LASTEST NEWS

18 ม.ค. 2568"เสมา1" ยืนยันการสอบโอเน็ตมีความจำเป็นแต่ไม่บังคับ "ธนุ" ขานรับไปดำเนินการ 18 ม.ค. 2568สพฐ.เสนอ กพฐ.แก้ไขระเบียบปิด-เปิดภาคเรียน พ.ศ.2549 เลื่อนวันปิดภาคเรียน 18 ม.ค. 2568"สพฐ." เปิดผลสำรวจความคิดเห็น หนุนเลื่อนเปิดภาคเรียนจากเปิด 16 พ.ค.เป็น 1 พ.ค. 18 ม.ค. 2568ด่วน!! มาแล้ว รวมลิงก์อบรม Webinar AI 12 หลักสูตร วันที่ 18 มกราคม 2568 ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับเกียรติบัตร 18 ม.ค. 2568ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ การ​ลงทะเบียนเพื่อ"รับเกียรติบัตร" เข้าร่วมอบรม หลักสูตรพัฒนาทักษะดิจิทัล AI 12 หลักสูตร  18 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 ม.ค. 2568สพฐ.แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนพนักงานราชการ (เพิ่มเติม) และค่าตอบแทนพนักงานราชการประจำศูนย์ประสานงานประจำเขตตรวจราชการ ระยะเวลา 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.2568) 18 ม.ค. 256828 คำถามยอดฮิตเรื่องระบบย้าย TRS ที่ครูต้องรู้! 17 ม.ค. 2568สพป.สระแก้ว เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 30 อัตรา - รายงานตัว 27 มกราคม 2567 17 ม.ค. 256813 ข้อดีของการหยุดพูด

ศธ.ไม่ปรับหลักสูตร เน้น นร.ลงมือทำ ช่วยเพิ่มขยับร่างกาย วาดฝัน “เดิน-ขี่จักรยาน” มา ร.ร.แบบญี่ปุ่น

  • 14 ก.ย. 2561 เวลา 07:32 น.
  • 2,520
ศธ.ไม่ปรับหลักสูตร เน้น นร.ลงมือทำ ช่วยเพิ่มขยับร่างกาย วาดฝัน “เดิน-ขี่จักรยาน” มา ร.ร.แบบญี่ปุ่น

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ศธ.ไม่ปรับหลักสูตร เน้น นร.ลงมือทำ ช่วยเพิ่มขยับร่างกาย วาดฝัน “เดิน-ขี่จักรยาน” มา ร.ร.แบบญี่ปุ่น

ศธ.ชู Active Learning หนุนเพิ่มกิจกรรมทางกาย “นักเรียน” ยันไม่ต้องปรับหลักสูตรใหม่ ขอ “ครู” ออกแบบการสอนเน้นลงมือทำ เรียนรู้นอกห้อง ไม่ใช่แค่นั่งเรียนทฤษฎี หนุนมีเอกเซอร์ไซส์ 10-15 นาทีก่อนเรียนเช้า-บ่าย ทำกิจกรรมร่วมชุมชนโดยรอบ ตั้งเป้าเหมือนญี่ปุ่น ให้ นร.เดิน-ขี่จักรยานมา ร.ร. หากเส้นทางปลอดภัย

นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงการเดินหน้าตามแผนกิจกรรมทางกายระดับชาติ พ.ศ. 2561-2573 เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มวัยเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้น หลังพบกลุ่มเด็กและวัยรุ่นมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอน้อยที่สุด ว่า จริงๆ แล้ว ศธ.มีการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา มีกิจกรรมทางกายมาโดยตลอด ทั้งในแง่นโยบายและการออกระเบียบให้สถานศึกษาปฏิบัติ อย่างที่ผ่านมาก็จะมีการเดินเปลี่ยนห้องเรียน การมีชั่วโมงเรียนที่ให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย ทั้งพลศึกษา เกษตร ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด รวมไปถึงการมีชมรมต่างๆ เพียงแต่แผนดังกล่าวจะทำให้เกิดความชัดเจนและเข้มข้นขึ้น ซึ่งมองว่าไม่ต้องไปออกกฎระเบียบอะไรเพิ่มเติม แต่ต้องส่งเสริมให้สถานศึกษาเห็นความสำคัญของเรื่องเหล่านี้ และจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ ที่ให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น เช่น โรงเรียนอาจกำหนดให้มีการออกกำลังกาย 10-15 นาที ก่อนเข้าเรียนตอนเช้าและตอนบ่าย เพื่อให้เกิดความตื่นตัวในการเรียน นอกจากนี้ อาจจะต้องไปร่วมกับชุมชน โรงพยาบาล ศาสนสถานบริเวณโดยรอบ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น กีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ก็จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น

เมื่อถามว่า ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่หรือไม่ เพื่อให้เรียนในห้องน้อยลง เรียนรู้นอกห้องและมีกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น เหมือนการศึกษาประเทศญี่ปุ่น นางวัฒนาพร กล่าวว่า ในอนาคตเราก็อยากให้การศึกษาไทยเป็นไปเช่นนั้น แต่เรื่องของหลักสูตรการเรียนการสอนคงไม่ต้องปรับปรุงอะไร แต่สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ ครูต้องออกแบบการเรียนการสอนที่ไม่ใช่เน้นวิชาการ หรือการนั่งเรียนอยู่ภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ซึ่งวิชาไหนที่เป็นเรื่องทฤษฎีก็สอนในห้องไปแต่วิชาไหนที่สามารถประยุกต์ให้มีกิจกรรมเข้ามาได้ หรือทำให้เด็กได้ออกไปเรียนรู้ ไม่ต้องนั่งอยู่แต่ในห้องเรียนอย่างเดียว ตรงนี้ครูก็ต้องไปออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้อง ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้เด็กมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นได้ และเด็กไม่ต้องนั่งเรียนกันหนักเพียงอย่างเดียว

“ทุกวันนี้ครูก็เริ่มเข้าใจคอนเซ็ปต์เหล่านี้มากขึ้นแล้ว เพราะ ศธ.เราก็ขับเคลื่อนเรื่อง Active Learning มาประมาณ 2-3 ปี ครูก็เริ่มปรับตัวในการจัดการเรียนการสอนใหม่ รวมไปถึงเราเริ่มขับเคลื่อนไปสู่การเรียนการสอนที่เรียกว่า Play & Learn และ Learning by Doing และการลดชั่วโมงเรียนเพิ่มเวลารู้ ซึ่งมองว่าสามารถเข้ามาช่วยเรื่องกิจกรรมทางกายให้มากขึ้นได้ ตอนเช้าอาจจะเน้นทฤษฎี บ่ายไปเรียนอะไรที่ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหว ไปออกกิจกรรม ไปทำการทดลอง” นางวัฒนาพร กล่าว

นางวัฒนาพร กล่าวว่า นอกจากการจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมภายในสถานศึกษาแล้ว การเพิ่มกิจกรรมทางกายที่คิดว่าในอนาคตเราน่าจะทำ คือ การให้นักเรียนเดินหรือขี่จักรยานมาโรงเรียนแบบประเทศญี่ปุ่น แต่สิ่งสำคัญคือ เส้นทางมาโรงเรียนจะต้องปลอดภัยด้วย และยังต้องสร้างเข้าใจแก่ผู้ปกครอง ซึ่งทุกวันนี้ก็เข้าใจว่า ผู้ปกครองบางส่วนรักและห่วงลูกมาส่งถึงหน้าประตูโรงเรียน หากส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจ ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะออกนโยบายให้นักเรียนมาโรงเรียนเองด้วยการเดินหรือขี่จักรยาน ซึ่งหากสามารถขับเคลื่อนในเรื่องนี้ได้ นักเรียนจะมีกิจกรรมทางการเพิ่มขึ้นมาก

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่: 13 ก.ย. 2561 12:38 น.
  • 14 ก.ย. 2561 เวลา 07:32 น.
  • 2,520

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^