LASTEST NEWS

27 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 27 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 ก.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 183 อัตรา รายงานตัวผ่านระบบออนไลน์ 17 ต.ค.2567 26 ก.ย. 2567ก.ค.ศ.เห็นชอบ ปรับปรุงการเข้าสู่ตำแหน่งสายงานบริหารสถานศึกษา ต้องเป็นรองผู้อำนวยการฯ มาก่อน และควรมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ 26 ก.ย. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2567 25 ก.ย. 2567สพม.นนทบุรี เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 13 (บัญชีปี 2566) จำนวน 9 วิชาเอก จำนวน 24 อัตรา - รายงานตัว 2 ต.ค.2567 25 ก.ย. 2567ลิงก์ประกาศผลสอบ ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านเข้าค่าย 1 โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ สอวน. ประจำปีการศึกษา 2567 วันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 16.00 น.  25 ก.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6005 ลงวันที่ 24 กันยายน 2567 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 24 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดสุทธิวราราม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาแนะแนว เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 28 ตุลาคม 2567 24 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดเขาดิน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 25 กันยายน พ.ศ.2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

"พ.ร.บ.การศึกษาชาติ"สกัดเด็กเรียนพิเศษ มีข้อกำหนดห้ามออกข้อสอบเกินเนื้อหาที่เรียน

  • 07 มี.ค. 2562 เวลา 10:21 น.
  • 5,917
"พ.ร.บ.การศึกษาชาติ"สกัดเด็กเรียนพิเศษ มีข้อกำหนดห้ามออกข้อสอบเกินเนื้อหาที่เรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"พ.ร.บ.การศึกษาชาติ"สกัดเด็กเรียนพิเศษ มีข้อกำหนดห้ามออกข้อสอบเกินเนื้อหาที่เรียน

6มี.ค.62- "หมอจิรุตม์ "แจงพ.ร.บ.การศึกษาชาติ มีข้อกำหนดห้ามออกข้อสอบการสอบเข้า หรือคัดเลือกเกินกว่าเนื้อหาที่เด็กเรียน ไม่อย่างนั้นจะถือว่าจงใจให้ผู้อื่นเสียหาย มีเหตุผลหวังให้เด็กไม่มุ่งเรื่องสอบอย่างเดียว โดยไม่ห่วงเรียน และยังไม่ต้องการให้มีการไปติวหรือเรียนพิเศษ สิ้นเปลืองเงินทอง 

    นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาแนวทางการจัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ  คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า  ทั้งนี้ในพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ ที่ผ่านความเห็นขอบของสนช.แล้ว ในส่วนของมาตราที่กำหนดวิธีการรับผู้เรียนเข้าศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ โดยการศึกษาระดับก่อนวัยเรียนและการศึกษาภาคบังคับ คือ อนุบาล 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ว่าต้องไม่ใช้วิธีการสอบแข่งขัน หรือ คัดเลือกด้วยวิธีการอื่นใด ถ้ามีหากมีผู้เข้าเรียนมากกว่าที่นั่งเรียนให้ใช้วิธีจับสลากนั้น แนวคิดของเรื่องนี้มาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแลให้สถานศึกษามีคุณภาพ และมีความเพียงพอ ทั้งนี้หากประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นและกระจุกตัวในสถานศึกษาบางแห่ง รัฐก็จะต้องยกระดับคุณภาพในสถานศึกษาส่วนอื่น เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการเข้าเรียน ไม่ใช่ว่าอยากเรียนก็มาสอบเข้า สอบได้ก็เรียน สอบไม่ได้ก็ไปเรียนที่อื่น เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของการศึกษาภาคบังคับ 


    ทั้งนี้ในส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กับ อุดมศึกษา การคัดเลือกต้องใช้ผลการเรียนหรือสิ่งที่ได้เรียนมาในช่วงระดับก่อนหน้าเท่านั้น การวัดผลคัดเลือกที่สูงกว่าที่กำหนดถือว่าเป็นการจงใจทำให้บุคคลอื่นเสียหายนั้น เรื่องนี้ที่กรรมการให้ความสำคัญ เพราะหากข้อสอบที่ใช้ในการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นต่อไปไม่สอดคล้องกับสมรรถนะในช่วงวัยก่อนหน้า เท่ากับว่าการจัดการเรียนการสอนก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะคนจะมุ่งไปในเรื่องการสอบเพียงอย่างเดียว ไม่ห่วงเรื่องเรียน ดังนั้นการออกข้อสอบที่ไม่ใช่เรื่องที่เรียนมาถือว่าจงใจที่จะทำให้ผู้อื่นเสียหาย เพราะจะต้องเสียเงินให้ลูกหลานไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม อีกทั้งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เพราะเด็กที่ผู้ปกครองสามารถสนับสนุนให้เรียนพิเศษได้ก็จะมีโอกาสมากกว่า ซึ่งการกำหนดในลักษณะนี้เป็นวางแนวทางไว้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และคณะกรรมการกฤษฎีกายังมองว่าหากไม่มีมุมที่ชี้โทษไว้บ้างคนก็อาจจะไม่ปฏิบัติตาม

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 23:45 น.  
  • 07 มี.ค. 2562 เวลา 10:21 น.
  • 5,917

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^