LASTEST NEWS

17 ม.ค. 2568สพป.สระแก้ว เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 30 อัตรา - รายงานตัว 27 มกราคม 2567 17 ม.ค. 256813 ข้อดีของการหยุดพูด 17 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 17 ม.ค. 2568สำนักงาน สกร.จังหวัดนครราชสีมา รับสมัครพนักงานราชการครู และพนักงานราชการตำแหน่งอื่น ๆ รวม 17 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 3 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 17 ม.ค. 2568ลิงก์เว็บไซต์ เข้าระบบย้ายครู TRS แบบออนไลน์ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ล่าสุด ปี 2568 17 ม.ค. 2568เว็บไซต์ความรู้ เกี่ยวกับระบบ TRS /คลิป/อินโฟ/คู่มือ/หลักเกณฑ์/Q&A 16 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 14 ม.ค. 2568รร.ลงทะเบียน TRS แล้ว 26,038 แห่ง มีตำแหน่งว่างแค่ 1,691 แห่ง 14 ม.ค. 2568ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 1/2568 13 ม.ค. 2568โรงเรียนเพชรละครวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 12,000.- บาท  ตั้งแต่วันที่ 13 – 19 มกราคม 2568

ไม่ลดข้าราชการ เปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

  • 20 ส.ค. 2561 เวลา 15:37 น.
  • 3,393
ไม่ลดข้าราชการ เปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ไม่ลดข้าราชการ เปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล 

เปิดวิสัยทัศน์ "ปกรณ์ นิลประพันธ์" เลขาธิการ ก.พ.ร. คนใหม่ล่าสุด กับการทำงานยกเครื่องระบบราชการให้ทันสมัย

************
โดย...ปริญญา ชูเลขา องค์กรภาครัฐที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งในการนำพาการปฏิรูประบบราชการ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และในยุคเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลดิจิทัล

ปกรณ์ ตั้งเป้าว่าภารกิจแรกในการเป็นรัฐบาลดิจิทัล คือ จะต้องรื้อระบบตัวชี้วัดผลงานหรือความดีความชอบใหม่ โดยทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การทำงานต้องทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น ด้วยการยกเลิกระบบการทำงานแบบเดิมๆ

สำหรับตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicator : KPI จากเดิมที่ยึดกระบวนการทำงาน แต่ระบบใหม่จะเน้นผลสัมฤทธิ์ หรือ Outcome ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรม เช่น ภารกิจแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำหรือ ความยากจน เป้าหมายในปี

“ระบบใหม่จะต้องมีตัวชี้วัดให้เห็นชัดเจนว่าคนจนลดลงไปเท่าไรอย่างไร หรือประชาชนประกอบอาชีพสร้างรายได้ไปเท่าไรต่างหาก หรือภารกิจลดอุบัติเหตุของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ ต้องเลิกเอาตัวเลขหรือจำนวนคนตายมานำเสนอ

ขณะที่ภารกิจที่สองของ ก.พ.ร. คือ การบูรณาการฐานข้อมูลเดียวกันเพื่อนำไปสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government โดย ก.พ.ร.เป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือเรียกโดยย่อว่า ดีจีเอ เบื้องต้นการจะดำเนินการหรือนโยบายใดทาง ก.พ.ร.จะเริ่มปฏิบัติจนสำเร็จก่อน จากนั้นจึงนำไปขยายผลให้หน่วยราชการปฏิบัติตาม โดยเน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น นโยบายการลดใช้กระดาษ ในเรื่องการส่งหนังสือเวียนชี้แจง หรือเรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ต่อไปอาจใช้ระบบคิวอาร์โค้ดมาใช้แทนการเดินหนังสือ หรือข้อมูลบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน

ทั้งนี้ทุกหน่วยงานต้องมีฐานข้อมูลเชื่อมโยงกันโดยประชาชนไม่จำเป็นต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือทำเบียนบ้านมาจากบ้านเพื่อมายื่นคำร้องให้สิ้นเปลืองกระดาษ หรือคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายเดิมจะต้องส่งเอกสารประวัติและข้อมูลข้าราชการเป็นแฟ้ม ที่เรียกในภาษาราชการว่า กคช.7 เป็นเอกสารที่ต้องไปยื่นให้หน่วยงานต้นสังกัดด้วยตัวเองต่อไปอาจส่งผ่านอีเมลแทน ดังนั้นอนาคตรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เลขบัตรประชาชน 13 หลัก คือ กุญแจสำคัญในการให้ หรือ รับบริการภาครัฐทุกหน่วยงาน

“รัฐบาลดิจิทัล คือ การเชื่อมโยงข้อมูลกันและกัน เช่น เรื่องร้องเรียนการทำงานของหน่วยงานรัฐ ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หรือร้องทุกข์เรื่องทุจริต ระบบต้องมีการเชื่อมโยงกันได้ว่าเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามาแล้วไปอยู่ที่หน่วยงานไหน กรม หรือใครกำลังทำอยู่ หรือจะใช้เวลาเท่าไรในการชี้แจง ในทุกขั้นตอนต้องสามารถอธิบายหรือให้คำตอบแก่ประชาชนได้ ซึ่งระบบดังกล่าวอาจเป็นแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ โดยมีเลขรหัสบัตรประชาชนเพียงใบเดียวสามารถรับบริการได้ เหมือนกับที่เราใช้บริการขนส่งสินค้าของบริษัทเอกชน เพียงคีย์เลขส่งของก็สามารถรู้ได้เลยว่าของหรือสินค้าที่สั่งซื้อไป ตอนนี้ที่กำลังส่งอยู่ตรงไหนและจะมาถึงมือเราตอนกี่โมงหรือวันไหน” ปกรณ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม อยากสื่อสารถึงข้าราชการ 3 ล้านคนทั่วประเทศว่าการไปสู่รัฐบาลดิจิทัลไม่ได้ลดจำนวนข้าราชการ หรือลดอำนาจหน่วยงานภาครัฐลงแต่อย่างใด ทาง ก.พ.ร.ต้องการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชน อย่างเช่น นโยบายลดกระดาษ ประโยชน์ คือ ลดการทุจริต เพราะเหตุใดการขอใบอนุญาตหรืออนุมัติ ต้องสร้างภาระการลงนามเซ็นเอกสารเป็นตั้งๆ ที่ต้องผ่านหลายโต๊ะหรือหลายคนรับผิดชอบไปทำไมเพียงเพื่อได้ลายเซ็นลงบนเอกสาร

ระบบใหม่นี้เพียงคลิกเดียวสามารถรู้ได้ทันทีว่าเรื่องที่ขออนุญาตหรืออนุมัติได้ดำเนินการไปถึงไหนอย่างไร เรื่องนี้นับว่าสำคัญมากเพราะจะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นจากการใช้อำนาจหน้าที่ เพราะระบบ หรือเทคโนโลยีจะมาช่วยตรวจสอบและสร้างความโปร่งในการทำงานของภาครัฐ

เลขาธิการ กพร.อธิบายอีกว่า การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ก.พ.ร.จะเป็นเหมือน Government Lab นำร่องระบบใหม่ เช่น หลักการบริหารราชการ 76 จังหวัดกำหนดจำนวนรองผู้ว่าราชการจังหวัดตามขนาดของจังหวัดใหญ่ กลางและเล็ก 2,3, 4 หรือ 5 คนตามลำดับ ระบบใหม่ควรกำหนดตามภารกิจที่เห็นชัดเจน คือ จ.ภูเก็ต มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพียง 2 คน แต่กลับเป็นจังหวัดที่มีภารกิจมากมายสร้างรายได้เป็นอันดับหนึ่งในภาคใต้ จึงควรเพิ่มตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด 3-4 คน ดังนั้นระบบการบริหารแบบแท่งควรปรับเปลี่ยนให้เกิดการบูรณาการภายในและบริหารในแนวราบมากขึ้น


สำหรับตัวอย่างที่ ก.พ.ร.จะนำร่องให้เห็นเป็นรูปธรรม คือ ขณะนี้ ก.พ.ร.ได้รับมอบหมายภารกิจจำนวนมากการบริหารภายในองค์กรมี 10 หน่วยงาน ซึ่งบางภารกิจจำเป็นต้องเพิ่มกำลังคนและงาน ดังนั้นหัวหน้าหน่วยงานต้องชาญฉลาดในการคลี่กำลังคนจากหน่วยหนึ่งไปอีกหน่วยหนึ่ง เพื่อตอบสนองภารกิจใหม่ที่สำคัญกว่า ซึ่งแนวทางดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหม่ที่จะนำมาใช้ในระบบราชการ โดยให้หัวหน้าส่วนราชการออกเป็นคำสั่งหรือหนังสือเวียนภายใน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานได้

“ที่ผ่านมาการทำงานภายในไม่อาจบูรณาการได้ เพราะไม่ได้ใช้อำนาจภายในเพื่อให้เกิดความคล่องตัวจริงๆ เรามักจะอ้างว่าทำไม่ได้เพราะติดข้อกฎหมายโน้นนี่ ซึ่งเราควรเลิกใช้ระบบ One-size-fits-all ได้แล้ว ต้องคิดว่าจะเพิ่มผลงานและประสิทธิภาพได้อย่างไร” ปกรณ์ กล่าว

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญในการเป็นรัฐบาลดิจิทัล คือ ก.พ.ร.จะนำการปฏิรูปได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งใดที่ ก.พ.ร.ทำไม่ได้จะไม่ให้คนอื่นทำ เพราะ ก.พ.ร. คือ หน่วยงานนำการพัฒนาเพราะถ้าทำไม่ได้ย่อมไม่มีใครเชื่อถือ ดังนั้นบทบาท ก.พ.ร.ยุคใหม่จะเป็น “พี่เลี้ยง” ไม่ใช่ “คนสั่งการ” โดยจะเน้นการสร้างความร่วมมือ และขอยืนยันว่าระบบดิจิทัลหรือเทคโนโลยีเข้ามาจะไม่ทำให้คนล้นงานอย่างแน่นอน แต่เราจะนำไอทีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน

 
สร้างหลักประกัน หลังเกษียณอายุ
อีกภารกิจในตำแหน่งเลขาธิการ ก.พ.ร. "ปกรณ์" บอกว่า จะต้องการสร้างหลักประกันแก่ข้าราชการที่เกษียณอายุราชการไปแล้วต้องมั่นคง เพราะประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ชีวิตหลังเกษียณของเพื่อนพี่ๆน้องๆข้าราชการในอนาคตไม่อาจจะนั่งกินนอนกินบำเหน็จหรือบำนาญได้อีกแล้ว เพราะมูลค่าเงินจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆตามอัตราเงินเฟ้อ

ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เมื่อแก่ตัวลงไปร่างกายย่อมเสื่อมถอยและย่อมต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการรักษาพยาบาลทั้งการดูแลสุขภาพหรือยารักษาโรค หรือข้าราชการบางคนยังต้องแบกรับภาระเลี้ยงดูบุตรหลาน หรือภาระหนี้สินที่ยังใช้หนี้ไม่หมด เช่น บ้าน คอนโด หรือรถยนต์ เป็นต้น

ดังนั้นเงินเกษียณอายุราชการ บำเหน็จ หรือ บำนาญอาจไม่เพียงพอต่อการยังชีพ จึงจำเป็นที่ ก.พ.ร.ต้องหาวิธีการในการสร้างหลักประกันในชีวิตหลังเกษียณแก่เพื่อข้าราชการกว่า 3 ล้านคน ทาง ก.พ.ร.เตรียมจัดโครงการ อาทิ จะสร้างความรู้ด้านการเงินการออมพร้อมๆกับเสริมความรู้และทักษะการประกอบอาชีพหลังเกษียณอายุราชการด้วยเพื่อจะได้ไปประกอบอาชีพหรือหารายได้เลี้ยงตัวเองในช่วงเวลาที่เหลือ

“ผมไม่อยากเห็นเพื่อนชีวิตข้าราชการต้องน่าสงสารในตอนบั่นปลายชีวิต เพราะช่วงหนุ่มสาวรับราชการใหม่ๆ ก็กู้หนี้ยืมสินมาเยอะหลังเกษียณไปแล้วยังใช้หนี้ไม่หมดเลย แล้วแบบนี้จะใช้ชีวิตหลังเกษียณในยุคสังคมผู้สูงอายุได้อย่างไร ดังนั้น ก.พ.ร.จะเป็นหน่วยงานหลักหาแนวทางรับมือสังคมผู้สูงอายุ เพราะเมื่อข้าราชการเกษียณไปแล้วก็คือประชาชนคนหนึ่งที่เราต้องดูแล” ปกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 19 ส.ค. 2561 เวลา 18:58 น.
  • 20 ส.ค. 2561 เวลา 15:37 น.
  • 3,393

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^