LASTEST NEWS

20 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 ม.ค. 2568สพป.เชียงราย เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 21 มกราคม 2568 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 20 ม.ค. 2568สพฐ. เน้นย้ำความปลอดภัยเด็กนักเรียน ป้องกันแก๊งลักเด็กในสถานศึกษา 19 ม.ค. 2568โรงเรียนวัดราษฎร์ปุณณาราม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกอนุบาลหรือเอกปฐมวัย หรือเอกทั่วไป เงินเดือน 8,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 27 มกราคม 2568 19 ม.ค. 2568โรงเรียนวัชรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 24 มกราคม 2568 18 ม.ค. 2568"เสมา1" ยืนยันการสอบโอเน็ตมีความจำเป็นแต่ไม่บังคับ "ธนุ" ขานรับไปดำเนินการ 18 ม.ค. 2568สพฐ.เสนอ กพฐ.แก้ไขระเบียบปิด-เปิดภาคเรียน พ.ศ.2549 เลื่อนวันปิดภาคเรียน 18 ม.ค. 2568"สพฐ." เปิดผลสำรวจความคิดเห็น หนุนเลื่อนเปิดภาคเรียนจากเปิด 16 พ.ค.เป็น 1 พ.ค. 18 ม.ค. 2568ด่วน!! มาแล้ว รวมลิงก์อบรม Webinar AI 12 หลักสูตร วันที่ 18 มกราคม 2568 ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับเกียรติบัตร 18 ม.ค. 2568ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ การ​ลงทะเบียนเพื่อ"รับเกียรติบัตร" เข้าร่วมอบรม หลักสูตรพัฒนาทักษะดิจิทัล AI 12 หลักสูตร 

ชงทบทวนป.บัณฑิตกลับไปใช้โรงเรียนเป็นฐาน

  • 24 ธ.ค. 2561 เวลา 10:33 น.
  • 6,018
ชงทบทวนป.บัณฑิตกลับไปใช้โรงเรียนเป็นฐาน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ชงทบทวนป.บัณฑิตกลับไปใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ชง ทบทวนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูกลับไปใช้โรงเรียนเป็นฐาน

วันนี้ (24 ธ.ค.) รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธุ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) คุรุสภา เปิดเผยว่า ตนมีแนวคิดจะทบทวนเรื่องการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) ให้แก่ผู้ไม่มีวุฒิทางครู ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่ไม่ได้จบหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และมาเป็นครูสอนในสถานศึกษาจะต้องมาเรียน ป.บัณฑิต เพื่อให้ได้มีคุณสมบัติในการรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่การเรียนต้องใช้เงินเป็นหมื่นบาทและใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 2-3 วัน ดังนั้นตนจะเสนอต่อที่ประชุม กมว.ทบทวนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ป.บัณฑิต จากการที่สถาบันการศึกษาจัดการเรียนการสอนแล้วเปิดให้ผู้ที่ต้องการได้รับวุฒิครูมาสมัครเรียน ก็เป็นให้มหาวิทยาลัยทำความร่วมมือกับสถานศึกษาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ในลักษณะพาร์ทเนอร์ชิปสคูล โดยทางโรงเรียนจัดส่งครูที่ไม่มีวุฒิครูมาเรียนป.บัณฑิตในมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้จะเป็นเหมือนโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย โดยที่มหาวิทยาลัยไม่ต้องไปตั้งโรงเรียนสาธิตเอง อีกทั้งมหาวิทยาลัยก็มีโรงเรียนให้นิสิต นักศึกษาครูไปฝึกสอนด้วย ไม่ต้องให้เด็กไปหาโรงเรียนฝึกสอนเอง


รศ.ดร.เอกชัย กล่าวต่อไปว่า ในเร็วๆนี้ ตนจะเดินสายขายไอเดียให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ  โดย มรภ.ไปคุยกับโรงเรียนในเขตพื้นที่ที่ มรภ.ดูแลอยู่อาจจะ 20-30 โรงเรียน แล้วทำข้อตกลงเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียน หากโรงเรียนใดมีครูที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูก็ให้ส่งมาเรียน ป.บัณทิตในรายวิชาที่ มรภ.เปิดสอนให้แก่เด็กปกติ อาจมาเรียนสัปดาห์ละ 1-2 ชั่วโมงและสามารถสะสมหน่วยกิตได้ไม่จำเป็นต้องเรียนจบในปีเดียว ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ครูไม่ต้องเสียเงินเรียนเป็นหมื่นบาท และ มรภ.ก็สามารถส่งนักศึกษากระจายไปฝึกปฏิบัติการสอนกับโรงเรียนที่มีความร่วมมือกันได้ด้วย ซึ่งครูในโรงเรียนเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่นิสิต นักศึกษาครู หากทำได้จะเป็นการใช้โรงเรียนเป็นฐานที่แท้จริงและไม่ต้องลงทุนมาก

“ผมยังมีแนวคิดจะเสนอ กมว.ว่าผู้ที่จบวิชาเฉพาะ เช่น วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ที่เรียนหลักสูตร 4 ปี ให้สามารถสอบรับใบอนุญาตวิชาชีพครูร่วมกับเด็กหลักสูตรครู 4 ปีได้ด้วย ซึ่งถ้าหากผู้ที่เรียนวิชาเฉพาะสามารถสอบข้อสอบที่เกี่ยวกับความเป็นครูและผ่าน ก็ควรมีสิทธิ์ไปสอนในโรงเรียน โดยคุรุสภาจะให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั่วคราว 1 ปี และเมื่อสอนครบ 1 ปีจะให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เนื่องจากครบเงื่อนไขที่ระบุว่าต้องปฏิบัติการสอน 1 ปี แต่ทั้งนี้การสอบอาจจะมีข้อแตกต่างจากผู้ที่เรียนหลักสูตรครู 4 ปีที่มีการสอบ 2 รอบ คือ ช่วงชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 4 แต่สำหรับผู้ที่ไม่เรียนทางครูมาจะสอบเพียงครั้งเดียวและใช้ข้อสอบคนละชุดกับผู้ที่เรียนครูมา” รศ.ดร.เอกชัย กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม 2561 เวลา 07.00 น.
  • 24 ธ.ค. 2561 เวลา 10:33 น.
  • 6,018

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^