มติก.ค.ศ. เห็นชอบหลักเกณฑ์ฯ คัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น แบ่งออกเป็น 4 กรณี
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
มติก.ค.ศ. เห็นชอบหลักเกณฑ์ฯ คัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีมีพิเศษ ใน 4 กรณีผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 3/2562 โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ. เป็นประธาน
- เห็นชอบเปิดสอบบรรจุฯ เข้ารับราชการตำแหน่งบรรณารักษ์ กศน.
- เห็นชอบหลักเกณฑ์ฯ ประเมินวิทยฐานะผู้บริหาร สช.อำเภอ/จังหวัด
- เห็นชอบหลักเกณฑ์ฯ คัดเลือกศึกษาธิการจังหวัด/รองศึกษาธิการจังหวัด
- เห็นชอบแบบบันทึกการประเมิน และแบบประเมินผลการปฏิบัติงานทุกสายงาน
- เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ฯ คัดเลือก ผอ./รอง ผอ.สถานศึกษา
- เห็นชอบหลักเกณฑ์ฯ คัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น
- เห็นชอบมาตรฐานตำแหน่งคณาจารย์ในสถาบันการอาชีวศึกษา
เห็นชอบหลักเกณฑ์ฯ คัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น
ที่ประชุมเห็นชอบหลักการ ในการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ (ตามมาตรา 50) ซึ่งต้องเป็นกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่สามารถดำเนินการสอบแข่งขันได้ หรือการสอบแข่งขันอาจทำให้ไม่ได้บุคคลต้องตามประสงค์ของทางราชการ โดยให้ส่วนราชการเสนอเหตุผลความจำเป็นในการคัดเลือกเป็นกรณีพิเศษให้ ก.ค.ศ. พิจารณา
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบในหลักการการวางกรอบแนวทางการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ใน 4 กรณี ได้แก่
1) กรณีมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เช่น ครม.อนุมัติให้นักเรียนได้รับทุนจากโครงการสำคัญและต้องบรรจุเป็นข้าราชการครู เป็นต้น
2) กรณีมีสัญญาผูกพันตามโครงการพิเศษ/นักเรียนทุน
3) กรณีบรรจุในพื้นที่เกาะบนภูเขาสูง เสี่ยงภัย หรือพื้นที่พิเศษ หรือการบรรจุและแต่งตั้งในสถานศึกษาที่มีลักษณะพิเศษตามที่ส่วนราชการกำหนดและ
4) กรณีความจำเป็นพิเศษอื่นกศจ./อ.ก.ค.ศ.อนุมัติ
ทั้งนี้ที่ประชุมหารือในหลักเกณฑ์นี้นาน เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อโต้แย้งหลายประการ เช่น พื้นที่ภูเขาสูงต้องระบุความสูงของภูเขาด้วยว่าสูงเท่าไหร่ และยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าหลักเกณฑ์จะเปิดทางให้มีการวิ่งเต้นบรรจุคนของตัวเองเข้าสู่ตำแหน่งได้ ซึ่งตนคิดว่าไม่ต้องกังวล เพราะการดำเนินการเรื่องนี้ทำในรูปแบบองค์คณะที่เป็นคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) อีกทั้งสังคมยังสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ (อ้างอิงจาก นสพ.ไทยโพสต์ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:33 น.)
อ่านต่อได้ไที่ : กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ