LASTEST NEWS

06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่

“คุรุสภา” เร่งหาข้อสรุปปัญหาสอบวิชาเอกขอตั๋วครู

  • 29 มิ.ย. 2564 เวลา 18:46 น.
  • 2,792
“คุรุสภา” เร่งหาข้อสรุปปัญหาสอบวิชาเอกขอตั๋วครู

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"คุรุสภา"เร่งหาข้อสรุปปัญหาสอบวิชาเอกขอตั๋วครู
“คุรุสภา” ตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการรวบรวมประเด็นปัญหา-ข้อคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับ “สอบวิชาเอก” เพื่อขอตั๋วครูพร้อมเร่งทำคลังข้อสอบ “ดิศกุล” แนะมีหน่วยงานกลางสอบวิชาเอก ลดสอบซ้ำซ้อน และใช้งบฯ คุ้มค่า ขณะที่ “รัฐกรณ์” จี้ทบทวนสอบวิชาเอก

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า จากที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้จัดให้มีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 20-21 ก.พ. 2564 และประกาศผลสอบวันที่ 29 มีนาคมผ่านมา แต่มีประเด็นในแวดวงวิชาการและการฟ้องร้องที่ศาลปกครองเรื่องข้อสอบ ซึ่งมีการสอบวิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา วิชาชีพครู และวิชาเอก จำนวน 30 วิชา ว่าข้อสอบมีมาตรฐานที่เหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะข้อสอบวิชาเอกที่มี ข้อสงสัยว่าอาจจะออกไม่ตรงกับที่ผู้เข้าสอบได้เรียนมา มีข้อเรียกร้องว่าไม่จำเป็นที่จะต้องสอบวิชาเอก ขณะที่มีนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นแตกต่างเรื่องการสอบวิชาเอก โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าต้องมีการสอบวิชาเอก ส่วนอีกฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการสอบวิชาเอก ซึ่งเรื่องนี้คุรุสภาเป็นตัวกลางที่รับข้อมูลทุกด้านจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะนำข้อมูลต่างๆ มาทบทวน และหาข้อยุติให้ได้โดยเร็ว

“จากปัญหาที่เกิดขึ้นทางคุรุสภาจึงได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อมารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อคิดเห็นต่างๆ อย่างรอบด้าน แนวทางการดำเนินการที่จะให้การจัดสอบราบรื่น และให้ได้ข้อสรุปก่อนเสนอให้ทางคณะกรรมการคุรุสภาพิจารณาต่อไป ส่วนมติคณะกรรมการคุรุสภาจะออกมาอย่างไร สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาก็พร้อมดำเนินการทุกอย่าง โดยตั้งเป้าเดือนตุลาคมนี้ทุกอย่างน่าจะเรียบร้อย นอกจากนี้ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภายังได้วางแผนระยะยาวที่จะจัดทำคลังข้อสอบหรือ Item Bank ซึ่งได้เตรียมการวางระบบเทคโนโลยีแล้ว ส่วนข้อสอบ คงต้องให้สภาคณาจารย์ และ ที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ทปคศ.) มาช่วยด้วย  นอกจากนี้ยังมีแผนการจัดทำการทดสอบจาก Paper Test เป็น E Testing ด้วย ซึ่งจะทำให้การทดสอบสะดวกขึ้น ใครพร้อมเมื่อไหร่ก็มาสอบได้เลย” ดร.ดิศกุล กล่าวและว่าในอนาคตคุรุสภาจะจัดสอบวิชาเอกหรือไม่จัดสอบวิชาเอก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) น่าจะต้องมาช่วยกันดูว่าจะทำอย่างไรในการนำผลการทดสอบ การประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยอาจจะให้มีหน่วยงานหลักมาดูแลการจัดสอบวิชาเอก จากนั้นหน่วยงานร่วมก็สามารถดึงวิชาเอกไปใช้ได้เลย ซึ่งจะทำให้การทำงานคล่องตัว ลดความซ้ำซ้อนในการสอบ และเกิดประโยชน์การใช้เงินงบประมาณของประเทศชาติอย่างคุ้มค่าด้วย

ด้าน ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ การวิจัยและนวัตกรรม และรักษาการคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครราชสีมา กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่จะต้องมีการสอบเพื่อขอตั๋วครู เนื่องจากต้องการให้มีมาตรฐานวิชาชีพครูเหมือนการสอบแพทย์ และพยาบาล ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งเพราะมีสถาบันฝ่ายผลิตครูที่หลากหลายบางสถาบันไม่มีหน้าที่ผลิตครูก็มาผลิต และยังมีการปล่อยเกรด ขณะที่จำนวนนิสิตนักศึกษาลดลง แต่ค่านิยมเรียนสายครูยังคงสูงเหมือนเดิมจึงต้องมีการวางระบบการดูแลมาตรฐานและคุณภาพ  ทั้งนี้เท่าที่ดูการสอบวิชาเอกที่ผ่านมามีปัญหามาก เนื่องจากในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (มคอ.1 ) หลักสูตรครู 4 ปี ไม่ได้กำหนดรายวิชาเอกที่ชัดเจนจึงทำให้สถาบันฝ่ายผลิตครูต่างๆ ไปกำหนดรายวิชาที่เรียนแตกต่างกันไป เมื่อไปสอบวิชาเอกขอตั๋วครู จึงทำให้เกิดปัญหาที่ว่าข้อสอบวิชาเอกที่สอบไม่ตรงกับสิ่งที่เรียนมา อย่างไรก็ตามตนอยากให้มีการทบทวนการสอบวิชาเอก ส่วนการสอบวิชาอื่นยังจำเป็นต้องสอบและถือว่าเพียงพอกับการวัดและประเมินวิชาชีพครูอยู่แล้ว ที่สำคัญอยากให้คุรุสภา สถาบันฝ่ายผลิต และผู้ใช้บัณฑิตมาร่วมกันคิดและวางแนวทางในการคัดเลือกและใช้ผลการสอบต่างๆ ร่วมกัน เพื่อลดการสอบที่ซ้ำซ้อนและประหยัดงบประมาณด้วย

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2564 เวลา 11.08 น.
  • 29 มิ.ย. 2564 เวลา 18:46 น.
  • 2,792

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^