ผลสำรวจ99.15%หนุนตั้ง สพม.เพิ่ม
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
ผลสำรวจ99.15%หนุนตั้ง สพม.เพิ่มผลสำรวจ99.15%หนุนตั้งสพม.เพิ่ม เสนอแยกศึกษานิเทศก์ออกจากเขตพื้นที่ฯ
ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐา น(กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.)เพิ่มเติม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 117 คน จาก สพม.จำนวน42เขต พบว่าเห็นด้วยกับการจัดตั้ง สพม. เพิ่มเติม จำนวน 116 คน ร้อยละ 99.15% โดยให้เหตุผลว่าควรจัดตั้ง สพม.เพิ่มเติม เพราะขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ เนื่องจาก 1.พื้นที่บริการตั้งแต่สองจังหวัดขึ้นไป ต้องจัดการข้ามเขตปกครองจังหวัด มีความยุ่งยากในระบบริหารจัดการ ร้อยละ 52.14% 2.เขตพื้นที่ฯ ขนาดใหญ่ มีปริมาณประชากรจำนวนมาก ส่งผลให้งานที่ต้องดูแลสถานศึกษามาก จำนวนครูและนักเรียนมีมากทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ร้อยละ 17.95% 3.สอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ร้อยละ 12.82% 4.เขตพื้นที่ฯ ที่เป็นพื้นที่ขายแดน พื้นที่สูง ภูเขาสูง ส่งผลให้ระบบการสื่อสารเครือข่ายมีความไม่พร้อม มีที่ตั้งทางสภาพทางภูมิศาสตร์ห่างไกล ร้อยละ 10.26%
5.เขตพื้นที่ฯ ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีความจำเป็นเร่งด่วนในการยกระดับคุณภาพของคนให้สามารถรองรับยุทธศาสตร์ชาติทางด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.27% 6.เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มีความปลอดภัยในการเดินทางระหว่างจังหวัด ร้อยละ 2.56% และในจำนวนนี้ไม่เห็นด้วยจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 00.85%
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ เหตุผลที่ไม่ควรจัดตั้ง สพม.เพิ่มเติมเพราะผอ.เขตพื้นที่การศึกษาจะเพิ่มขึ้น และความเห็นของทุก สพม.ว่าควรแยก สพม.ร้อยละ 53.85 ได้แก่ สพม.เขต 34, สพม.เขต 36, สพม.เขต 10, สพม.เขต 19, สพม.เขต 8, สพม.เขต 14, สพม.เขต 5,สพม.เขต 12, สพม.เขตอ 21, สพม.เขต 28, สพม.เขต 37, สพม.เขต 39, สพม.เขต 41,สพม.เขต 7, สพม.เขต 13, สพม.เขต 16, สพม.เขต 17, สพม.เขต 18, สพม.เขต 38,สพม.เขต 3, สพม.เขต 4, สพม.เขต 6, สพม.เขต 9, สพม.เขต 11, สพม.เขต 22, สพม.เขต 35 และสพม.เขต 42
ส่วนข้อเสนอแนะอื่นๆ ได้แก่ 1.ควรดำเนินการให้เร็วที่สุด 2.เมื่อแยกครบทุกจังหวัด อัตรากำลังให้เป็นไปตามขนาดปริมาณ โรงเรียน อาทิ จังหวัดภูเก็ตมี 5 โรงเรียน อัตรา 20 ไล่ไปตามปริมาณ 3.ควรแยกศึกษานิเทศก์ออกจากเขตพื้นที่ฯ 4.ควรพิจารณาแยกให้เป็นเหมือนสมัยที่เป็นกรมสามัญศึกษาเดิม
5.ปกติโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความเข้มแข็งในตัวอยู่แล้วหากตั้งเขตมัธยมหรือสำนักงานเขต ควรคำนึงถึงการสนับสนุนมากกว่าการบริหารจัดการ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนบริหารจัดการตนเองให้มาก ไม่ควรมีอัตรากำลังในสำนักงานมากเกินไป เป็นต้น
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์สยามรัฐออนไลน์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.49 น.