LASTEST NEWS

20 ม.ค. 2568สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รับสมัครพนักงานราชการ 32 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.- บาท 20 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 ม.ค. 2568สพป.เชียงราย เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 21 มกราคม 2568 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 20 ม.ค. 2568สพฐ. เน้นย้ำความปลอดภัยเด็กนักเรียน ป้องกันแก๊งลักเด็กในสถานศึกษา 19 ม.ค. 2568โรงเรียนวัดราษฎร์ปุณณาราม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกอนุบาลหรือเอกปฐมวัย หรือเอกทั่วไป เงินเดือน 8,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 27 มกราคม 2568 19 ม.ค. 2568โรงเรียนวัชรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 24 มกราคม 2568 18 ม.ค. 2568"เสมา1" ยืนยันการสอบโอเน็ตมีความจำเป็นแต่ไม่บังคับ "ธนุ" ขานรับไปดำเนินการ 18 ม.ค. 2568สพฐ.เสนอ กพฐ.แก้ไขระเบียบปิด-เปิดภาคเรียน พ.ศ.2549 เลื่อนวันปิดภาคเรียน 18 ม.ค. 2568"สพฐ." เปิดผลสำรวจความคิดเห็น หนุนเลื่อนเปิดภาคเรียนจากเปิด 16 พ.ค.เป็น 1 พ.ค. 18 ม.ค. 2568ด่วน!! มาแล้ว รวมลิงก์อบรม Webinar AI 12 หลักสูตร วันที่ 18 มกราคม 2568 ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับเกียรติบัตร

ทดลองเลื่อนเงินเดือนร้อยละของขรก.ครู ในรร.ขนาดเล็ก (กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ) โดยใช้ฐานข้อมูลจริง

  • 07 ก.พ. 2562 เวลา 09:38 น.
  • 15,559
ทดลองเลื่อนเงินเดือนร้อยละของขรก.ครู ในรร.ขนาดเล็ก (กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ) โดยใช้ฐานข้อมูลจริง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ทดลองเลื่อนเงินเดือนร้อยละ
ของขรก.ครู ในรร.ขนาดเล็ก
(กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ)
โดยใช้ฐานข้อมูลจริง
บทความ โดย : คุณนภัทร อินทรุณ 



#ทดลองเลื่อนให้ดูว่าครูในโรงเรียนขนาดเล็กที่บอกว่าถ้าเลื่ิอนเป็นร้อยละ​ #อาจได้เลื่อนเงินเดือนน้อยลงจากที่เลื่อนเป็นขั้นว่าจริงหรือไม่
ทดลองให้ดู​ 3​ แบบเพื่อเปรียบเทียบกัน​ คือ​
1.เลื่อนโดยอิงจำนวนคน15%ตามระบบขั้น​
2.เลื่อนตามหลักการที่ให้จำแนกคนตามผลการประเมินเป็น5ระดับ​ และ
3.เลื่อนโดยอิงจากข้อมูลการเลื่อนร้อยละที่ผ่านมาของ​พลเรือนส่วนกลางและ​ 38ค.(2)ใน​ สพท.

#ข้อมูลจากตารางวิเคราะห์ได้ง่ายๆว่า
1.#ไม่ว่าจะบริหารแบบไหนก็ได้มากกว่า​0.5ขั้นเดิม​และได้มากกว่า​ 1.5ขั้นทั้งปีเกือบทุกคน​ (ติดลบแค่2-4คน)
2.​ #การบริหารวงเงินตามหลักการที่ให้มีคะแนนการประเมิน5ระดับ​ เป็นการบริหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดและกำหนด%เลื่อนได้สูงกว่าการบริหารแบบอื่น​ และมองเห็นความแตกต่างของคะแนนที่ได้กับ%ได้ชัดเจน​ (เรียกว่าการจำแนกคนตามผลงาน)
3.#การบริหารวงเงินในปัจจุบันของส่วนราชการส่วนใหญ่และ​สพท.​ เป็นแบบที่​ 3​ คือ​ มีแค่​ 2-3ระดับ​(จากที่​ ก.พ.กำหนดว่าอย่างน้อยต้อง​5ระดับ) คือประเมินดีเด่นเกือบทั้งหมด​ มีระดับดีมากบ้าง และระดับดีอาจไม่มีเลย​ จะเห็นว่าเม็ดเงินส่วนใหญ่ไปกองในระดับดีเด่น​ และในแต่ละคะแนนประเมินของระดับดีเด่น(ระดับอื่นก็เช่นกัน)​สามารถซอยเป็น%ย่อยได้ตามคะแนนที่ต่างกันได้อีกเช่นกัน​
 



#สรุปว่า..#การเลื่อนเงินเดือนร้อยละได้เลื่อนใกล้เคียงกับระบบขั้น​เมื่อเทียบกับ​การเลื่อน​ 0.5.และ​ 1.5​ขั้นทั้งปี​ แม้แต่ในโรงเรียนขนาดเล็ก​ (จากฐานข้อมูลโรงเรียนนี้)​ #ในภาพรวมอาจมีความแตกต่างกันไปขึ้นกับตัวแปรจำนวนครูและฐานเงินเดือนครูแต่ละคน​ แต่เชื่อว่าสามารถอ้างอิงตามหลักการนี้ได้
#สรุปจริงๆ​ #อย่าเพิ่งดีใจไปนี่คือการเปรียบเทียบระบบเท่านั้น
#ในบริบทจริงที่โหดร้าย​ ในส่วนราชการ/สพท.ไม่ได้มีแค่โรงเรียนเดียว​ แต่ละโรงไม่ได้มีครูจำนวนเท่ากัน​ และครูแต่ละคนเงินเดือนมากน้อยต่างกัน
#โรงเรียนใหญ่​ ครูมาก​ เงินเดือนเยอะ​ วงเงินใช้เลื่อนได้เยอะ​ ร้อยละเลื่อนก็จะสูง​ เงินเดือนแต่ละคนพุ่งฉิว​
#โรงเรียนเล็ก​ ครูน้อย​ เงินเดือนน้อย​ วงเงินเลื่อนน้อย​ ร้อยละเลื่อนก็น้อยตาม​ ก็นั่งแหงนมองเงินเดือนคนอื่นพุ่งไป

#สพฐ.จัดสรรวงเงินเลื่อนในภาพรวมให้​ สพท.​ สพท.เป็นคนจัดสรรวงเงินในภาพรวมเขตให้แต่ละโรงเรียน​ ถ้า​ สพท.จัดสรรและบริหารวงเงินบนพื้นฐานความโปร่งใสเป็นธรรมให้แก่ทุกโรงเรียนในเขตได้​ #ความเหลื่อมล้ำแตกต่างของการได้เลื่อนเงินเดือนแต่ละคนแต่ละรอบก็จะน้อย
#แต่ถ้า​ กศจ.หรือ​ สพท.​บริหารวงเงินโดยไม่เหลียวแลโรงเรียนเล็กที่เงินน้อยๆครูตัวน้อยๆนั่งทำงาน​ บริหารตามมีตามเกิด​ ก็เป็นกรรมของผู้ปฏิบัติไป

#ที่ไหนก็เหลื่อมล้ำเหมือนกัน​ แค่เลื่อนต่างกันคงไม่เป็นไร​ #เพราะครูยังมีเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนเพิ่มจากเงินเดือนทุกเดือน
#พลเรือนส่วนกลางอย่างเราและพี่น้อง38ค.(2)อีกหลายพันชีวิตในเขตมีแต่เงินเดือนเพียวๆ(แถมน้อยนิด) ยังไม่มีใครอดตายเลย​ #แค่หนี้สินเยอะขึ้นเท่านั้นเอง

#ขอบคุณพี่สาวจาก​ สพม.ที่ส่งข้อมูลจริงจากโรงเรียนในสังกัดมาให้วิเคราะห์เพื่อประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องนะคะ




#ข้อมูลจากตารางด้านบนวิเคราะห์ได้ง่ายๆว่า
1.ไม่ว่าจะบริหารแบบไหนก็ได้มากกว่า​0.5ขั้นเดิม​และได้มากกว่า​ 1.5ขั้นทั้งปีเกือบทุกคน​ (แบบที่​ 1​ติดลบ1.5ขั้นแค่​ 4​ คน)
2.แบบเดิม​ 11​ คน​ ดีเด่นได้​ 1ขั้น​(15%) ได้แค่​ 2คน​ แต่การประเมินร้อยละจำนวนคนได้ดีเด่นเป็นไปตามคะแนนการประเมินจากผู้ประเมินไม่ได้กำจัดโควตาและจำนวนคน​ เดิมอันดับเดียวกัน​ เงินเดือนเท่ากัน​ คะแนนตั้งแต่​ 60​ -89​ได้​ 0.5ขั้นเท่ากัน​ แต่เป็นร้อยละ% แปรผันโดยตรงกับคะแนนประเมิน​



#ข้อมูลจากตารางด้านบนวิเคราะห์ได้ง่ายๆว่า
1.ไม่ว่าจะบริหารแบบไหนก็ได้มากกว่า​0.5ขั้นเดิม​และได้มากกว่า​ 1.5ขั้นทั้งปีเกือบทุกคน​ (ติดลบ1.5ขั้นแค่2​คน)
2.​ การบริหารวงเงินตามหลักการที่ให้มีคะแนนการประเมิน5ระดับ​ เป็นการบริหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดและกำหนด%เลื่อนได้สูงกว่าการบริหารแบบอื่น​ และมองเห็นความแตกต่างของคะแนนที่ได้กับ%ได้ชัดเจน​ (เรียกว่าการจำแนกคนตามผลงาน)
3.ข้อเท็จจริงยังไม่เคยเห็นการประเมินลักษณะแบบนี้ใน​ สพฐ.ส่วนกลางและสพท.​(เขตไหนมีเอามาโชว์หน่อย)​


#ข้อมูลจากตารางด้านบนวิเคราะห์ได้ง่ายๆว่า
1.ไม่ว่าจะบริหารแบบไหนก็ได้มากกว่า​0.5ขั้นเดิม​และได้มากกว่า​ 1.5ขั้นทั้งปีเกือบทุกคน​ (ติดลบ1.5ขั้นแค่3คน)
2.การบริหารวงเงินในปัจจุบันของส่วนราชการส่วนใหญ่​ และ​ สพท.​ เป็นแบบที่​ 3​ คือ​ มีผลการประเมินแค่​ 2​ - 3ระดับ​(จากที่​ ก.พ.กำหนดว่าอย่างน้อยต้อง​5ระดับ) คือประเมินดีเด่นเกือบทั้งหมด​(แถมมีระดับดีเด่น​ 1 2​ 3​ 4​ ฯลฯด้วย)​ มีระดับดีมากบ้าง และระดับดีอาจไม่มีเลย​
3.จะเห็นว่าเม็ดเงินส่วนใหญ่ไปกองในระดับดีเด่น​ (ทำให้%สูงสุดกำหนดได้น้อยลงกว่าการบริหารแบบอิงหลักเกณฑ์ตามแบบที่​ 2)​
4.ในแต่ละคะแนนประเมินของระดับดีเด่น(ระดับอื่นก็เช่นกัน)​สามารถซอยเป็น%ย่อยได้ตามคะแนนที่ต่างกันได้อีกเช่นกัน​


ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กคุณนภัทร อินทรุณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562

 
  • 07 ก.พ. 2562 เวลา 09:38 น.
  • 15,559

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^