LASTEST NEWS

05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่ 01 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด ! กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญชวนร่วมแต่งกายไว้ทุกข์ 2-4 ต.ค.2567

นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) ย้ำชัด “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง”

  • 12 เม.ย. 2564 เวลา 12:53 น.
  • 5,409
นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) ย้ำชัด “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง”

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแน่นอน วิชาชีพอื่นก็สามารถเป็นวิชาชีพชั้นสูงได้ถ้ามีองค์ประกอบครบตามที่ได้มีการระบุในงานวิจัย นี้”

           นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่าตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันตามสื่อต่างๆในเรื่องที่จะมีการยกเลิกความสำคัญที่เคยบัญญัติไว้ใน มาตรา ๕๒ แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง” โดยนักวิชาการบางท่าน เห็นว่า “ถ้าเราระบุไว้ใน พ.ร.บ.ว่าครูเป็นอาชีพชั้นสูงแล้ว “ต่อไปครูเดินไปไหนมาไหนคนที่เห็นต้องไหว้หรือเปล่า” “หรือคนที่มีอาชีพชั้นสูงจะได้นั่งแถวหน้าเวลาไปดูคอนเสิร์ต” “จะมีอาชีพชั้นสูงไปเพื่ออะไร” “อาชีพวิศวะน่าจะเป็นอาชีพชั้นสูงกว่าไหม เพราะทำงานตึกสูงตั้ง ๔๐-๕๐ ชั้น” ฯลฯ นั้น 


           กรณีนี้ตนขอเรียนและสื่อสารไปถึงบรรดานักวิชาการต่างๆดังกล่าวว่าท่านคงไม่เข้าใจที่มาที่ไปของคำว่าอาชีพชั้นสูงเนื่องจากท่านได้พูดถึงเรื่องคนที่มีอาชีพชั้นสูงจะได้นั่งแถวหน้าเวลาไปดูคอนเสิร์ต หรือ อาชีพวิศวะน่าจะเป็นอาชีพชั้นสูงกว่าไหม เพราะทำงานตึกสูงตั้ง ๔๐-๕๐ ชั้น เป็นต้นและตนเชื่อโดยสนิทใจว่าท่านผู้นั้นไม่เคยประกอบวิชาชีพครู ไม่เคยไปสัมผัสครูที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ไม่เข้าใจวิชาชีพครูที่แท้จริงว่าวิชาชีพครูนั้นต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง 


           ขอเรียนว่าผู้ที่ศึกษาวิชาชีพครูนั้นจะต้องถูกฝึกทั้งทางวิชาการและจิตวิญญาณให้เตรียมรับมือกับภารกิจในการพัฒนานักเรียนทั้งในเรื่องความฉลาดรู้ ความประพฤติ ความมีคุณธรรม และการแก้ปัญหาต่างๆของนักเรียนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคม โดยต้องถูกปลูกฝังในเรื่องต่างๆเหล่านี้มากกว่า ๔-๕ ปี ในสถาบันการผลิตครู จะถูกปลูกฝังให้มีจิตสำนึกที่จะใส่ใจนักเรียนในฐานะพ่อแม่คนที่สองของนักเรียน



           เกี่ยวกับเรื่องการเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น ขอเสนอแนะให้ผู้วิจารณ์หาความรู้เพิ่มเติมได้จากงานวิจัยของ สุนทร มูสิกรังสี เรื่อง การศึกษาพฤติกรรมของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ซี่งงานวิจัยดังกล่าวนั้นได้มีการกล่าวถึงวิชาชีพชั้นสูงตามแนวคิดของนักการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศไทย ดังนี้

     ​    ๑. เป็นวิชาชีพที่ให้บริการแก่สังคม
​     ​    ๒. เป็นวิชาชีพที่จะต้องได้เรียนรู้เป็นระยะเวลานานและวิชาต่างๆจะต้องมีหลักการและทฤษฎีที่เชื่อถือได้ซึ่งจะต้องเกิดจากการวิจัย
​     ​    ๓. เป็นวิชาชีพที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณเป็นขอบเขตแห่งความประพฤติ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบอาชีพและป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นกับผู้รับบริการหรือสังคม ในกรณีที่ผู้ประกอบอาชีพเลินเล่อขณะทำการประกอบอาชีพและเป็นแนวปฏิบัติหรือข้อบังคับให้มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา
     ​    ​๔. เป็นวิชาชีพที่ใช้ปัญญาอย่างมากในการประกอบอาชีพ จะต้องใช้ความรู้ความสามารถและความรับผิดชอบอย่างสูงต่อวิชาชีพและต่อผู้บริการตลอดเวลา
​     ​    ๕. เป็นวิชาชีพที่มีที่มีความอิสระในการประกอบอาชีพ มีอำนาจในการตัดสินใจดำเนินการตามสาระสำคัญแห่งวิชาชีพ ทั้งทางด้านเทคนิควิธีและกระบวนการให้สอดคล้องกันและเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการหรือสังคมได้โดยไม่มีข้อจำกัด
     ​    ​๖. เป็นวิชาชีพที่มีฐานะทางสังคมอยู่ในระดับสูง ได้รับค่าตอบแทนในอัตราสูงและมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
     ​    ​๗. เป็นวิชาชีพที่มีสถาบันของตนเองเพื่อควบคุม ส่งเสริม พัฒนา สร้างสรรค์สาระแห่งวิชาชีพ ตลอดจนเกียรติศักดิ์ศรีของวิชาชีพและบุคคลในวิชาชีพ



​วิชาชีพครูในฐานะเป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะ
​     ​    ๑. วิชาชีพครูมีบริการที่ให้แก่สังคมที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและจำเป็นที่สังคมจำต้องมีบริการดังกล่าว
​     ​    ๒. วิชาชีพครูต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาอย่างยิ่งเพราะการสอนเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยมไปสู่เยาวชน
     ​    ​๓. ผู้ที่เป็นครูจำต้องได้รับการศึกษาอบรมให้เป็นผู้ที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง มีความรู้กว้างที่จะเข้าใจตนเอง ผู้อื่นและสังคม สิ่งแวดล้อม รู้หลักการและวิธีการสอนรวมทั้งสามารถประยุกต์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติวิชาชีพได้เป็นอย่างดี  มีประสิทธิภาพ ระยะเวลาที่ศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นครูจึงต้องยาวนานพอสมควร อย่างน้อยตบจบปริญญาตรี
     ​    ​๔. ครูมีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีอิสระและเสรีภาพทางวิชาการในการให้บริการตามมาตรฐานของวิชาชีพ
​     ​    ๕. วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่มุ่งบริการแก่ผู้อื่นมากกว่าการหาประโยชน์จากผู้รับบริการจึงต้องเป็นวิชาชีพที่มีจรรยาบรรณ
     ​    ​๖. วิชาชีพครูมีคุรุสภาเป็นสถาบันวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการควบคุมมาตรฐานและส่งเสริมความก้าวหน้าของวิชาชีพ


​แนวคิดในเรื่องวิชาชีพชั้นสูงและแนวคิดเรื่องวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง นั้นเป็นแนวคิดที่ได้มาจาก ดร.ก่อ สวัสดิพานิชย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อาจารย์จันทร์ ชุ่มเมืองปักษ์ อาจารย์ยนต์ ชุ่มจิต ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นนักการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ ที่สำคัญคือวิชาชีพใดก็ตามที่มีองค์ประกอบครบตามข้อค้นพบของงานวิจัยเรื่องนี้ก็สามารถยอมรับได้ว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูง
​“คุณภาพของครูในปัจจุบันนั้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่าขาดจิตวิญญาณของความเป็นครู โดยเป็นที่น่าเสียดายว่าเรื่องนี้มีต้นเหตุมาจากคุรุสภาที่บริหารโดยบุคคลที่ไม่เคยเป็นครู ไม่มีจิตวิญญาณครู ได้กำหนดระเบียบอนุญาตให้บุคคลที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาอบรมเพื่อที่จะเป็นครู ไม่เคยถูกปลูกฝังทางจิตวิญญาณด้านวิชาชีพครู มาประกอบวิชาชีพครู จึงล้มเหลวในการพัฒนาผู้เรียน 


จึงขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจขอได้โปรดพิจารณาให้รอบคอบในเรื่องการวางตัวบุคคลที่จะมาบริหารภารกิจของครูในทุกองค์กรโดยควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบห้าปี มิฉะนั้นก็จะคิดและเสนอแนะอะไรต่างๆนานาตามอำเภอใจของตนเอง ขาดการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่มีจนทำให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงทางด้านการศึกษาของเยาวชน นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าบุคคลที่ไม่ยอมรับให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้นล้วนแล้วแต่ไม่เคยเป็นครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแม้แต่รายเดียว” นายรัชชัยย์ ฯกล่าวในที่สุด



ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กดร.รัชชัยย์ ศรสุวรรณ วันที่ 11 เมษายน 2564
 
  • 12 เม.ย. 2564 เวลา 12:53 น.
  • 5,409

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^