LASTEST NEWS

02 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านหลุบงิ้ว รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี มีใบประกอบวิชาชีพครู เงินเดือน 6,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 6 สิงหาคม 2567 02 ส.ค. 2567สพฐ.แจ้งจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อเป็นค่าจ้างสำหรับการปฏิบัติงานของพี่เลี้ยงเด็กพิการ ครั้งที่ 3 ระยะเวลา 1 เดือน (เดือนกันยายน 2567) 01 ส.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 8 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567เรียกล็อตใหญ่ ๆ สศศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 146 อัตรา - รายงานตัว 16 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000-20,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้-10 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับเขตสวนหลวง รับสมัคร ครู ศรช. วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 1 - 13 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ประกาศแล้ว !! เปิดรับสมัครสอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ปี 2567 รับสมัคร 16-22 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567

ผ่าตัดใหญ่ไทยใช้9แสนล้านจัดการศึกษา

  • 20 มิ.ย. 2561 เวลา 01:04 น.
  • 4,631
ผ่าตัดใหญ่ไทยใช้9แสนล้านจัดการศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ผ่าตัดใหญ่ไทยใช้9แสนล้านจัดการศึกษา
กอปศ.เล็งผ่าตัดใหญ่การใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา ชี้ไทยทุ่มเงินกว่า 9 แสนล้านคุณภาพการศึกษายังต่ำ สพฐ.จ่ายเงินวิทยฐานะมาก แต่ได้ผลไม่คุ้มค่า ชี้ต้องประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ เริ่มใช้กับรุ่นใหม่

วันนี้(19 มิ.ย.) ศ.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เปิดเผยผลการประชุม กอปศ. ที่มี ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา เป็นประธาน ว่า กอปศ.ได้พิจารณาหมวด 6 ระบบทรัพยากรเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่  ซึ่งจากข้อมูลพบว่าประเทศไทยใช้งบฯการศึกษาเกือบ 9 แสนล้านบาท คิดเป็น 6.1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ หรือ จีดีพี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละ 2.9% โดยหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมากที่สุด 70% อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งในปี 2561 สพฐ.ใช้งบฯ 3 แสนล้านบาทเศษ  จำนวนนี้เป็นงบฯบุคลากรกว่า 2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 3 ใน 4 ของงบฯที่ได้รับทั้งหมด และในจำนวนนี้เป็นงบฯวิทยฐานะและค่าตอบแทนครู ปีละ 3.5 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ สพฐ.มีข้าราชการเกือบ 5 แสนคนคิดเป็น 1 ใน 4 ของข้าราชการทั้งประเทศ ขณะที่จำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนลดลง สวนทางกับค่าตอบแทนครูที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2550 มีสัดส่วนครู 1 คนต่อนักเรียน 20 คน แต่ปัจจุบันครู 1 คนต่อนักเรียน 16 คน  ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ประกอบกับตั้งแต่ปี 2561-2565 จะมีครูเกษียณอายุราชการปีละ 2 หมื่นคน รวม 1 แสนคน ดังนั้น จะต้องมาปฏิรูประบบทรัพยากรเพื่อการศึกษาและเรียนรู้ใหม่ โดยการจัดสรรงบฯผ่านผู้เรียน รวมถึงการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนต้องมีแผนอัตรากำลังที่ชัดเจนและเร่งด่วน  ทั้งนี้  ที่ประชุมได้ให้ไปศึกษาอัตราเงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ เนื่องจากอัตราที่ใช้อยู่ปัจจุบันคำนวณมาตั้งแต่ปี 2545  หรือใช้มา 12 ปีแล้ว และควรมีการปรับอัตราเงินอุดหนุนให้แก่สถานศึกษาเอกชน  ซึ่งปัจจุบันรัฐอุดหนุนอยู่ 70%


ด้าน ศ.นพ.จรัส กล่าวว่า ประเทศไทยใช้เงินเพื่อการศึกษาจำนวนมาก แต่ผลการศึกษาที่ออกมายังมีคุณภาพต่ำ มีความเหลื่อมล้ำสูง  ซึ่ง กอปศ.เห็นว่าถ้ามีการปรับโครงสร้างการใช้ทรัพยากร โดยให้ตรงไปที่โรงเรียน  และโรงเรียนสามารถบริหารทรัพยากรได้เอง จะเพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงได้ ส่วน สพฐ.และเขตพื้นที่ฯจะมีหน้าที่เพียงการสนับสนุนดูแล ไม่ใช่ปฏิบัติโดยตรง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ เงินที่ใช้ด้านบุคลากร ซึ่งดูเหมือนจะยังไม่มีประสิทธิภาพ เช่น เงินวิทยฐานะ ที่ สพฐ.ใช้ปีละประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยใช้มากสำหรับผู้ที่มีวิทยฐานะชำนาญการ 77,135 คนและชำนาญการพิเศษ 197,880 คน  แต่ระบบวิทยฐานะยังไม่เอื้อไปสู่คุณภาพ เพราะไปอิงผลงานในอดีต อิงการเข้าร่วมการอบรมพัฒนา  ดังนั้น จะต้องมีการปรับระบบวิทยฐานะให้มีความหมายมากยิ่งขึ้น และให้มีการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ ทั้งนี้ อาจไม่สามารถทำได้กับผู้ที่มีวิทยฐานะอยู่แล้ว แต่จะเริ่มใช้สำหรับผู้ที่จะเข้าสู่วิทยฐานะใหม่ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ กอปศ.จะมีพิจารณาว่าส่วนใดจะต้องบรรจุไว้ในพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ส่วนใดจะอยู่ในแผนการปฏิรูปที่จะออกมาคู่กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ


ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณที่จะเสนอในประเด็นการปฏิรูปประเทศ นั้น ประกอบด้วย 1.งบฯลงทุน ก่อสร้าง ครุภัณฑ์ ให้ดูสภาพตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ 2. งบฯดำเนินงานควรไปอยู่ที่โรงเรียนมากสุด  และการจัดสรรงบฯจะไม่มีการเฉลี่ยเท่ากันหมด แต่จะดูตามความแตกต่างใน เรื่องบุคคล เช่น ฐานะ ความพิการ เรื่อง สถานศึกษา เช่น สถานที่ตั้ง ขนาดโรงเรียน และเรื่องความแตกต่างระหว่างรัฐและเอกชน


ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2561 เวลา 15.30 น.
  • 20 มิ.ย. 2561 เวลา 01:04 น.
  • 4,631

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^