LASTEST NEWS

05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่ 01 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด ! กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญชวนร่วมแต่งกายไว้ทุกข์ 2-4 ต.ค.2567

"ตรีนุช" ชูพื้นที่นวัตกรรมนำร่องจัดการศึกษารูปแบบใหม่

  • 06 พ.ค. 2564 เวลา 15:39 น.
  • 1,317
"ตรีนุช" ชูพื้นที่นวัตกรรมนำร่องจัดการศึกษารูปแบบใหม่

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"ตรีนุช" ชูพื้นที่นวัตกรรมนำร่องจัดการศึกษารูปแบบใหม่
รมว.ศธ.มอบนโยบายการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม พร้อม ชู เป็นการนำร่องการส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน

เมื่อวันที่ 6 พ.ค.น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายเรื่องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมว่า พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำร่องการส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน กระจายอำนาจและให้อิสระแก่สถานศึกษานำร่องและหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดนั้น ๆ ให้มีความคล่องตัวในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่เน้นการพัฒนากลไกการจัดการศึกษาร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งจะต้องเร่งขับเคลื่อนการดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ตนมองว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว ถือเป็นโอกาสทองของจังหวัดในการจัดการศึกษาตอบโจทย์ผู้เรียน สถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และคนในพื้นที่ โดยสถานศึกษานำร่องและหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้รับโอกาสในการออกแบบ สร้างสิ่งใหม่ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และสามารถเป็นตัวอย่าง เป็นโมเดลต้นแบบของการแก้ไขปัญหาระบบการศึกษา จากฐานทุนเดิมที่มี สู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาได้จริง

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ในปัจจุบันมีจังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้งหมด 8 จังหวัด และอนาคตก็จะมีการเปิดรับจังหวัดใหม่ที่มีความพร้อมและเข้มแข็งเข้ามาเพิ่มเติม โดยลักษณะการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะใช้พื้นที่และจังหวัดเป็นฐาน ผสานจุดแข็งของการทำงานมุ่งเน้น ล่างขึ้นบน (Bottom up) คือ ใช้พื้นที่/จังหวัดเป็นฐาน ปฏิบัติการที่สถานศึกษานำร่อง และสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่นโยบายส่วนกลาง และหนุนเสริมด้วย บนลงล่าง (Top down) คือ หนุนปฏิรูปเชิงพื้นที่โดยฝ่ายนโยบาย ปลดล็อกอุปสรรคเชิงนโยบายเอื้อต่อการจัดการศึกษา โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน/สถานศึกษาเป็นฐาน อย่างไรก็ตาม แนวนโยบายของ ศธ. ที่ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย 1.การส่งเสริมและผลักดันการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเต็มพิกัด เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศ 2.สนับสนุนผู้นำหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัด รวมมือรวมพลังกัน เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 3.ส่งเสริมการทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ให้อิสระแก่สถานศึกษานำร่องในการจัดทำและเลือกใช้หลักสูตรต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษานำร่อง 4.จัดกลุ่มพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ 5.บูรณาการกลไกการขับเคลื่อนนโยบายในระดับกระทรวง

"อย่างไรก็ตามการดำเนินงานตามพ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ เป็นการเอื้อให้หน่วยงานทางการศึกษา สถานศึกษานำร่อง และภาคีทุกภาคส่วนในพื้นที่ ได้รวมพลังร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ในหลากหลายประเด็น เช่น ด้านหลักสูตรการสอน การเลือกใช้นวัตกรรม การจัดซื้อหนังสือตำรา เป็นต้น และแม้จะมีกฎหมายจะเปิดช่องทางให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ได้หลายเรื่อง แต่ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษาแล้ว หรือเป็นการรับประกันว่าการปฏิรูปการศึกษาจะประสบผลสำเร็จ เพราะการประกาศใช้พ.ร.บ.นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแนวทางการจัดการใหม่ เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาให้ระบบการศึกษาไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมาร่วมคิด ร่วมออกแบบและจัดการศึกษาเชิงพื้นที่อย่างแท้จริง เพื่อให้เด็ก เยาวชน คนในพื้นที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา มีคุณภาพการเรียนรู้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่" น.ส.ตรีนุช กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2564 เวลา 15.00 น.
  • 06 พ.ค. 2564 เวลา 15:39 น.
  • 1,317

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^