LASTEST NEWS

05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่ 01 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด ! กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญชวนร่วมแต่งกายไว้ทุกข์ 2-4 ต.ค.2567

เสียงสะท้อน"เรียนออนไลน์" คุณภาพต่ำ-เสี่ยงออกจากระบบ!

  • 17 มี.ค. 2564 เวลา 19:36 น.
  • 1,516
เสียงสะท้อน"เรียนออนไลน์" คุณภาพต่ำ-เสี่ยงออกจากระบบ!

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เสียงสะท้อน"เรียนออนไลน์" คุณภาพต่ำ-เสี่ยงออกจากระบบ!
หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีคำสั่งให้โรงเรียนหยุดทำการสอน และหันมาเรียนออนไลน์แทน แม้ว่าปัจจุบันหลายโรงเรียนจะเปิดสอน แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะต้องมีการเรียนออนไลน์กันอีก

หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีคำสั่งให้โรงเรียนหยุดทำการสอน และหันมาเรียนออนไลน์แทน แม้ว่าปัจจุบันหลายโรงเรียนจะเปิดสอน แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะต้องมีการเรียนออนไลน์กันอีก หากมีการระบาดใหม่อีกรอบ และนี่คือเสียงสะท้อนของผู้ปกครอง-นักเรียน ถึงการเรียนออนไลน์ อาจทำให้คุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ


เรียนออนไลน์คุณภาพการศึกษาลดลง
ช่วงเวลาหลังเลิกงาน ผู้ปกครองชาวต่างด้าวทยอยมารับลูกในศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก บ้านศรีนครินทร์ ชุมชนกองขยะหนองแขม กรุงเทพฯ ซึ่งดูแลโดยมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ แต่หลังจากมีการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ศูนย์แห่งนี้ต้องปิดลงชั่วคราว เช่นเดียวกับโรงเรียนในย่านนี้ต้องหันมาสอนออนไลน์ แต่การสอนออนไลน์ในมุมหนึ่ง กลับสร้างภาระรายจ่ายให้กับผู้ปกครอง โดยเฉพาะครอบครัวหาเช้ากินค่ำจะมีปัญหามาก

นางคำตัน อริกุล ยายที่ต้องดูแลหลาน 2 คน กล่าวว่าตนมีโรคประจำตัวกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่สามารถทำงานได้ ตอนนี้รายได้หลักมาจากการเก็บของเก่าของสามี หลังมีโควิด-19 รายได้ลดลง ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงต้องไปกู้เงินนอกระบบมาใช้ เราไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี การที่หลานเรียนออนไลน์ก็ให้ช่วยเหลือตัวเอง หลานคนโตสามารถเรียนได้ แต่คนเล็กยังมีปัญหา เพราะยังเล็กและไม่มีสมาธิในการเรียน แม้จะให้พี่สอน แต่การเรียนออนไลน์ไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยส่วนตัวมองว่าการเรียนออนไลน์ที่บ้านยังไม่เหมาะสม ครูควรมีกระบวนการจัดการให้เด็กไปเรียนที่โรงเรียน เพื่อจะได้รับความรู้มากกว่าเรียนออนไลน์ที่บ้าน

ส่วน ด.ญ.มลฤดี (นามสมมุติ) นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ ย่านหนองแขม กล่าวว่า การเรียนออนไลน์ยังไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะครูจะส่งแค่แบบฝึกหัดมาให้ทำ แต่ไม่ได้มานั่งอธิบายเหมือนไปโรงเรียน โดยเฉพาะวิชาที่เรียนออนไลน์ไม่รู้เรื่อง เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคม และประวัติศาสตร์ ส่วนวิชาที่เรียนรู้เรื่องคือ ภาษาไทย ที่ครูจะมีลิงก์ในการสอนให้ไปทำความเข้าใจมากขึ้น

ปัญหาการเรียนออนไลน์บางครั้งไม่มีเงินเติมค่าอินเทอร์ เน็ต จึงทำให้ส่งงานครูไม่ทัน หรือเรียนตามเพื่อนไม่ทัน ซึ่งมีผลทำให้หมดสิทธิสอบ บางครั้งขอเงินทางบ้านไม่มีให้ ตอนนี้มีเพื่อนบางคนที่ไม่ค่อยสนใจเรียนอยู่แล้ว พอมาเรียนออนไลน์ยิ่งไม่สนใจ ทำให้ตอนนี้พอเริ่มเปิดเรียน ก็ยังไม่มาโรงเรียนเหมือนเพื่อนคนอื่น

จริง ๆ อยากให้ไปเรียนที่โรงเรียนมากกว่า อยากให้ครูมีการจัดการเรื่องจำนวนนักเรียน เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการติดโควิด เพราะถ้าให้เรียนออนไลน์    ที่บ้านก็เหมือนไม่ได้เรียน และครูจะต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเองในการสอนออนไลน์ ที่ควรจะต้องอธิบายให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น เพราะเด็กแต่ละคนมีความเข้าใจต่างกัน ที่สำคัญครูต้องมีตัวอย่างให้ดู


ภาระค่าใช้จ่ายการเรียนเพิ่มขึ้น
น.ส.วนิดา ชาสุด แม่ที่อยู่ในชุมชนรอบกองขยะหนองแขม กรุงเทพฯ เล่าว่ารายได้หลักมาจากสามีที่เป็นลูกจ้างเก็บขยะของกรุงเทพมหานคร หลังมีโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของครอบครัว ขณะที่การเรียนออนไลน์ก็เพิ่มรายจ่ายในส่วนของค่าอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้งบ้านมีโทรศัพท์ใช้เพียงเครื่องเดียว เราต้องสละให้ลูกทั้ง 3 คน ผลัดกันเรียน แต่ก็ไม่พอ จึงต้องไปยืมโทรศัพท์ยาย แต่การเรียนไม่ได้ราบรื่น เพราะหลายครั้งที่เรียนอยู่ก็มีคนโทรฯมา ทำให้การเรียนช่วงนั้นขาดตอน

“ค่าอินเทอร์เน็ตที่ให้ลูก ๆ เรียนออนไลน์ เฉลี่ย 2 วัน 50 บาท วันไหนไม่มีเงินเติม ลูกจะไม่ได้เรียน บางครั้งก็สงสาร เพราะลูกต้องไปอาศัยบ้านเพื่อนที่มีอินเทอร์ เน็ตเรียน หรือต้องไปลอกการบ้านเพื่อน เนื่องจากไม่ได้เรียนออนไลน์”

การไปโรงเรียนดีกว่าให้เด็กมานั่งเรียนออนไลน์ เพราะบางครั้งเมื่อต้องออกไปทำงานข้างนอกจะไม่มีใครดูลูก ซึ่งเราไม่รู้ว่าลูกเรียนจริงหรือเปล่า บางครั้งอาจเล่นเกม หรือไปเล่นในโปรแกรมต่าง ๆ สิ่งนี้ทำให้คุณภาพการเรียนด้อยลงกว่าไปโรงเรียน ที่ได้เรียนกับครูสามารถแนะนำได้ เมื่อเรียนที่บ้านบางครั้งลูกให้ช่วยทำการบ้าน แต่เราไม่มีความรู้ก็บอกลูกไม่ได้ จึงต้องทำการบ้านมั่ว ๆส่งไป  ถ้าโรงเรียนมีนโยบายให้เรียนออนไลน์ต่อ ลูกคงไม่มีสิทธิจะเรียนจบสูง ๆ เพราะบางคนไม่ค่อยสนใจเรียน ยิ่งเรียนออนไลน์เขาก็ไม่สนใจ มีแนวโน้มว่าจะออกจากโรงเรียน เพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่เราอยู่

วิชา“คณิตศาสตร์”มีปัญหากับเด็กมาก
ขณะที่ ด.ญ.เสริมศรี (นามสมมุติ) นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ กล่าวว่าการเรียนออนไลน์ที่บ้านไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะครูให้โจทย์มาทำการบ้าน บางครั้งอธิบายน้อย จึงไม่เข้าใจ ต่างจากเรียนที่โรงเรียน ครูจะตั้งโจทย์และอธิบายให้เข้าใจมากกว่า ซึ่งวิชาที่เรียนออนไลน์ไม่รู้เรื่อง คือ คณิตศาสตร์ โดยครูจะให้ไปรับแบบฝึกหัดที่โรงเรียน ขณะที่วิชาที่เรียนแล้วรู้เรื่อง คือ ภาษาไทย ครูจะแนบลิงก์การสอนแบบละเอียดมาให้ แล้วให้นั่งดู และเขียนสรุปมาส่ง

การเรียนออนไลน์เราต้องปรับตัวเยอะ เพราะต้องนั่งอยู่หน้าจอโทรศัพท์ทั้งวัน ถ้าลุกไปไหนจะเรียนไม่ทันเพื่อน ซึ่งถ้าเทียบกันเรื่องความรู้ การไปเรียนที่โรงเรียนจะได้ความรู้เยอะกว่า เพราะครูจะเข้มงวดในการสอน แต่พอเรียนที่บ้าน ใครจะทำการบ้านหรือไม่ทำก็ได้ ใครส่งการบ้านก็จะได้คะแนน

“การเรียนออนไลน์ทำให้ความมั่นใจในการเรียนลดลง โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ที่เรียนออนไลน์ครูก็สอนไม่เข้าใจ  อยู่แล้ว พอเอาการบ้านมาส่งจะถูกครูดุ ต่างจากการเรียนที่โรงเรียนซึ่งครูจะอธิบายเยอะกว่า ทำให้เข้าใจและทำการบ้าน ได้ถูกต้อง”

การเรียนออนไลน์ทำให้เพื่อน ๆ หลายคนไม่อยากมาเรียนอีก เพราะเริ่มรู้สึกเบื่อ หลังจากให้ไปเรียนที่โรงเรียน ก็มีเพื่อน 2–3 คน ยังไม่มาโรงเรียน เพราะเขากลัวว่า ตอนเรียนออนไลน์ไม่ได้ทำการบ้านส่งครู พอไปโรงเรียนจะถูกเพื่อนล้อและถูกครูตำหนิ

เด็กเรียนไม่ทัน-ต้องออกจากระบบ 
ทางด้าน น.ส.ศิริพร (นามสมมุติ) นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนราชดำริ ย่านอ่อนนุช กรุงเทพฯ กล่าวว่า แม้จะเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านก็ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อมาเรียนตั้งแต่ 08.30 น. ซึ่งความรู้ที่ได้จะน้อยกว่าไปโรงเรียน ที่สามารถคุยโต้ตอบกับครูได้ โดยเทอมนี้ครูจะวัดผลด้วยการสอบแบบปกติ สำหรับการทำการบ้านส่งในการเรียนออนไลน์ ครูจะให้การบ้านเยอะกว่าตอนไปโรงเรียน ทำให้บางวิชาทำการบ้านไม่ทัน จึงอยากให้ครูเน้นสอนเนื้อหาให้มากขึ้น แล้วลดการบ้านให้น้อยลง

ตอนนี้มีความกังวลว่าจะอ่านหนังสือสอบเข้ามหา วิทยาลัยไม่ทัน ประกอบกับการเรียนออนไลน์เราได้ความรู้ไม่เต็มที่เท่ากับไปโรงเรียน ซึ่งครูมีการนัดให้มาติวเพิ่ม แต่หลังจากมีการเรียนออนไลน์ เพื่อนบางคนก็ลาออกไปหางานทำ เพราะเขารู้สึกเบื่อ แม้ครอบครัวจะบังคับให้เรียนต่อ แต่เขาไม่สนใจ

ขณะที่เด็กนักเรียนชั้น ป.4 ในย่านเดียวกันเล่าว่า ปัญหาการเรียนออนไลน์ครูจะสอนเนื้อหาที่ไม่ตรงกับการบ้านที่สั่ง จึงทำการบ้านไม่ได้ และครูสั่งการบ้านเยอะกว่าตอนไปเรียนที่โรงเรียน เช่น วิชาภาษาอังกฤษ จะเรียนไม่รู้เรื่อง แต่ครูจะสั่งงานครั้งละเป็น 10 ชิ้น บางงานต้องใช้เครื่องพรินต์ ถ้าที่บ้านไม่มีก็จะต้องไปที่ร้านถ่ายเอกสารพรินต์ให้แผ่นละ 3 บาท 

ส่วน ด.ช.สุเทพ (นามสมมุติ) นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา กรุงเทพฯ กล่าวว่า แม้ครูให้เรียนออนไลน์ แต่ต้องเดินไปโรงเรียนทุกเช้า เพื่อไปเอาแบบฝึกหัดมาทำเป็นการบ้าน บางครั้งก็นั่งดูครูสอนผ่านการเรียนออนไลน์ไปด้วย เพราะยายไม่มีเงินซื้อโทรศัพท์ให้ใหม่ จึงอยากให้ครูลดการบ้านลง เนื่องจากทำส่งไม่ทัน ซึ่งตอนเรียนออนไลน์เพื่อนหลายคนไม่ได้เรียน เนื่องจากที่บ้านไม่มีคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์

เช่นเดียวกับ นางสนม นาคหุ่น ยายที่ต้องดูแลหลานในชุมชนกองขยะอ่อนนุช กรุงเทพฯ ระบายว่าหลานไม่ได้เรียนออนไลน์ เพราะไม่มีโทรศัพท์ เราก็ไม่มีความรู้ จึงสอนไม่ได้ ประกอบกับหลานไม่ชอบเรียน พอให้อ่านหนังสือก็ร้องไห้ จึงไม่อยากบังคับ เนื่องจากเราต้องขายของ ทำให้ไม่มีเวลาดูแล จริง ๆ แล้วอยากให้หลานไปเรียนที่โรงเรียนมากกว่า


ขอบคุณเนื้อหาและข้อข่าวจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 เวลา 07.00 น.
  • 17 มี.ค. 2564 เวลา 19:36 น.
  • 1,516

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^