LASTEST NEWS

01 ส.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 8 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567เรียกล็อตใหญ่ ๆ สศศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 146 อัตรา - รายงานตัว 16 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000-20,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้-10 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับเขตสวนหลวง รับสมัคร ครู ศรช. วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 1 - 13 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ประกาศแล้ว !! เปิดรับสมัครสอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ปี 2567 รับสมัคร 16-22 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ.

สพฐ.จ่อเพิ่มเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเป็นจังหวัดละเขต

  • 14 ก.พ. 2561 เวลา 20:55 น.
  • 4,821
สพฐ.จ่อเพิ่มเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเป็นจังหวัดละเขต

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สพฐ.จ่อเพิ่มเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเป็นจังหวัดละเขต
“บุญรักษ์” ตั้ง “ณรงค์”นั่งหัวโต๊ะศึกษาข้อมูลแยกเขตพื้นที่มัธยมฯ หวังเพิ่มประสิทธิภาพบริหารงานในพื้นที่

วันนี้(14ก.พ.)ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง มี นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน เพื่อศึกษาเรื่องการแยกเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพิ่มจากปัจจุบันที่มีอยู่ 42 เขต ซึ่งคณะทำงานได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลมาระยะหนึ่งแล้ว แต่เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง สพฐ.จึงได้สอบถามไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.)ด้วยว่า จังหวัดใดมีความจำเป็นควรแยกเขตพื้นที่มัธยมออกมาเป็นของจังหวัดตัวเอง ก็มีหลายเขตที่มีเหตุผล ซึ่ง สพฐ.ได้รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว โดยเหตุผลและความจำเป็นหลัก เช่น การคมนาคมและบุคลากร ที่มองว่าเป็นปัญหา เพราะหลาย สพม.ครอบคลุม 2-3 จังหวัด การแต่งตั้งโยกย้ายต้องนำข้อมูลเข้าคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) ทำให้เกิดปัญหาการบริหารงานล่าช้า เพราะหลายครั้งที่ กศจ.หลายจังหวัดจัดประชุมพร้อมกัน ซึ่งผอ.สพม.ไม่สามารถเข้าประชุมพร้อมกันทุกจังหวัดได้  ดังนั้นถ้าจะเร่งเรื่องคุณภาพ ก็ควรจะปลดภาระที่ไม่จำเป็นของเขตพื้นที่กับโรงเรียนออกไป โดยเฉพาะเรื่องของการเดินทาง เป็นต้น ทั้งนี้ตนได้กำชับให้คณะทำงานเร่งศึกษาข้อมูลให้เร็วที่สุดภายใน 30 วัน
    
“ตอนแรกตั้งเป้าว่าจะให้มีจังหวัดละ 1  สพม. แต่ก็มีประเด็นว่าบางจังหวัดอาจมีปริมาณงานน้อยมาก เช่น จังหวัดภูเก็ต ที่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาแค่ 4 โรง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องฟังความเห็นจากเขตพื้นที่ โรงเรียน และสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.)ก่อนว่า ปริมาณงานกับความจำเป็นในเรื่องการบริหารควรเป็นอย่างไร เพราะนโยบายของรมว.ศึกษาธิการไม่ได้กำหนดว่า จะต้องมีกี่ สพม. บอกแต่ว่าให้สามารถทำงานได้ โดยไม่เพิ่มคนและงบประมาณ นอกจากนี้หากมี สพม.จังหวัดละเขต ยังทำให้การเรียกชื่อ สพม.ง่ายขึ้นด้วย โดยจะเป็น สพม.ต่อท้ายด้วยจังหวัด ต่างจากปัจจุบันที่ต่อท้ายด้วยตัวเลข ซึ่งคนทั่วไปจะไม่ทราบว่า เลขนั้น ๆ ครอบคลุมจังหวัดใดบ้าง”เลขาธิการกพฐ.กล่าวและว่า ทั้งนี้ สพฐ.จะรวบรวมข้อมูลที่ศึกษาเสนอต่อสภาการศึกษาให้พิจารณาและเสนอแนะไปยัง รมว.ศึกษาธิการ ต่อไป 

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 18.26 น.
  • 14 ก.พ. 2561 เวลา 20:55 น.
  • 4,821

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^