"หมอธี" ชงยุติบอร์ดคปภ.หวั่นใช้อำนาจเกิน
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
"หมอธี" ชงยุติบอร์ดคปภ.หวั่นใช้อำนาจเกินรมว.ศึกษาธิการ ถก ยุติบอร์ด คปภ.หวั่นใช้อำนาจไม่เหมาะสม หลังตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการปฎิรูปการศึกษาในภูมิภาคแต่ขณะนี้การปฎิรูปการศึกษาโดยเฉพาะการเกลี่ยอัตรากำลัง
วันนี้ (11 ธ.ค.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (คปภ.) ว่า ที่ประชุมได้ทำความเข้าใจเรื่องศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ที่ได้ปรับลดจาก 18 ภาค เหลือ 6 ภาค เพื่อให้สอดคล้องกับการตามแบ่งภูมิภาคบริหาราชการแผ่นดินของรัฐบาล พร้อมกับชี้แจงว่าผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งศึกษาธิการภาคจะไม่สามารถมีรถประจำตำแหน่งได้ เพราะไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนราชการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายปกติ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ตนยังได้ตั้งคำถามในการประชุมดังกล่าวด้วยว่า คปภ.ชุดนี้เป็นบอร์ดที่ดำเนินการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีมติตัดโอนย้ายข้าราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปอยู่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ซึ่งเป็นการเห็นชอบตามความเป็นของตำแหน่งดังกล่าวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรผิดปกติ แต่ทำให้หากในอนาคตคณะกรรมการชุดนี้ยังมีอำนาจอยู่ขณะที่สามารถกำหนดเรื่องงานบริหารบุคคลจะเป็นอย่างไร โดยที่ผ่านมาการมี คปภ.ก็เกิดขึ้นก็เพื่อการปฎิรูปการศึกษา เพื่อให้การกำหนดอำนาจของหน่วยงานใหม่ที่ตั้งขึ้นไม่ว่าจะเป็นศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)ในการเกลี่ยอัตรากำลังต่างๆ แต่ขณะนี้การเกลี่ยอัตรากำลังและการดำเนินการต่างๆของการขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษาสู่ภูมิภาคนิ่งแล้วและไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจ คปภ. ดังนั้นตนจึงมีคำถามในที่ประชุมว่ามีความเห็นอย่างไรที่จะให้อำนาจของคปภ.คงไว้แบบนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งตนจึงมอบหมายให้ที่ประชุมกลับไปทบทวนบทบาทและอำนาจของ คปภ.ชุดนี้ว่ายังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่
"ส่วนตัวผมมองว่าถึงเวลาแล้วที่อำนาจของ คปภ.ชุดนี้ควรจะจบได้แล้ว และกลับมาใช้กฎหมายตามปกติ แต่ตอนนี้ยังมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ.อยู่ ดังนั้นผมจึงได้หารือพร้อมกับสั่งการให้รวบรวมว่าคำสั่งมาตรา 44 ฉบับไหนที่ไม่มีความจำเป็นก็ให้นำมาพิจารณา เพื่อเสนอ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยกเลิกการใช้มาตรา 44 ของศธ.ที่ไม่จำเป็น เพราะรัฐบาลก็กำลังจะหมดวาระลงด้วยจึงขอให้ทบทวนไปพร้อมกันเลย ทั้งนี้ผมคิดว่าอำนาจที่มากเกินไปอาจทำให้วุ่นวายได้ ขณะเดียวกันผมก็ไม่ได้กังวลว่าพรรคการเมืองกำลังจะเข้ามา แต่กังวลหากมีใครเสนอให้เกลี่ยอัตรากำลังโยกย้ายใครในทางที่มิชอบก็อาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายและกระทบกับบุคคลนั้นได้" นพ.ธีระเกียรติ กล่าว
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 16.44 น.