LASTEST NEWS

07 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง กวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567ศธ.หารือไมโครซอฟท์ จัดสวัสดิการเพื่อครู ซื้อคอมฯสเปกสูงราคาถูก 06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567

ล่าสุด ! สพฐ.ออกหนังสือ ให้โรงเรียนเตรียมการเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อจ่ายเงินเยียวยา ให้ผู้ปกครอง 2,000 บาท/คน

  • 17 ส.ค. 2564 เวลา 20:21 น.
  • 36,297
ล่าสุด ! สพฐ.ออกหนังสือ ให้โรงเรียนเตรียมการเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อจ่ายเงินเยียวยา ให้ผู้ปกครอง 2,000 บาท/คน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ล่าสุด ! สพฐ.ออกหนังสือ ให้โรงเรียนเตรียมการเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อจ่ายเงินเยียวยา ให้ผู้ปกครอง 2,000 บาท/คน ที่มีอยู่จริงตามข้อมูล DMC ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 
เรียบเรียงโดยครูวันดีดอทคอม
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


แนวทางการดำเนินงานโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 


ด้วย มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทา ภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยให้การสนับสนุนค่าใช้จ่าย ด้านการศึกษาเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครองของนักเรียนในอัตรา 2,000 บาท ต่อนักเรียน 1 คน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้  ดังนี้  
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการดังนี้ 
1. เตรียมการเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อรองรับเงินกู้ที่ขอเบิกจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง

2. ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลตัวตนนักเรียนจากระบบ DMC ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 และ สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ใช้ข้อมูลการยืนยันตัวตนนักเรียนจากระบบ SET ณ วันที่ 25  มิถุนายน 2564  

3. แจ้งจัดสรรวงเงินกู้ โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามจำนวนนักเรียนในอัตรา 2,000 บาท ต่อนักเรียน 1 คน ให้กับหน่วยเบิกจ่ายในสังกัด (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ที่เป็นหน่วยเบิก และโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษที่เป็นหน่วยเบิก) สำหรับการจัดสรร เงินกู้ โดยจะดำเนินการ ดังนี้ 
    3.1 จัดสรรวงเงินกู้สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้ข้อมูล การยืนยันตัวตนนักเรียนจากระบบ DMC ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 และสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ ใช้ข้อมูลการยืนยันตัวตนนักเรียนจากระบบ SET ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 ในการคำนวณ จัดสรรวงเงินกู้ 
    3.2 จัดสรรวงเงินกู้ (เพิ่มเติม) ข้อมูลนักเรียนหลังจากวันที่ 25 มิถุนายน 2564 
        - กรณีนักเรียนย้ายเข้ามาจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน  
        - กรณีนักเรียนย้ายเข้ามาจากสังกัดอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริม การศึกษาเอกชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อตรวจสอบข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ไม่ให้เกิด ความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ๆ  

4. โอนเงินกู้ไปตั้งจ่าย ณ หน่วยเบิกจ่ายในสังกัด เมื่อได้รับแจ้งการจัดสรรเงินกู้จากสำนัก งบประมาณ  

5. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ 
 
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการดังนี้  
1. เตรียมการเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อรองรับเงินกู้ที่ขอเบิกจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะแจ้งแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดบัญชีให้ทราบอีกครั้ง

2. ตรวจสอบการโอนเงินกู้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้โอนมาตั้งจ่าย  ณ หน่วยเบิกจ่าย ให้ถูกต้องตรงกับการแจ้งจัดสรรวงเงินกู้ กรณีไม่ถูกต้องตรงกันขอให้แจ้งสำนักการคลังและ สินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  

3. เบิกเงินกู้ในระบบ GFMIS โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย การเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไข เพิ่มเติม โดยด่วน 

4. โอนเงินกู้ดังกล่าวเข้าบัญชีธนาคารของสถานศึกษาทุกแห่ง ภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ ได้รับเงินจากคลัง 

5. การจ่ายเงิน การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง  พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 

6. รายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ 
    6.1 กรณีมีเงินเหลือจ่ายจากการจ่ายเงินกู้ของสถานศึกษา ที่ไม่สามารถจ่ายให้กับนักเรียน หรือผู้ปกครองได้ ให้สรุปรายงานข้อมูลนักเรียน ตามแบบรายงานที่กำหนด (แบบสรุป 2 สพท.) พร้อมแจ้ง โอนเงินกู้กลับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเงินคืน จากสถานศึกษา 
    6.2 กรณีขอสนับสนุนเงินเพิ่มเติม ให้สรุปรายงานข้อมูลนักเรียน ตามแบบรายงาน ที่กำหนด (แบบสรุป 3 สพท.) พร้อมแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสถานศึกษา 
โรงเรียนที่มิใช่เป็นหน่วยเบิก ดำเนินการดังนี้ 
1. เตรียมการเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อรองรับเงินกู้ที่ขอเบิกจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะแจ้งแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดบัญชีให้ทราบอีกครั้ง

2. แจ้งประชาสัมพันธ์ผู้ปกครองของนักเรียนให้รับทราบและเข้าใจถึงหลักการให้ความช่วยเหลือ ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งโรงเรียนจะดำเนินการจ่ายเงินกู้ โดยวิธีโอนเข้าบัญชีธนาคารหรือจ่ายเป็นเงินสด  ให้กับผู้ปกครองหรือนักเรียน  

3. ตรวจสอบข้อมูลจำนวนนักเรียนที่มีตัวตนอยู่จริงในสถานศึกษา ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 โดยไม่นับนักเรียนที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ อายุเกินเกณฑ์ และนักเรียนที่ไม่สามารถจำหน่ายออกจากระบบ DMC

4. ตรวจสอบการโอนเงินกู้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้โอนเข้าบัญชีของโรงเรียน (ตามข้อ 1 ข้างต้น) พร้อมออกใบเสร็จรับเงินตามแบบของทางราชการในนามของโรงเรียน ตามจำนวนเงิน ที่ได้รับ ส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน กรณีไม่ถูกต้อง ให้แจ้งสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ภายใน 1 วันทำการ 

5. การจ่ายเงินกู้ให้จ่ายให้กับผู้ปกครองหรือนักเรียน ตามจำนวนนักเรียนที่มีตัวตนอยู่จริง ในโรงเรียน ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 และต้องเรียนอยู่ในโรงเรียน ณ วันที่จ่ายเงินกู้ โดยไม่นับนักเรียนที่อายุ ไม่ถึงเกณฑ์ อายุเกินเกณฑ์ และนักเรียนที่ไม่สามารถจำหน่ายออกจากระบบ DMC โดยให้จ่ายภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับโอนเงินกู้ 
    5.1 กรณีโอนเข้าบัญชีธนาคาร ให้โอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่มี บัญชีเงินฝากธนาคาร ให้ใช้บัญชีเงินฝากธนาคารของนักเรียนแทนได้โดยให้เก็บหลักฐานที่สามารถระบุตัวตน ของผู้ปกครองและหลักฐานการโอนเข้าบัญชีธนาคาร เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ 
    5.2 กรณีจ่ายเงินสด ให้ดำเนินการตามแนวทางโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รายการ ค่าอุปกรณ์การเรียนและค่าเครื่องแบบนักเรียน) และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด 
พร้อมทั้ง จัดทำรายละเอียดข้อมูลการจ่ายเงินกู้ ตามแบบรายงานที่กำหนด (แบบ 1 โรงเรียน) ส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 

6. นักเรียนที่จะยังไม่ได้รับเงินกู้ตามข้อ 5 ข้างต้น คือ นักเรียนที่ย้ายเข้าหลังวันที่ 25  มิถุนายน 2564 ดังนี้ 
    - นักเรียนย้ายเข้ามาจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    - นักเรียนย้ายเข้ามาจากสังกัดอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษา เอกชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น  
ให้โรงเรียนจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลดังกล่าว รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ตามแบบรายงานที่กำหนด (แบบ 3 โรงเรียน) ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการ ตรวจสอบข้อมูลนักเรียนรายบุคคล เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ในภาพรวมทั้งประเทศ และ เป็นข้อมูลในการจ่ายเงินกู้ 

7. การจ่ายเงิน ตามข้อ 5 ข้างต้น ที่โอนเข้าบัญชีธนาคารและจ่ายเงินสดให้กับผู้ปกครอง หรือนักเรียน ให้จัดเก็บหลักฐานการจ่ายเงินกู้ไว้ที่โรงเรียน เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้

8. กรณีไม่มีผู้มารับหรือไม่สามารถจ่ายเงินกู้ได้ ในกรณีใด ๆ ให้โรงเรียนรายงานข้อมูลรายชื่อ นักเรียน พร้อมส่งเงินกู้กลับคืนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายใน 3 วันทำการ หลังจากการจ่ายเงินกู้ เพื่อรวบรวมส่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแบบรายงานที่กำหนด (แบบ 2 โรงเรียน) และนำส่งเงินกู้กลับคืนส่วนกลางต่อไป 

9. กรณีขอสนับสนุนเงินเพิ่มเติม ตามข้อ 6 ข้างต้น ให้โรงเรียนรายงานข้อมูลรายชื่อนักเรียน ส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายใน 3 วันทำการ หลังจากการจ่ายเงินกู้ เพื่อรวบรวมส่งสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแบบรายงานที่กำหนด (แบบ 3 โรงเรียน) ในการขอสนับสนุนเงินกู้ เพิ่มเติมจากส่วนกลางต่อไป 
โรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิก ศูนย์การศึกษาพิเศษที่เป็นหน่วยเบิก และโรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิกในสังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  
1. เตรียมการเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อรองรับเงินกู้ที่ขอเบิกจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะแจ้งแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดบัญชีให้ทราบอีกครั้ง 

2. แจ้งประชาสัมพันธ์ผู้ปกครองของนักเรียนให้รับทราบและเข้าใจถึงหลักการให้ความช่วยเหลือ ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งโรงเรียนจะดำเนินการจ่ายเงินกู้ โดยวิธีโอนเข้าบัญชีธนาคารหรือจ่ายเป็นเงินสด  ให้กับผู้ปกครองหรือนักเรียน  

3. ตรวจสอบข้อมูลจำนวนนักเรียนที่ยืนยันตัวตน ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 
 - โรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิก ตรวจสอบข้อมูลจำนวนนักเรียนที่ยืนยันตัวตนจากระบบ DMC โดยไม่นับนักเรียนที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ อายุเกินเกณฑ์ และนักเรียนที่ไม่สามารถจำหน่ายออกจากระบบ DMC  - สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตรวจสอบข้อมูลจำนวนนักเรียน ที่ยืนยันตัวตนจากระบบ SET โดยไม่นับนักเรียนที่ไม่สามารถจำหน่ายออกจากระบบ SET 

4. ตรวจสอบการโอนเงินกู้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้โอนมาตั้งจ่าย  ณ หน่วยเบิกจ่าย ให้ถูกต้องตรงกับการแจ้งจัดสรรวงเงินกู้ กรณีไม่ถูกต้อง ดำเนินการดังนี้ 
    4.1 โรงเรียนหน่วยเบิก ให้รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดทราบ เพื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ภายใน 1 วันทำการ 
    4.2 สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ให้รายงานสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ เพื่อสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แจ้งสำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใน 1 วันทำการ 

5. เบิกเงินกู้ในระบบ GFMIS โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย การเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไข เพิ่มเติม โดยด่วน  

6. การจ่ายเงินกู้ให้จ่ายให้กับผู้ปกครองหรือนักเรียน ตามข้อ 3 ข้างต้น ดังนี้ 
    6.1 โรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิก ให้จ่ายเงินกู้ตามจำนวนนักเรียนในระบบ DMC ณ วันที่ 25  มิถุนายน 2564 และต้องเรียนอยู่ในโรงเรียน ณ วันที่จ่ายเงินกู้โดยไม่นับนักเรียนที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ อายุเกินเกณฑ์ และนักเรียนที่ไม่สามารถจำหน่ายออกจากระบบ DMC ให้จ่ายภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ ได้รับโอนเงินกู้ 
    6.2 สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ให้จ่ายเงินกู้ตามจำนวนนักเรียนใน ระบบ SET ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 และต้องเรียนอยู่ในสถานศึกษา ณ วันที่จ่ายเงินกู้ โดยไม่นับนักเรียน ที่ไม่สามารถจำหน่ายออกจากระบบ SET ให้จ่ายภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับโอนเงินกู้ 
    6.3 กรณีโอนเข้าบัญชีธนาคาร ให้โอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่มี บัญชีเงินฝากธนาคาร ให้ใช้บัญชีเงินฝากธนาคารของนักเรียนแทนได้โดยให้เก็บหลักฐานที่สามารถระบุตัวตน ของผู้ปกครองและหลักฐานการโอนเข้าบัญชีธนาคาร เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ 
    6.4 กรณีจ่ายเงินสด ให้ดำเนินการตามแนวทางโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รายการ ค่าอุปกรณ์การเรียนและค่าเครื่องแบบนักเรียน) และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด 

    ทั้งนี้ให้จัดทำรายละเอียดข้อมูลการจ่ายเงินกู้ ตามแบบรายงานที่กำหนด (แบบ 1 โรงเรียน) โดยโรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิก ส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ ส่งให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 

7. นักเรียนที่จะยังไม่ได้รับเงินกู้ ตามข้อ 6 ข้างต้น คือ นักเรียนที่ย้ายเข้าหลังวันที่ 25  มิถุนายน 2564 ดังนี้  
    - นักเรียนย้ายเข้ามาจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    - นักเรียนย้ายเข้ามาจากสังกัดอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษา เอกชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น  
ให้โรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิก จัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลดังกล่าว รายงานสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา ตามแบบรายงานที่กำหนด (แบบ 3 โรงเรียน) สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ จัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลดังกล่าว รายงานสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามแบบ รายงานที่กำหนด (แบบ 3 โรงเรียน) เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ในภาพรวมทั้งประเทศ และ เป็นข้อมูลในการจ่ายเงินกู้  

8. การจ่ายเงิน ตามข้อ 6 ข้างต้น ที่โอนเข้าบัญชีธนาคารและจ่ายเงินสดให้กับผู้ปกครอง หรือนักเรียน ให้จัดเก็บหลักฐานการจ่ายเงินกู้ไว้ที่โรงเรียนและสถานศึกษา เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้

9. กรณีไม่มีผู้มารับหรือไม่สามารถจ่ายเงินกู้ได้ ในกรณีใด ๆ ดำเนินการดังนี้ 
    9.1 โรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิก  
        - รายงานรายชื่อนักเรียนส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามแบบรายงานที่กำหนด  (แบบ 2 โรงเรียน) 
        - นำส่งเงินกู้กลับคืนส่วนกลาง ภายใน 3 วันทำการ หลังจากการจ่ายเงินกู้ 
    9.2 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ 
        - รายงานรายชื่อนักเรียนส่งสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามแบบรายงานที่ กำหนด (แบบ 2 โรงเรียน) 
        - นำส่งเงินกู้กลับคืนส่วนกลาง ภายใน 3 วันทำการ หลังจากการจ่ายเงินกู้ 

10. กรณีขอสนับสนุนเงินเพิ่มเติม ตามข้อ 7 ข้างต้น ให้ดำเนินการดังนี้ 
    10.1 โรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิก รายงานข้อมูลรายชื่อนักเรียนส่งสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา ภายใน 3 วันทำการ หลังจากการจ่ายเงินกู้ เพื่อรวบรวมส่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ตามแบบรายงานที่กำหนด (แบบ 3 โรงเรียน) ในการขอสนับสนุนเงินกู้เพิ่มเติมจากส่วนกลางต่อไป 
    10.2 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ รายงานข้อมูลรายชื่อ นักเรียนส่งสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภายใน 3 วันทำการ หลังจากการจ่ายเงินกู้ เพื่อรวบรวม ส่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแบบรายงานที่กำหนด (แบบ 3 โรงเรียน) ในการขอ สนับสนุนเงินกู้เพิ่มเติมจากส่วนกลางต่อไป 

11. การจ่ายเงิน การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง  พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 
สรุปการจัดส่งแบบรายงาน 
    1. โรงเรียนที่มิใช่เป็นหน่วยเบิกและโรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิก จัดทำแบบ 1 โรงเรียน ,  แบบ 2 โรงเรียน (ถ้ามี) , แบบ 3 โรงเรียน (ถ้ามี) และแบบสรุปโรงเรียน ส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 
    2. สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จัดทำแบบ 1 โรงเรียน, แบบ 2 โรงเรียน (ถ้ามี) , แบบ 3 โรงเรียน (ถ้ามี) และแบบสรุปโรงเรียน ส่งสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
    3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำแบบสรุปสพท. , แบบสรุป 2 สพท.และแบบสรุป 3 สพท.  ส่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
 วันที่ 17 สิงหาคม 2564


ดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมดได้ที่ :: ไฟล์แนบด้านล่าง
  - หนังสือแจ้งเขตพื้นที่
  - เอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
  - เอกสารที่ยกเลิก 
  • 17 ส.ค. 2564 เวลา 20:21 น.
  • 36,297

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^