LASTEST NEWS

05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่ 01 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด ! กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญชวนร่วมแต่งกายไว้ทุกข์ 2-4 ต.ค.2567

5 ประเด็นคำถาม กับข่าว "เอกชัย"แย้มอนาคตอาจไม่ใช้ตั๋วผู้บริหารสถานศึกษา โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก

  • 06 เม.ย. 2564 เวลา 19:10 น.
  • 7,380
5 ประเด็นคำถาม กับข่าว "เอกชัย"แย้มอนาคตอาจไม่ใช้ตั๋วผู้บริหารสถานศึกษา โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

##### ๕ ประเด็นคำถาม กับข่าว "เอกชัย"แย้มอนาคตอาจไม่ใช้ตั๋วผู้บริหารสถานศึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา



#ประเด็นที่ ๑ “กมว.ทบทวนกรณีผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ไม่จำเป็นต้องจบป.โทบริหารการศึกษา?”
##ประเด็นกฎหมาย 
         “ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ก็ไม่ได้กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษา จบปริญญาโทบริหารการศึกษา ดังข้อกำหนด ดังนี้
                  ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหาร
การศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นท่ีคุรุสภารับรอง 
                  ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง”


###สรุป กฎหมายกำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทบทวน ประเด็นการจบ ป.โท บริหารการศึกษา


#ประเด็นที่ ๒ มีสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เปิดหลักสูตรปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือไม่?
         ##สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ไม่เปิดหลักสูตรปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ
         ประการที่ ๑ ไม่มีอัตราสอบบรรจุเป็นครู สำหรับวุฒิปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา
         ประการที่ ๒ ผู้ที่ประสงค์จะเป็นผู้บริหารทางการศึกษา ล้วนเป็นครูประจำการที่มีวุฒิอย่างน้อยปริญญาตรีอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเรียนวุฒิปริญญาตรีอีกหนึ่งใบ
         ประการที่ ๓ ผู้ประสงค์จะเป็นผู้บริหารทางการศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหนึ่งใบ ต้องมีประสบการณ์การสอน และต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารทางการศึกษา ด้วย

###สรุป แม้กฎหมายจะกำหนดแค่วุฒิปริญญาตรี แต่ก็ไม่มีสถาบันเปิดสอน และแม้จะเปิดสอนก็ไม่มีผู้ใดประสงค์จะเรียน ด้วยเหตุผล ๓ ประการดังกล่าวข้างต้น 
ดังนั้น ผู้ประสงค์จะเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการศึกษา จึงเลือกเรียนปริญญาโททางการบริหารการศึกษา ซึ่งจะได้รับประโยชน์ทั้ง การได้ความรู้ การเพิ่มวุฒิ และการเป็นผู้บริหารทางการศึกษา




#ประเด็นที่ ๓ “อนาคตใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาจะไม่มี” ได้ไหม?
##ประเด็นกฎหมาย
         ราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. ๒๕๔๖
         มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
                  “วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทําหน้าที่หลักทางด้านการเรียน การสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐ เอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการ สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเก่ียวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
                   “ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้
                  “ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่าบุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่ที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
                  “ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตําแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
                  “ใบอนุญาต” หมายความว่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงาน ในตําแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามพระราชบัญญัตินี้

###สรุป “ผู้บริหารสถานศึกษา” และ “ผู้บริหารการศึกษา” เป็น “ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” ที่ต้องมี”ใบอนุญาต” ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. ๒๕๔๖
การจะกำหนดให้ ผู้บริหารทางการศึกษา ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จึงเป็นการกระทำที่ขัดกับกฎหมาย ไม่สามารถกระทำได้




#ประเด็นที่ ๔ ทำไมสถาบันอุดมศึกษาจึงเปิดหลักสูตรปริญญาโททางการบริหารการศึกษา? และทำไมจึงมีผู้นิยมเรียนหลักสูตรข้างต้น?
##สถาบันอุดมศึกษาเปิดหลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา ด้วยวัตถุประสงค์ ๒ ประการ
         ประการที่ ๑ เพื่อสนองตอบความต้องการในการพัฒนาผู้บริหารทางการศึกษาของประเทศ
         ประการที่ ๒ เพื่อจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์ สกอ. และมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิต ตามที่คุรุสภากำหนด
##ครูประจำการนิยมเรียนหลักสูตรปริญญาโททางการบริหารการศึกษา ด้วยวัตถุประสงค์ ๓ ประการ
         ประการที่ ๑ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารการศึกษา ในการพัฒนาวิชาชีพครูของตนเอง
         ประการที่ ๒ เพื่อเพิ่มวุฒิการศึกษาของตนให้สูงขึ้น เป็นการยกระดับความรู้ระดับอุดมศึกษา
         ประการที่ ๓ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการศึกษา

###สรุป การพัฒนาคุณภาพผู้บริหารทางการศึกษาในปัจจุบัน เป็นการทำงาน ๔ ประสาน ได้แก่
(๑)คุรุสภาผู้กำหนดมาตรฐานตามที่กฎหมายวิชาชีพกำหนด (๒)สถาบันผลิตครูที่ต้องพัฒนาคุณภาพของสถาบันในการผลิตบัณฑิตตามมาตรฐานคุรุสภา (๓)ก.ค.ศ.ผู้กำหนดสมรรถนะของผู้บริหารทางการศึกษาในการพัฒนาสถาบันผลิตครูและพัฒนาผู้บริหารในการเข้าสู่ตำแหน่ง (๔)ครูผู้สอนที่มีความประสงค์จะเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหาร ซึ่งทั้ง ๔ ประสานมีเป้าหมายเดียวกันคือ ยกระดับคุณภาพของผู้บริหารทางการบริหารการศึกษาของชาติ




#ประเด็นที่ ๕ “ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาที่ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา แต่จะต้องมีประสบการณ์การบริหารการศึกษา” เป็นการย้อนแย้งทางด้านความคิด?
##การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ
         ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖
                  ข้อ ๗ มีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
                           (ก) มาตรฐานความรู้ ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้ 
                           ๑) การพัฒนาวิชาชีพ
                           ๒) ความเป็นผู้นําทางวิชาการ
                           ๓) การบริหารสถานศึกษา
                           ๔) หลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 
                           ๕) กิจการและกิจกรรมนักเรียน
                           ๖) การประกันคุณภาพการศึกษา
                           ๗) คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ
                  ข้อ ๘ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
                           (ก) มาตรฐานความรู้ ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้ 
                           ๑) การพัฒนาวิชาชีพ
                           ๒) ความเป็นผู้นําทางวิชาการ
                           ๓) การบริหารการศึกษา
                           ๔) การส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
                           ๕) การประกันคุณภาพการศึกษา
                           ๖) คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ

###สรุป “การย้อนแย้งทางความคิด” มาจาก การที่จะกำหนดให้ต้อง”มีประสบการณ์การบริหารการศึกษา” แต่ไม่ได้กล่าวถึงการกำหนดให้มีความรู้ จึงจะไปกำหนดว่า “ไม่จำเป็นต้องจบป.โทบริหารการศึกษา” ทั้งที่ คุรุสภากำหนดมาตรฐานความรู้ของผู้บริหารทางการศึกษาไว้อย่างชัดเจนข้างต้น 

ศาสตร์และศิลปทางการบริหารการศึกษา คือสมรรถนะทางการบริหารการศึกษา ซึ่งต้องมีทั้งความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ และคุณลักษณะ ตามที่สำนักงาน ก.พ. ได้ให้ความหมายของสมรรถนะไว้ดังนี้ “สมรรถนะ (Competency)  คือ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม (Bahavioral Attribute) ที่เป็นผลมาจากความรู้ (Knowledge/Wisdom) ทักษะ (Skill) ความสามารถ (Ability) และคุณลักษณะ (Attribute) อื่นๆ (Core Competency/Functional Competency/Special Competency = Competency) ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงาน (Output/Outcome) ได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่นๆ ในองค์กร”


###คำถาม คือ 
         (๑) ความรู้และประสบการณ์ของผู้จะเข้าสู่ตำแหน่งบริหารมาจากไหน? ถ้าไม่มาจากการเรียนในหลักสูตรปริญญาโททางการบริหารการศึกษา
         (๒) ถ้าตอบข้อ (๑)ว่า เมื่อสอบได้แล้วจะต้องเข้าอบรม ก็คงเป็นความย้อนแย้งทางความคิดอีกว่า “ความเชื่อว่าการอบรมเพียง ๖๐-๙๐ ชั่วโมง จะทำให้มีคุณภาพมากกว่า ผู้เรียนหลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา ๒ ปี” นั้น เป็นความเชื่อที่ถูกต้อง มีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิงหรือไม่?
         (๓) ผู้จะเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการศึกษา จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารทางการศึกษาตามกฎหมาย จะใช้วิธีใดให้ได้รับใบอนุญาตฯ? และ ถ้าจะให้ทดสอบรับใบอนุญาตฯ คุณสมบัติฯของผู้ขอเข้าทดสอบจะเป็นอย่างไร?  ซึ่งก็คงต้องเทียบเคียงกับการทดสอบรับใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพครู นั่นคือต้องผ่านการเรียนในหลักสูตรการบริหารทางการศึกษามาด้วย



ข้อเสนอ คือ
         กมว.กำกับคุณภาพสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรบริหารทางการศึกษา ให้มีมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิตฑิต ให้การผลิตมีคุณภาพ และมหาบัณฑิตมีสมรรถนะทางการบริหารการศึกษา ตามที่ต้องการจะดีไหมครับ?

         ผมเตรียมข้อเสนอความเห็นและคำถามไว้ เมื่อท่านประธาน กมว. จัดทำร่างมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและการศึกษาแล้วเสร็จ และนำเสนอให้ที่ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แห่งประเทศไทยพิจารณา ครับ

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 6 เมษายน 2564 เวลา 16.30 น.

 
  • 06 เม.ย. 2564 เวลา 19:10 น.
  • 7,380

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^