ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....เพิ่ม เงินวิทยฐานะ ในพรบ.แล้ว และยังคงมีใบประกอบวิชาชีพครูต่อไป
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....(รับฟังความเห็นตั้งแต่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป)จากที่มีร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... (รับฟังความเห็นตั้งแต่ ๒๕ กพ. - ๑๒ มีค. ๖๒) ฉบับเดิม มีรายละเอียดในมาตราต่างๆ ที่หลายท่านไม่เห็นด้วย และได้แสดงความคิดเห็นไปในเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา
ส่วนหนึ่งของมาตราต่างๆ ที่เป็นประเด็น เช่น เรื่องครูใหญ่, ผู้ช่วยครูใหญ่, เรื่องเงินวิทยฐานะ, การเปลี่ยนใบประกอบวิชาชีพ เป็นใบรับรองความเป็นครู
ดังนี้
มาตรา ๓๕ ในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการเรียนการสอนตามมาตรา ๘ (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ให้มีครูใหญ่คนหนึ่งรับผิดชอบในการบริหารสถานศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายและเป็นผู้บังคับบัญชาของบุคลากรในสถานศึกษาโดยจะให้มีผู้ช่วยในการบริหารตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วยก็ได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงเจ้าสังกัดกำหนด
ครูใหญ่ต้องทำหน้าที่ครูและผู้ช่วยครูใหญ่มาแล้วตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของครูกำหนด
ผู้ช่วยครูใหญ่ที่ทำหน้าที่ช่วยงานบริหารหรือธุรการอาจแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่เป็นครูก็ได้
มาตรา ๓๗ ให้ครูใหญ่ ผู้ช่วยครูใหญ่ และครูได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนอื่นตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ครูใหญ่ ผู้ช่วยครูใหญ่ และครูอาจมีระดับตำแหน่งเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่กฎหมายกำหนด
ครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่อาจมีชื่อตำแหน่งเรียกเป็นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกำหนดได้
มาตรา ๓๘ ให้มีองค์กรของครู เรียกว่า “คุรุสภา” มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการออกใบรับรองความเป็นครู
พักใช้หรือเพิกถอนใบรับรองความเป็นครู ดูแล ส่งเสริมช่วยเหลือด้านสวัสดิการ และประโยชน์อื่นใด
รวมตลอดทั้งการพัฒนาครูให้สอดคล้องกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒และหน้าที่อื่นที่จะยังประโยชน์ต่อครู
การจัดตั้ง การเป็นสมาชิก การบริหารและการดำเนินการของคุรุสภาตามวรรคหนึ่ง และหน้าที่และอำนาจอื่นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
หลังจากนั้น ก็ได้มีการเผยแพร่ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....(รับฟังความเห็นตั้งแต่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป)
โดยรายละเอียดได้ระบุในส่วนของ เงินวิทยฐานะ เพิ่มเติม
ท่านใดที่ต้องการแสดงความคิดเห็น ให้ไปแสดงความคิดเห็นที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา โดยเข้าไปที่ลิงค์นี้ :: คลิก
ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา