LASTEST NEWS

01 ส.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 8 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567เรียกล็อตใหญ่ ๆ สศศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 146 อัตรา - รายงานตัว 16 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000-20,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้-10 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับเขตสวนหลวง รับสมัคร ครู ศรช. วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 1 - 13 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ประกาศแล้ว !! เปิดรับสมัครสอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ปี 2567 รับสมัคร 16-22 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ.

ปรับหลักสูตรป.1-2'ละเว้น'วิชาการเริ่มเรียนสาระ8กลุ่มชั้นป.3

  • 05 ก.พ. 2561 เวลา 23:44 น.
  • 34,441
ปรับหลักสูตรป.1-2'ละเว้น'วิชาการเริ่มเรียนสาระ8กลุ่มชั้นป.3

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ปรับหลักสูตรป.1-2'ละเว้น'วิชาการเริ่มเรียนสาระ8กลุ่มชั้นป.3

5 ม.ค. 61-"หมอจรัส"เผยร่างพ.ร.บ.ปฐมวัยใหม่  เขียนครอบคลุมถึงเด็ก 8ขวบ เป็นไปตามหลักสากล และพัฒนาตรงจุด    เนื้อหาในร่างฯ กำหนดปรับหลักสูตรเด็กชั้น ป.1-2 ใหม่  ไม่เร่งให้เรียน 8กลุ่มสาระวิชาเหมือนปัจจุบัน  แต่เน้นพัฒนาสมรรถนะทักษะชีวิต การช่วยเหลือตัวเอง คุณธรรมจริยธรรม และอารมณ์  เพื่อเตรียมความพร้อมการอ่านออกเขียนได้ ก่อนเรียนเนื้อหาจริงในชั้นป. 3  "อาจารย์ดารณี " ชี้เด็กจะได้ไม่ต้องคร่ำเคร่งเรียนเขียนอ่านตั้งแต่ชั้นอนุบาล เป็นวิธีพัฒนาตามวัย

    นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า ตามที่คณะอนุกรรมการเด็กเล็ก ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ.... ให้ที่ประชุมคณะกรรมการอิสระฯ พิจารณานั้น ภายในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 3 ไก้กำหนดความหมายของเด็กปฐมวัย ว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 8 ปี บริบูรณ์และให้หมายความถึงทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงก่อนคลอดด้วย โดยสาเหตุที่ต้องกำหนดให้ครอบคลุมถึง 8 ปี เป็นการยึดตามหลักสากลที่ใช้กันทั่วโลก และยูเนสโกเองก็ได้มีการกำหนดช่วงอายุของเด็กปฐมวัย ที่ครอบคลุมถึง 8 ปีด้วย ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในระบบการศึกษาของไทย ทำให้เกิดความซับซ้อนกับระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากเด็กอายุ 3-5 ปี จะอยู่ในระดับอนุบาล และส่วนเด็กอายุ 6-8 ปี ก็อยู่ในระดับประถมศึกษา ดังนั้นในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ในมาตรา 8 จึงกำหนดระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยแบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ 1.การพัฒนาทารกในครรภ์มารดา 2.การพัฒนาเด็กวัยแรกเกิด ถึงก่อน 3 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเรียกว่า เด็กวัยเด็กเล็ก 3.การพัฒนาเด็กวัย 3 ปีบริบูรณ์ ถึงก่อน 6 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเรียกว่า เด็กก่อนวัยเรียน และ 4.การพัฒนาเด็กวัย 6 ปีบริบูรณ์ ถึงก่อน 8 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเรียกว่าเด็กวัยช่วงรอยต่อระหว่างวัยอนุบาลกับวัยประถมศึกษา (ตอนต้น) ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 2

    “การแบ่งเป็น 4 ส่วนย่อย เพราะแต่ละส่วนมีลักษณะพิเศษอยู่ ไม่ใช่บอกว่าตั้งแต่ แรกเกิดจนถึง 8 ปี เป็นเด็กปฐมวัยทั้งหมด เพราะเวลาที่เรากำหนดเป็นส่วน จะทำให้เห็นภาพ และสามารถพัฒนาได้อย่างตรงจุด เช่น เวลาเรามองเด็กในระดับประถมศึกษา ก็จะมองแค่เรื่องการศึกษาเท่านั้น ทั้งที่ยังมีด้านอื่นๆ ที่เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาควบคู่ อย่าง สุขภาพ ความคิดความอ่าน และอารมณ์ ไม่ใช่แค่เรื่องการศึกษาเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุป หากมีผู้ที่สนใจจะอภิปรายหรือตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่างๆ ก็สามารถเสนอมายังคณะกรรมการอิสระได้”ประธานคณะกรรมการอิสระฯ กล่าว

    ด้านนางสาวดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการคณะอนุกรรมการเด็กเล็ก ของคณะกรรมการอิสระฯ กล่าวว่า ในการยกร่างพ.ร.บ.การปฐมวัยแห่งชาติฯ ได้กำหนดอายุของเด็กปฐมวัย ให้ครอบคลุมถึง 8 ปีบริบูรณ์ เพื่อที่จะให้ทุกคนตระหนักว่า เด็กในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 ยังอยู่ในช่วงของเด็กปฐมวัย เพราะฉะนั้นในการจัดการเรียนการสอน คณะอนุกก.ฯ เด็กเล็ก จึงได้เสนอให้มีการเปลี่ยนหลักสูตร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ใหม่ จากเดิมที่เรียน 8 กลุ่มสาระ ส่งผลให้เกิดปัญหาอย่างมาก จึงให้เปลี่ยนเป็นการกำหนดลงในร่างพ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ว่า แต่ละภาคส่วนจะต้องรวมกันจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่เด็ก โดยเฉพาะการจัดระบบความคิดของคนในสังคม เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ที่ต้องไม่มีการให้เร่งเรียนมากเกินไป จนทำให้เด็กรู้สึกไม่อยากเรียน และจากการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ได้มีการรับทราบถึงปัญหาในจุดนี้มาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีการประกาศใช้  ก็จะทำให้เด็กในกลุ่มนี้ จะได้รับการปรับหลักสูตรที่เน้นฐานสมรรถนะ คือ สอนพื้นฐานด้านสมรรถนะที่ต่อเนื่องจากชั้นอนุบาล เน้นพัฒนาทักษะชีวิต การช่วยเหลือตัวเอง พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม อารมณ์ และเตรียมความพร้อมเรื่องการอ่านออกเขียนได้ให้เด็ก เช่น สอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับพื้นฐานความคิด หรือสอนภาษาไทยให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อจะเข้าสู่การเรียนการสอนในส่วนของเนื้อหาในระดับประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้นไป นอกจากนี้หากมีการปรับหลักสูตรในลักษณะดังกล่าวก็จะส่งผลให้ การเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาล ไม่ต้องมาเน้นเรื่องอ่าน เขียน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามพัฒนาการ

    “จากการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ทุกฝ่ายเห็นด้วยที่จะต้องมีการปรับหลักสูตรในระดับประถมศึกษาตอนต้น โดยคำนึงถึงว่าเด็กกลุ่มนี้ยังอยู่ในช่วงปฐมวัย แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาเรียนอนุบาล เด็กกลุ่มนี้ก็ยังเลื่อนชั้นไปเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1และ2 เหมือนปกติ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ก็ยังคงได้รับตามเดิม เช่น การสนับสนุนตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาล เป็นต้น“กรรมการคณะอนุกรรมการเด็กเล็ก กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 08:45 น.  
  • 05 ก.พ. 2561 เวลา 23:44 น.
  • 34,441

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^