LASTEST NEWS

01 ส.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 8 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567เรียกล็อตใหญ่ ๆ สศศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 146 อัตรา - รายงานตัว 16 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000-20,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้-10 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับเขตสวนหลวง รับสมัคร ครู ศรช. วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 1 - 13 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ประกาศแล้ว !! เปิดรับสมัครสอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ปี 2567 รับสมัคร 16-22 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ.

​หวั่นพนักงานมหา'ลัยถูกเลิกจ้างเหตุรัฐมีงบฯจำกัด

  • 30 ม.ค. 2561 เวลา 23:36 น.
  • 5,588
​หวั่นพนักงานมหา'ลัยถูกเลิกจ้างเหตุรัฐมีงบฯจำกัด

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

​หวั่นพนักงานมหา"ลัยถูกเลิกจ้างเหตุรัฐมีงบฯจำกัด
รองเลขาธิการCHES หวั่นมหาวิทยาลัยจะนำคำสั่งนายกฯเรื่องจัดสรรงบฯให้คุมสาขาที่ไม่มีงานทำ/ไม่ตรงความต้องการ มาเป็นข้ออ้างเลิกจ้างพนักงานมหา'ลัย วอนกำหนดแนวปฎิบัติให้ชัด

วันนี้(30ม.ค.)รศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค รองเลขาธิการศูนย์ประสานงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ CHES กล่าวถึงข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณให้สถาอุดมศึกษา โดยให้ควบคุมสาขาที่ไม่มีงานทำ/ไม่ตรงความต้องการ แต่ต้องใช้หนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา( กยศ.) ว่า ข้อสั่งการดังกล่าวโดยจะส่งผลต่อการปรับปรุงหลักสูตร รวมถึงการลดจำนวนการผลิตนักศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อการบริหารจัดการและการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างแน่นอน  โดยเฉพาะพนักงานมหาวิทยาลัย สายอาจารย์อาจจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ทั้งจำนวนชั่วโมงสอนที่หากไม่เพียงพอต่อภาระงานขั้นต่ำตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดทางมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้เป็นช่องทางในการเลิกจ้างได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนพนักงานสายสนับสนุนที่ได้รับค่าจ้างจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยก็อาจจะถูกเลิกจ้างเช่นกัน  เพราะนักศึกษาลดลงย่อมส่งผลต่อรายได้ของหน่วยงานอย่างแน่นอน 

 รศ.ดร.พัทธนันท์ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ควรทำคือการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน มีการวางแผนอย่างเป็นระบบครบวงจร ไม่ควรเป็นแค่นโยบายทางการเมืองเท่านั้น ต้องกำหนดทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่สอดคล้องกับระบบการศึกษาทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  รวมถึงการตระหนักถึงระบบมหาวิทยาลัยให้มีความสามารถในการรองรับนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแท้จริง เพื่อตอบโจทย์สังคมสมัยใหม่  แต่ขณะนี้ระบบอุดมศึกษาไม่สามารถสร้างความมั่นคงในอาชีพเพื่อให้รักษาคนเก่งไว้ในระบบได้  และที่เป็นปัญหามากคือ การไม่ต่อสัญญาจ้าง เพราะเลือกปฏิบัติ การให้ออกจากงาน เพราะไม่มีงบประมาณเพียงพอ  การไม่มีสวัสดิการที่สร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานมหาวิทยาลัย ทั้งค่ารักษาพยาบาล เงินบำเหน็จบำนาญหลังเกษียณอายุราชการ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาคาราคาซังมาหลายรัฐบาล  อย่างไรก็ตามที่ผ่านมารัฐบาลกำหนดให้มหาวิทยาลัยเดินหน้า  แต่ไม่เคยดูแลกระบวนการบริหารจัดการคนในมหาวิทยาลัยให้สามารถสร้างงานได้ตามที่รัฐบาลต้องการ ทั้งที่ควรจะต้องมีระบบรองรับในการได้คนเก่ง คนดีมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
 
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 30 มกราคม 2561 เวลา 15.11 น.
  • 30 ม.ค. 2561 เวลา 23:36 น.
  • 5,588

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^