LASTEST NEWS

04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 04 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่ 02 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 01 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด ! กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญชวนร่วมแต่งกายไว้ทุกข์ 2-4 ต.ค.2567 01 ต.ค. 2567สพฐ. เร่งหารือสำนักงบ-กรมบัญชีกลาง ปมจ้างเหมาธุรการโรงเรียน 01 ต.ค. 2567โรงเรียนป่าแดดวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 7 ตุลาคม 2567 01 ต.ค. 2567เดินหน้านโยบายเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ครู-นร.รอเลยศธ.แจกแท็บเล็ตพ.ค.ปี68

คณบดีครุศาสตร์จุฬาฯชี้ต้องยกเครื่องจรรยาบรรณครูเทียบเท่าผู้พิพากษา

  • 19 ต.ค. 2563 เวลา 22:07 น.
  • 2,920
คณบดีครุศาสตร์จุฬาฯชี้ต้องยกเครื่องจรรยาบรรณครูเทียบเท่าผู้พิพากษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คณบดีครุศาสตร์จุฬาฯชี้ต้องยกเครื่องจรรยาบรรณครูเทียบเท่าผู้พิพากษา

19ต.ค.63- นายศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นระหว่างครูกับนักเรียนจนนำไปสู่การยกเครื่องจรรยาบรรณวิชาชีพครู ว่า สำหรับในกรณีนี้ ส่วนตัวตนมองว่าเรื่องนี้ต้องมีการยกเครื่องเรื่องมาตรฐานวิชาชีพครูกันอย่างจริงจัง และเรื่องการเรียนการสอนในกระบวนการผลิตครูก็เป็นส่วนหนึ่ง รวมถึงการปรับแก้ไขกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษวินัยข้าราชการก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขด้วยเช่นกัน โดยตนมองว่าวิชาชีพครูจะต้องถูกยกระดับให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเหมือนกับผู้พิพากษาที่จะต้องมีจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย เพราะอาชีพครูถือเป็นอาชีพที่เป็นตัวอย่างให้กับนักเรียน ดังนั้นการเป็นครูจะต้องเป็นทั้ง 24 ชั่วโมง โดยจะต้องมีการยกมาตรฐานจรยาบรรณวิชาชีพครูให้เป็นมาตรฐานเดียวกับกรอบจริยธรรมของผู้พิพากษา คือ จะต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยู่ในกรอบของศีลธรรมและพึงมีความสันโดษครองตนอย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาท มีอัธยาศัย ยึดถือจริยธรรมและประเพณีอันดีงามของตุลาการ ทั้งการวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป 

“เราต้องยกระดับจรรยาบรรณวิชาชีพครูให้เทียบเท่ากับผู้พิพากษาให้ได้ เนื่องจากผู้ที่อยู่ในตำแหน่งผู้พิพากษาจะครองตัวและเก็บรักษาความเป็นวิชาชีพของตัวเองไม่ให้มัวหมอง เพราะไม่เช่นนั้นสังคมจะมองครูที่กระทำผิดในเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องปกติและถูกเพิกเฉยต่อไป โดยไม่มีการแก้ไขให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม"
คณบดีฯ กล่าวาอีกว่า ดังนั้นเรื่องนี้เราต้องช่วยกัน 2 ทางทั้งสถาบันผลิตครูจะต้องบ่มเพาะการเรียนของนิสิตนักศึกษาตาม 7 ข้อหลักของการมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู และเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาจนเข้าสู่กระบวนการเข้ามาสู่เส้นทางวิชาชีพครูจะต้องปรับมาตรฐานการปฏิบัติตนขึ้น ซึ่งหากทำได้เชื่อว่าคนที่ไม่ดีจะไม่กล้าเข้าสู่วิชาชีพครู เนื่องจากมีมาตรฐานและศักดิ์ศรีที่ต้องตระหนักในวิชาชีพอยู่ตลอดเวลา

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 18:35 น. 
  • 19 ต.ค. 2563 เวลา 22:07 น.
  • 2,920

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^