สรุปประเด็นการมอบนโยบาย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 18 กรกฏาคม 2562
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
สรุปประเด็นการมอบนโยบายนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ 18 กรกฏาคม 2562
ณ ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์มีเป้าหมาย การพัฒนาที่สำคัญ เพื่อพัฒนาทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่งและมี คุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มี ทักษะสื่อสาร
ภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัย รักการเรียนรู้และ
การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มี ทักษะสูง เป็น
นวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่ และอื่นๆ โดยมีสัมมาชีพตาม ความถนัดของตนเอง
ตัวชี้วัด ประกอบด้วย (1) การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความ เป็นอยู่ที่ดีของคนไทย (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ (3) การพัฒนาสังคมและครอบครัวไทย โดยประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้าน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยประเด็น ได้แก่
-21st Century Skills
4 Cs
Digital Literacy
STEM
-English
1. การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้สถานบันทางสังคม ร่วมปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่พึ่งประสงค์ โดย (1) การปลูกฝังค่านิยมและ วัฒนธรรมผ่านการเลี้ยงดูในครอบครัว (2) การบูรณาการเรื่องความซื่อสัตย์ วินัย คุณธรรม จริยธรรม ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา (3) การสร้าง ความเข้มแข็งในสถาบันทางศาสนา (4) การปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมโดยใช้
ชุมชนเป็นฐาน (5) การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมที่พึ่งประสงค์จากภาคธุรกิจ
(6) การใช้สื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนาธรรมของคน ไทยในสังคม และ (7) การส่งเสริมให้คนไทยมีจิตสาธารณะและมีความรับผิดชอบ ต่อส่วนรวม
-Lifelong Learning
-Re-Skills
-Up-Skills
2. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต มุ่งเน้นการพัฒนาเชิง คุณภาพ ในทุกช่วงวัย ประกอบด้วย (1) ช่วงการตั้งครรภ์/ปฐมวัย เน้นการ เตรียมความพร้อมให้แกพ่อแม่ก่อนการตั้งครรภ์ (2) ช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น ปลูกฝัง ความเป็นคนดี มีวินัยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 (3) ช่วงวัยแรงงาน ยกระดับศักยภาพ ทักษะและสมรรถนะแรงงานสอดคล้องกับ
ความต้องการของตลาด และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับประเทศไทย
-“ครูสอน” เป็น “โค้ช” หรือ ผู้อำนวยการเรียนรู้ ให้กับเด็ก
-E-learning/Teaching Resources Platform
3. ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงใน
ศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา
โดย (1) การป รับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับ
ศตวรรษที่ 21 (2) การเปลี่ยนโฉม บทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่ (3) การเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบ บริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภท (4) การพัฒนา ระบบ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (5) การสร้างความตื่นตัวให้คนไทยตระหนักถึง บทบาท ความรับผิดชอบ และการวางตำแหน่งของประเทศไทยในภูภาคเอเชีย อาคเนย์และประชาคมโลก (6) การวางพื้นฐานระบบรองรับ การเรียนรู้โดยใช้
ดิจิทัลแพลตฟอร์ม และ (7) การสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการ ระดับนานาชาติ
4. การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย โดย (1) การ พัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญาผ่านครอบครัว ระบบสถานศึกษา สภาพแวดล้อม รวมทั้งสื่อตั้งแต่ระดับปฐมวัย (2) การสร้างเส้นทางอาชีพ สภาพแวดล้อมการ ทำงาน และระบบสนับสนุน ที่เหมาะสมสำหรับผู้มีความสามรถพิเศษผ่านกลไกล ต่างๆ และ (3) การดึงดูดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่างชาติและคนไทยที่มีความสามารถใน ต่างประเทศให้มาสร้างและเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับต่างประเทศ
ด้วยวิธีที่ต่างกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายหลัก
ที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580
การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21
- สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ในระบบดิจิตอล
- ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ มุ่งสู่ระบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์
โปรแกรมเมอร์ และภาษาต่างประเทศ
- ส่งเสริมการเรียนคอมพิวเตอร์ (Coding) ตั้งแต่ระบบปฐมศึกษา
- การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพในทุกตำบล
- ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ของสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ของ สถาบันการศึกษาสู่สาธารณะ
- เชื่อมโยงระบบการศึกษากับภาคปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจ
- สร้างนักวิจัยใหม่และนวัตกรเพื่อเพิ่มศักยภาพและนวัตกรรมของประเทศ
- สร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสื่อออนไลน์และโครงข่ายสังคมออนไลน์ของไทย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบในเชิงสังคม ความปลอดภัย อาชญากรรมไซเบอร์ และสามารถใช้ เทคโนโลยี
เป็นเครื่องมือในการกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง สร้างความสมานฉันท์ ความสามัคคีในสังคม
- ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต
สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 (สกลนคร)
ดาวน์โหลดรายละเอียด ไฟล์ PDF