LASTEST NEWS

20 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 ม.ค. 2568โรงเรียนวัดราษฎร์ปุณณาราม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกอนุบาลหรือเอกปฐมวัย หรือเอกทั่วไป เงินเดือน 8,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 27 มกราคม 2568 19 ม.ค. 2568โรงเรียนวัชรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 24 มกราคม 2568 18 ม.ค. 2568"เสมา1" ยืนยันการสอบโอเน็ตมีความจำเป็นแต่ไม่บังคับ "ธนุ" ขานรับไปดำเนินการ 18 ม.ค. 2568สพฐ.เสนอ กพฐ.แก้ไขระเบียบปิด-เปิดภาคเรียน พ.ศ.2549 เลื่อนวันปิดภาคเรียน 18 ม.ค. 2568"สพฐ." เปิดผลสำรวจความคิดเห็น หนุนเลื่อนเปิดภาคเรียนจากเปิด 16 พ.ค.เป็น 1 พ.ค. 18 ม.ค. 2568ด่วน!! มาแล้ว รวมลิงก์อบรม Webinar AI 12 หลักสูตร วันที่ 18 มกราคม 2568 ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับเกียรติบัตร 18 ม.ค. 2568ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ การ​ลงทะเบียนเพื่อ"รับเกียรติบัตร" เข้าร่วมอบรม หลักสูตรพัฒนาทักษะดิจิทัล AI 12 หลักสูตร  18 ม.ค. 2568สพฐ.แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนพนักงานราชการ (เพิ่มเติม) และค่าตอบแทนพนักงานราชการประจำศูนย์ประสานงานประจำเขตตรวจราชการ ระยะเวลา 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.2568) 18 ม.ค. 256828 คำถามยอดฮิตเรื่องระบบย้าย TRS ที่ครูต้องรู้!

ยอมถอย !!!พ.ร.บ.ปฐมวัย ไม่บังคับห้ามเด็กสอบเข้าป.1

  • 11 ธ.ค. 2561 เวลา 15:27 น.
  • 2,065
ยอมถอย !!!พ.ร.บ.ปฐมวัย ไม่บังคับห้ามเด็กสอบเข้าป.1

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ยอมถอย !!!พ.ร.บ.ปฐมวัย ไม่บังคับห้ามเด็กสอบเข้าป.1

11ธ.ค.61- คณะกก.อิสระ ฯ เตรียม เสนอ ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัยและร่างพ.ร.บ.เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เข้าครม.อีกรอบ 18 ธ.ค.นี้ “ดารณี” เผยยอมลดนิยามเด็กปฐมวัยจาก 8 ปีบริบูรณ์ เหลือ 6 ปีบริบูรณ์ พร้อมตัดเรื่องห้ามสอบเข้าป. 1 ปรับใหม่ให้คกก.นโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ คัดเลือกเด็กเข้าศึกษาต่อในระดับประถม ด้าน“หมอจรัส” ระบุกฤษฎีกา เตรียม พิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 14 ธ.ค.นี้

    นพ.จรัส สุวรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า ตามที่เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.... และร่างพ.ร.บ.เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.... ไปแล้วนั้น ขณะนี้ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยจะมีการนัดหารือในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ ทั้งนี้หากทางคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่มีข้อเสนอให้แก้ไขและเห็นชอบในหลักการตามที่ ครม.อนุมัติ ก็สามารถนำเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาได้ทันที และสำหรับ ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย และร่างพ.ร.บ.เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการส่งกลับไปให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกครั้ง เนื่องจากมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจากที่ ครม.อนุมัติในหลักการ เช่น ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย ก็จะมีการปรับในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการสอบเข้าเรียนต่อในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีการปรับให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย และร่างพ.ร.บ.เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผ่านการเห็นชอบจาก ครม.แล้วขั้นตอนต่อไปก็จะต้องส่งให้ สนช.พิจารณา

“ทั้งนี้ส่วนร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัยจะทันใช้ในปีการศึกษา 2562 หรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ สนช.ขณะนี้ในส่วนของการดำเนินการเรื่องเขตพื้นที่นวัตกรรม คณะกรรมการอิสระฯ ก็ได้มีการขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่แล้ว โดยยึดตามพ.ร.บ.เดิม แต่ว่าการมีการยกร่างงพ.ร.บ.เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะเป็นการยืนยันการดำเนินการในรูปแบบที่มีกฎหมายรองรับ”ประธานคกก.อิสระฯ กล่าว

ด้านนางสาวดารณี อุทัยรัตนกิจ รองประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมการเด็กเล็ก กล่าวว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้มีการเผยแพร่ทางเว็บไซค์ของคณะกรรมการอิสระฯ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยในส่วนที่มีการปรับแก้ไขได้มีการปรับเรื่องนิยามของคำว่าเด็กปฐมวัยที่เดิมกำหนดว่า เด็กปฐมวัยหมายถึงเด็กแรกเกิดจนถึง 8 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ในรวมถึงทารกในครรภ์มารดา ซึ่งทางคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าไม่สามารถระบุนิยามในลักษณะนี้ได้ เนื่องจากเวลาที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดายังไม่ได้ถือเป็นคนตามกฎหมาย อีกทั้งพ.ร.บ.ทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนิยามช่วงอายุของเด็กปฐมวัยถึงเพียง 6 ปีบริบูรณ์เท่านั้น ดังนั้นนิยามใหม่ในพ.ร.บ.ฉบับนี้จึงกำหนดเป็นเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงเด็กที่จะต้องได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา คือ รวมถึงเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 ปี แต่ไม่เคยเข้าศึกษาในโรงเรียน จะต้องเริ่มเรียนในระดับอนุบาล ส่วนการดูแลทารกในครรภ์นั้น มีการกำหนดให้หญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลคุ้มครองการพัฒนา

“นอกจากนี้ในส่วนของการตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้น หลายฝ่ายก็มองว่าขัดกับหลักการของรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้เกิดหน่วยงานใหม่ จึงปรับให้เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) เป็นเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และเพิ่มหน่วยงานที่ดูแลคณะกรรมการดังกล่าว ใน สกศ. แต่หลักการที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและอื่นๆ ยังคงอยู่เหมือนเดิม”รองประธานคณะอนุกรรมการเด็กเล็ก กล่าว

นางสาวดารณี กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ในส่วนของมาตราที่เกี่ยวข้องกับการสอบเข้าเรียนต่อในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าไม่สามารถประกาศห้ามได้ เพราะเมื่อมีการเขียนห้ามก็ต้องมีบทลงโทษส่งผลถึงภาคปฏิบัติที่ปฏิบัติยาก อีกทั้งยังวิธีการต่างๆ ก็มีความหลากหลาย ดังนั้นจึงปรับใหม่ว่าให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ คัดเลือกเด็กเข้าศึกษาต่อในระดับประถมศึกษา ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น อีกทั้งในพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้มีการระบุเรื่องการจัดการดูแลพัฒนา การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยว่าให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้อง โดยที่ไม่เป็นการแข่งขันระหว่างเด็ก อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะนำร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.... และร่างพ.ร.บ.เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.... เข้าพิจารณาในที่ประชุม ครม.ได้ภายในวันที่ 18 ธันวาคมนี้

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08:38 น. 
  • 11 ธ.ค. 2561 เวลา 15:27 น.
  • 2,065

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^