เปิดรายชื่อ 98 สาขาขาดแคลน ที่ สอศ.ให้สอบบรรจุครูผู้ช่วยได้ โดยไม่ต้องมีวุฒิครู
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
เปิดรายชื่อ 98 สาขาขาดแคลน ที่ สอศ.ให้สอบบรรจุครูผู้ช่วยได้ โดยไม่ต้องมีวุฒิครูกรณีที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้ กมว. สามารถออกประกาศให้คนที่จะเป็นครูช่างในอนาคต โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูอาชีวศึกษาวิชาช่าง
จะเห็นได้ว่า รายชื่อวิชาเอกขาดแคลนตามที่เคยขอรับรองมานั้น ไม่มีการเปิดสอนในหลักสูตรทางการศึกษา หรือเปิดบางสาขาแต่ก็น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อบุคลากรของ สอศ. ที่มีวิทยาลัยอาชีวะทั่วประเทศ
ดังนั้น เพื่อช่วยให้ สอศ. สาขาจัดหาบุคลากรได้ จึงมีกรณีดังกล่าว แต่กระนั้นก็ดี ย่อมมีกระบวนการพัฒนาครูสาขาขาดแคลนต่อไปเพื่อให้ได้มาตรฐานวิชาชีพที่กำหนด
รายชื่อสาขาขาดแคลนเดิมที่ สอศ. เคยขอและหมดอายุไปแล้ว มีดังนี้
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
1) สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
2) ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3) ไฟฟ้ากำลัง
4) โทรคมนาคม
5) แมคคาทรอนิกส์
6) เครื่องวัดและควบคุม
7) เทคนิคอุตสาหกรรม
8) เทคนิคการผลิต
9) ช่างกลโรงงาน
10) เขียนแบบเครื่องกล
11) เครื่องกล
12) เครื่องมือและซ่อมบำรุง
13) ช่างเชื่อมโลหะ/เทคนิคโลหะ
14) แม่พิมพ์โลหะ
15) แม่พิมพ์พลาสติก
16) ช่างยนต์
17) ช่างก่อสร้าง
18) โยธา
19) ช่างสำรวจ
20) สถาปัตยกรรม/มัณฑนศิลป์/ออกแบบตกแต่ง
21) อุตสาหกรรมเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน
22) อุตสาหกรรมต่อเรือ
23) พาณิชย์นาวี
24) การจัดการโลจิสติกส์
25) อุตสาหกรรมยาง
26) เทคโนโลยียางและโพลิเมอร์
27) ปิโตรเคมี
28) การพิมพ์
29) การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย
30) การขุดเจาะน้ำมัน
31) เทคโนโลยีแสงและเสียง
32) ปิโตรเลียม
33) เทคนิคพลังงาน
34) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
35) ช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์
36) สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
37) สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
38) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
39) การท่องเที่ยว
40) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประเภทวิชาพณิชยกรรม
41) สาขาวิชาเลขานุการ
42) การจัดการธุรกิจ
43) การจัดการสำนักงาน
44) การตลาด
45) การบัญชี
46) บริหารธุรกิจและพณิชยการ
47) โลจิสติกส์
48) คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
49) ธุรกิจค้าปลีก
50) การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
51) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
52) สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
53) เสื้อผ้าสำเร็จรูป
54) เคมีสิ่งทอ
ประเภทวิชาเกษตรศาสตร์
55) สาขาวิชาเกษตรอุตสาหกรรม
56) ช่างกลเกษตร
57) เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร
58) เทคโนโลยีภูมิทัศน์
59) ผลิตภัณฑ์ยาง
60) พืชศาสตร์
61) สัตว์ศาสตร์
62) พืชไร่
63) ปฐพีวิทยา
ประเภทวิชาการประมง
64) สาขาวิชาการควบคุมเครื่องจักร(เรือประมง)
65) ประมงทะเล
66) เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
67) แปรรูปสัตว์น้ำ
68) อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
ประเภทวิชาคหกรรม
69) สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์
70) คหกรรมศาสตร์
71) เทคโนโลยีการออกแบบเครื่องแต่งกาย
72) เทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย
73) แฟชั่นและสิ่งทอ
74) สปาและความงาม
75) เสริมสวย(เทคโนโลยีความงาม)
ประเภทวิชาศิลปกรรม
76) สาขาวิชาวิจิตรศิลป์
77) ศิลปกรรม
78) เซรามิค/เทคโนโลยีเครื่องเคลือบดินเผา
79) ศิลปหัตถกรรม(รูปพรรณและเครื่องสาน)
80) การออกแบบเครื่องประดับและอัญมณี
81) ช่างทองหลวง
82) การออกแบบ
83) คอมพิวเตอร์กราฟิกส์
84) คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
85) การถ่ายภาพและวิดีทัศน์
86) เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
สาขาวิชาขาดแคลนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
เสนอเพิ่มเติมอีก 12 สาขา ได้แก่
87) นิติศาสตร์
88) อาหารและโภชนาการ/โภชนาการชุมชน
89) การโรงแรม/การโรงแรมและบริการ/ธุรกิจโรงแรม
90) เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
91) เคมีอุตสาหกรรม
92) วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
93) วิศวกรรมพลังงาน/พลังงานทดแทน
94) เทคโนโลยีระบบราง/วิศวกรรมขนส่งระบบราง
95) เทคโนโลยีอุตสาหกรรมบันเทิง/แอนนิเมชั่น
96) การตลาดดิจิตอล
97) อุตสาหกรรมศิลป์ และ
98) ช่างเครื่องเรือนและตกแต่ง
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กคุณณภัค ถิรกุลยศมาดี วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562