LASTEST NEWS

06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่

ถึงเวลา ยกเลิกการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือยัง?

  • 25 มิ.ย. 2564 เวลา 12:24 น.
  • 5,400
ถึงเวลา ยกเลิกการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือยัง?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ถึงเวลา ยกเลิกการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือยัง?
รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

ความเป็นมา
             ๑.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ที่กำหนดการบังคับใช้ในมาตรา ๔๓ และ ๔๔ ดังนี้
                 ๑.๑ ส่วนที่ ๕ การประกอบวิชาชีพควบคุม
มาตรา ๔๓ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม ตามพระราชบัญญัตินี้ การกาหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
  ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทาง การศึกษา
(๒) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทาหน้าที่สอนด้วย
(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการ ฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(๔) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(๕) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่ เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบัน ทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(๖) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
(๗) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา (๘) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
มาตรา ๔๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) คุณสมบัติ
(๑) มีอายุไม่ต่ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
(๓) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่
น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ คุรุสภากาหนด
               จากการบังคับใช้ของกฎหมายมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ ส่งผลกระทบต่อครูประจำการในขณะที่มีการประกาศใช้กฎหมาย ที่ขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด จึงได้กำหนดบทเฉพาะกาล ไว้ดังนี้
                ๑.๒ บทเฉพาะกาล
 มาตรา ๘๘ ให้วุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ ก.ค. กำหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นคุณวุฒิในการขอรับ ใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
              นั่นคือในการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา ๔๓ และ มาตรา ๔๔ นั้นให้ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดมีระยะเวลาสามปี ในการดำเนินการให้ตนเองมีคุณวุฒิและคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด 

              ดังนั้น คุรุสภาจึงได้กำหนดให้มีหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู สำหรับครูประจำการที่ไม่มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง ให้ได้เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู โดยครูประจำการที่เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ตามบทเฉพาะกาลในขณะนั้น ให้เรียนเฉพาะรายวิชาชีพครู โดยหลักสูตรไม่ได้กำหนดให้ผู้เรียนต้องฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูไม่น้อยกว่าหนึ่งปีตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่การสอนอยู่แล้ว
              แต่ต่อมากลายเป็นว่าการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการผลิตครู โดยไปกำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ที่เรียนในหลักสูตรต้องฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูไม่กว่าหนึ่งปีตามที่กฎหมายกำหนดด้วย จนถึงปัจจุบันนี้
              ###จึงมีคำถามว่า หากยังมีการเปิดให้มีการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ต่อไป จะยังเป็นการตอบสนองเจตนารมย์ของกฎหมายอยู่หรือไม่?
             ๒.การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ที่สถาบันผลิตครูต้องจัดการเรียนรู้ ตามประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๑.๓ ประกาศนียบัตรบัณฑิต (๑) จำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า ๓๓ หน่วยกิต (๒) รายวิชา ไม่น้อยกว่า ๒๗ หน่วยกิต และ(๓) ปฏิบัติการสอนไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต ภายในระยะเวลหนึ่งปีครึ่ง ทำให้ผู้เรียนต้องเรียนรายวิชาไปพร้อมๆกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู(ฝึกสอน) ตามแนวทางการบูรณาการการเรียนรู้กับการทํางาน (Work Intregrated Learning:WIL) ทำให้การบ่มเพาะสมรรถนะด้านวิชาชีพครู ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพครู(มคอ.) และมาตรฐานความเป็นครูตามเกณฑ์สมรรถนะของคุรุสภา
             ###จึงมีคำถามว่าโครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ส่งผลต่อการบริหารตัดการการผลิตครูให้มีสมรรถนะเท่าที่ควรหรือไม่?
            ๓.จากการทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของคุรุสภา พบปัญหา ดังนี้
                ๓.๑ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มีความหลากหลายสาขาวิชาของวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ส่วนมากไม่ตรงและไม่สอดคล้องกับวิชาเอกที่คุรุสภากำหนด เช่น ผู้เข้าทดสอบสำเร็จปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ ต้องฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาสังคมศึกษา เมื่อเข้ารับการทดสอบจึงต้องทดสอบในวิชาเอกสังคมศึกษาที่ตนเองไม่มีความรู้ตรงกับสาขาโดยตรง และแม้จะสอบได้ก็จะเป็นปัญหาต่อไป เมื่อสอบบรรจุแต่งตั้งได้ เพราะไม่ได้เป็นครูในสาขาวิชาที่ตรงกับความถนัดของตนเอง ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศโดยรวมหรือไม่?
                ๓.๒ สรุปผลการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พบว่า
                        ๑)ด้านการจัดการเรียนรู้
                            (๑)คะแนนเฉลี่ย   ๒๖.๘๕      (๒)ส่วนเบี่ยงเเบนมาตรฐาน (S.D) ๑.๔๘
                        ๒)ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
                             (๑)คะแนนเฉลี่ย  ๑๗.๗๖     (๒)ส่วนเบี่ยงเเบนมาตรฐาน (S.D)๑.๐๗
                        ๓)ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูและจรรยาบรรณวิชาชีพ
                             (๑)คะแนนเฉลี่ย  ๔๖.๒๕      (๒)ส่วนเบี่ยงเเบนมาตรฐาน (S.D) ๓.๑๕
            ๔.สำนักงานคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้กำหนดแผนการอัตรากำลังของโรงเรียนแต่ละขนาดตามความต้องการครู โดยเรียงลำดับความต้องการผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรครูปริญญาตรีทางการศึกษา เรียงลำดับการบรรจุสาขาวิชาเอก ดังนี้ (๑) ประถมศึกษา  (๒) ปฐมวัย (๓)ไทย (๔)คณิต (๕) อังกฤษ (๖) สังคม (๗) วิทย์ (๘) พลศึกษา, ศิลปะ,ดนตรี  ดังนั้น การสอบบรรจุครูผู้ช่วยของ ก.ค.ศ.จึงไม่มีความจำเป็นที่จะจัดอัตราบรรจุที่นอกเหนือจากแผนข้างต้น ยกเว้นความจำเป็นเฉพาะสาขาขาดแคลนซึ่งมีอยู่น้อยมาก 
                ###จึงมีคำถามว่า หากยังมีการผลิตบัณฑิตหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูที่มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนมาก มีวุฒิปริญญาตรี ไม่ตรงกับความต้องการของการบรรจุครูของ ก.ค.ศ.ต่อไป จะเป็นบาปแก่ผู้เรียนหรือไม่?
            ๕.การผลิตครูในปัจจุบันมีความพอเพียงและหลายหลักสูตรเกินความต้องการจำนวนมาก หลักสูตรปริญญาตรี ๔ ปี และหลักสูตร ๕ ปี สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำรายงานผลการศึกษา สถานภาพการผลิตและพัฒนาครู ในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘ พบว่า สถานภาพการผลิตครู สถาบันผลิตครูรับนักศึกษามากเกินความต้องการ ทําให้เกิดภาวะครูล้นตลาด เช่น ในปี ๒๕๕๑ มีการ ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูถึง ๘ แสนกว่าคน ซึ่งเป็นครูในระบบการศึกษาและบุคคลที่ไม่ได้ เป็นครูแต่มีสิทธิเข้าสู่อาชีพครู และในปี ๒๕๕๔ มีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเกือบ ๙ แสนคน โดยมีผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพที่ยังไม่มีสังกัดอยู่ถึง ๓ แสนกว่าคน และคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ก็แสดงความกังวลต่อจํานวนนักศึกษาที่เข้าเรียนคณะศึกษาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปีการศึกษา ๒๕๕๑ มีจํานวนเพียง ๒๖,๗๓๐ คน ปี ๒๕๕๒ มีจํานวน  ๓๗,๘๙๐ คน ปี ๒๕๕๓ มีจํานวน ๕๒,๕๑๕ คน ปี ๒๕๕๔ มีจํานวน ๖๖,๑๒๘ คน และปี ๒๕๕๕ มีจํานวน ๕๗,๒๙๔ คนจากจํานวนการรับ นักศึกษาเข้าเรียนดังกล่าว ในปี ๒๕๖๐ น่าจะมีบัณฑิตครูที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่า ๒.๔ แสนคน ในตลาด ขณะที่น่าจะมีครูเกษียณเพียง ๒ แสนกว่าคน (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, ๒๕๕๖)
           จากข้อมูลข้างต้น มีการผลิตครูทุกสาขาวิชาเอก ที่มีปริมาณเกินกว่าอ้ตราบรรจุเพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ยมีการผลิตครู ปีละ ๕๐,๐๐๐ คน แต่มีอัตราบรรจุเฉลี่ยปีละ ๑๐,๐๐๐ คน ทำให้มีการผลิตครูเกินความต้องการในการใช้ครู เฉลี่ยปีละ ๔๐,๐๐๐ คน จึงทำให้ในปัจจุบันมีนิสิตนักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรครูปริญญาตรี ที่ยังไม่ได้รับการบรรจุเป็นครูมีจำนวนสะสมเพิ่มขึ้นทุกปี อีกจำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน
           ###จึงมีคำถามว่า การอ้างความขาดแคลนผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพครู ยังจะเป็นเหตุผลความจำเป็นอีกต่อไปหรือไม่?
         ###ด้วยเหตุผลทั้ง ๕ ประการข้างต้น จึงนำมาสู่คำถามว่า
         #####ถึงเวลา “ยกเลิกการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือยัง?
        ###นำเรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการคุรุสภา” ครับ
#####หมายเหตุ ผู้เขียนมิได้เสนอให้ปิดกั้นผู้ที่มิได้เรียนหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา มาเป็นครูตามความต้องการของ ก.ค.ศ., สพฐ., สอศ., สช., ท้องถิ่น ฯลฯ นะครับ
###ผู้สำเร็จการศึกษาวุฒิปริญญาตรีด้านการศึกษาสาขาอื่น สามารถเรียนหลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา ตามความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้ครูได้ โดยคุรุสภากำหนดโครงสร้างหลักสูตรเปิดกว้างอยู่แล้วได้

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลจาก :: เฟซบุ๊กรองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
  • 25 มิ.ย. 2564 เวลา 12:24 น.
  • 5,400

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^