที่ ก่อนนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และสาธารณสุขจังหวัด (สธจ.) พิจารณาดำเนินการร่วมกันต่อไป” นายอัมพร กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565, 17.14 น.
  • 10 ม.ค. 2565 เวลา 21:18 น.
  • 2,046

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^