LASTEST NEWS

18 ม.ค. 2568ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ การ​ลงทะเบียนเพื่อ"รับเกียรติบัตร" เข้าร่วมอบรม หลักสูตรพัฒนาทักษะดิจิทัล AI 12 หลักสูตร  18 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 ม.ค. 2568สพฐ.แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนพนักงานราชการ (เพิ่มเติม) และค่าตอบแทนพนักงานราชการประจำศูนย์ประสานงานประจำเขตตรวจราชการ ระยะเวลา 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.2568) 18 ม.ค. 256828 คำถามยอดฮิตเรื่องระบบย้าย TRS ที่ครูต้องรู้! 17 ม.ค. 2568สพป.สระแก้ว เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 30 อัตรา - รายงานตัว 27 มกราคม 2567 17 ม.ค. 256813 ข้อดีของการหยุดพูด 17 ม.ค. 2568สำนักงาน สกร.จังหวัดนครราชสีมา รับสมัครพนักงานราชการครู และพนักงานราชการตำแหน่งอื่น ๆ รวม 17 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 3 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 17 ม.ค. 2568ลิงก์เว็บไซต์ เข้าระบบย้ายครู TRS แบบออนไลน์ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ล่าสุด ปี 2568 17 ม.ค. 2568เว็บไซต์ความรู้ เกี่ยวกับระบบ TRS /คลิป/อินโฟ/คู่มือ/หลักเกณฑ์/Q&A 16 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ)

อะไรๆ ก็ครู! 365 วัน "ใช้ครูมากไป" ฉุดการศึกษาไทยต่ำลง

  • 02 ก.ย. 2561 เวลา 14:22 น.
  • 10,833
อะไรๆ ก็ครู! 365 วัน "ใช้ครูมากไป" ฉุดการศึกษาไทยต่ำลง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

อะไรๆ ก็ครู! 365 วัน "ใช้ครูมากไป" ฉุดการศึกษาไทยต่ำลง

"ตารางชีวิตที่แสนจะวุ่นวาย" "ทำทุกอย่างสากกะเบือยันเรือรบ" "สอนยังไม่พอ ต้องไปอบรม ทำผลงานกันอีก" เรียกว่า 365 วันของครูแทบไม่มีวันหยุด เหล่านี้คือเสียงบ่นบนภาระอันหนักอึ้งของครูไทยที่วันๆ ต้องรับงานสารพัด ล่าสุดผุดแพลทฟอร์มออนไลน์ช่วยครู แบ่งปันเทคนิคการสอน หวังลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่พบตัวเลขสูงจังหวัดละ 70,000 คน!

"เป็นครู" ทำไมอะไรๆ ก็ครู

"ปิดเทอมเลยได้ไหม" คือคำพูดของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในจ.สมุทรปราการที่แม้ใจรักในวิชาชีพครูแต่บางครั้งก็รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เพราะลำพังงานสอนก็หนักเกินพอแล้ว ยังมีภาระงานนอกเหนือจากงานสอนมาดึงเวลาไปจากห้องเรียนจนแทบไม่มีวันหยุด "ครูไม่มีวันหยุด ต่อให้ป่วยแค่ไหน ก็ต้องตื่นมารับโทรศัพท์ผู้ปกครอง" ครูสาววัย 32 ปีระบายความอัดอั้น แต่ด้วยความเป็นครูจึงเลี่ยงที่จะปฏิเสธไม่ได้ 

 

เช่นเดียวกับครูโรงเรียนบางวิทยา จ.นครสวรรค์ "ครูอีฟ-พัชริยา ปานสิงห์" ครูใหม่ไฟแรงวัย 24 ปี บอกว่า ทุกวันนี้สอนคาบละ 50 นาที วันละ 3 คาบ สัปดาห์ละ 15 คาบ คิดเป็น 13 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แม้จะดูน้อยเมื่อเทียบกับครูบางคนที่ต้องสอน 20-30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่เวลาออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนยังคงไม่พอ ต้องอาศัยช่วงวันหยุดเสาร์ และอาทิตย์ในการคิด และออกแบบแผนการสอนต่างๆ

ไม่แปลกที่ปัญหานี้จะกลายเป็น "ปัญหาหนักอก" ของครูไทย โดยในแต่ละปีพบว่าครูมีภาระงานเป็นจำนวนมาก หน้าที่หลักคือการสอน ทำแผนการสอน การสอบ (ออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ให้คะแนน) จากมูลติดตามภาระงานสอนของครู จากการศึกษาของโครงการติดตามสภาวะการณ์ครูรายจังหวัด (Teacher Watch) โดยสถาบันรามจิตติ พบเฉลี่ยการสอน 22 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ครูแม่ฮ่องสอนครองแชมป์สอนหนักสุด รองลงมาคือสระแก้ว 27 และ 26 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามลำดับ 

ที่หนักไปกว่านั้น ครูไทยหลายโรงเรียนยังมีภาระหน้าที่อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการสอนเข้ามาเพิ่มอีก เช่น งานการเงิน งานธุรการของโรงเรียน และโครงการต่างๆ ที่โรงเรียนมอบหมายเพิ่มเติม เช่น งานตัวชี้วัด โครงการ/กิจกรรมประกวดแข่งขันต่างๆ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการสอนลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

มีข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้ทำการสำรวจตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี พบว่า ครูไทยถูกดึงเวลาจากการทำหน้าที่สอนให้ไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอนจนส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียน โดยได้ทำการสำรวจครูผู้ได้รับราวัลครูสอนดีจาก สสค. จำนวน 427 ตัวอย่างเมื่อปี 2557 พบว่า 

ใน 1 ปี มีจำนวนวันเปิดเรียนทั้งหมด 200 วัน ครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การจัดการเรียนการสอนเฉพาะวันธรรมถึง 84 วัน คิดเป็นร้อยละ 45 ของเวลาทั้งหมด ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก โดยกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การสอนที่ครูต้องใช้เวลาที่สุด 3 อันดับแรกโดยเฉลี่ย อันดับ 1 คือ การประเมินของหน่วยงานภายนอก 43 วัน อันดับ 2 คือการแข่งขันทางวิชาการ 29 วัน และอันดับ 3 คือการอบรมจากหน่วยงานภายนอก 10 วัน

ใช้ครูมากไป! เด็กไม่ฉลาด ชาติไม่เจริญ

แน่นอนว่า ปัญหาการใช้งานครูมากเกินไป ย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน ผลการศึกษาวิจัยขององค์กรเพื่อพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) พบว่า การสูญเสียเวลาของครูจากห้องเรียนเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน จากการศึกษาเวลาของครูที่ใช้ในห้องเรียนของ 5 ประเทศ ได้แก่ เอธิโอเปีย สาธารณรัฐกัวเตมาลา ฮอนดูรัส โมซัมบิก และเนปาล พบว่า เมื่อครูถูกดึงออกนอกห้องเรียนที่ไม่เกี่ยวกับการสอนมากกว่าร้อยละ 20-30 ของเวลาจัดการเรียนการสอนทั้งหมดจะมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมาก รวมไปถึงการเตรียมการสอนที่อาจไม่ได้คุณภาพตามมา

 

ปัจจุบันพบครูไทยเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ที่มีประสบการณ์สอน และให้ความสำคัญกับการเตรียมการสอนอย่างมีคุณภาพ ซึ่งครูเหล่านี้มักเป็นครูรุ่นใหม่ ใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว มีอายุ 23-35 ปี แต่ในขณะเดียวกันครูกลุ่มนี้พบว่าเทคนิคและแผนการสอนที่คิดขึ้นมานั้นกลับใช้ได้เพียงไม่กี่คาบเรียนที่ได้รับมอบหมายการสอน เนื่องจากครูส่วนใหญ่มีภาระหน้าที่หลายอย่างในโรงเรียนนอกเหนือจากการเรียนการสอน

ส่วนอีกหนึ่งปัญหาที่น่าตกใจคือ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำที่เกิดระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท โดยการศึกษาขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ประเทศไทยมีจำนวนเด็กด้อยโอกาสจากความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเฉลี่ยจังหวัดละ 70,000 คน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 12,000 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว


ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่: 1 ก.ย. 2561 19:41   ปรับปรุง: 1 ก.ย. 2561 19:47 น.
  • 02 ก.ย. 2561 เวลา 14:22 น.
  • 10,833

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^