LASTEST NEWS

01 ส.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 8 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567เรียกล็อตใหญ่ ๆ สศศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 146 อัตรา - รายงานตัว 16 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000-20,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้-10 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับเขตสวนหลวง รับสมัคร ครู ศรช. วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 1 - 13 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ประกาศแล้ว !! เปิดรับสมัครสอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ปี 2567 รับสมัคร 16-22 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ.

"หมออุดม"เล็งนำร่อง7 มหา'ลัยปรับหลักสูตรพันธ์ใหม่

  • 04 ม.ค. 2561 เวลา 21:37 น.
  • 2,984
"หมออุดม"เล็งนำร่อง7 มหา'ลัยปรับหลักสูตรพันธ์ใหม่

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"หมออุดม"เล็งนำร่อง7 มหา'ลัยปรับหลักสูตรพันธ์ใหม่
“หมออุดม” มอบนโยบายข้าราชการ สกอ. ย้ำทุกคนต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง แนะสกอ.และมหาวิทยาลัยร่วมมือกันทำงาน มองเป้าเดียวกัน เล็งนำร่อง7 มหา’ลัยปรับหลักสูตรพันธ์ใหม่

 วันนี้ (4ม.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ศ.นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ เดินทางมามอบนโยบายให้แก่ข้าราชการ สกอ. โดยมีดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการ กกอ.  นายขจร  จิตสุขุมมงคล  ดร.อรสา ภาววิมล รองเลขาธิการ กกอ.  ผู้บริหารและบุคลากร สกอ.ต้อนรับ  ศ.นพ.อุดม กล่าวว่า  ตนอยากให้อุดมศึกษามีหน้าที่ในการสร้างศักยภาพของประเทศ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลให้งบประมาณ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ประมาณ 1 แสนล้านบาทต่อปีในการพัฒนามหาวิทยาลัยและบัณฑิต ซึ่งมีประมาณ  2  ล้านคน  แต่ลงทุนไม่กี่หมื่นล้านบาทกับแรงงาน 35-40 ล้านคน ในจำนวนนี้จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  จบปริญญาตรี เพียง 25% หากเป็นเช่นนี้เราคงสู้กับใครไม่ได้  แต่ตนไม่ได้บอกว่าคนเหล่านี้ไม่สำคัญ แต่เป็นกลุ่มคนที่มหาวิทยาลัยต้องเข้าไปช่วยพัฒนาศักยภาพ และเป็นเรื่องสำคัญที่พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ  มอบโจทย์ให้ตนไปหาแนวทางแก้ไขใน 3 เดือน อีกกลุ่มหนึ่งที่มหาวิทยาลัยต้องเตรียมหลักสูตรเพื่อพัฒนาให้ คือกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งในปี 2566 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากถึง 20% ของประชากรทั้งประเทศ ปี2573 เพิ่มเป็น 25% ถือเป็น 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด



ศ.นพ.อุดม กล่าวต่อไปว่า  นอกจากนี้อยากให้มหาวิทยาลัยทลายกำแพงระหว่างคณะลง จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมกัน เช่น คนที่เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สามารถเรียนด้านบริหารธุรกิจควบคู่ไปด้วยได้ เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถที่รอบด้านมากขึ้น  ตอบโจทย์การทำงานในอนาคต หรือเรียกว่าหลักสูตรพันธ์ใหม่  ขณะนี้ตนได้ตั้งเป้าไว้แล้วว่าจะให้มหาวิทยาลัย 7 แห่ง นำร่องเริ่มจักการเรียนการสอนแบบบูรณากร โดยจะทำให้ทันในปีการศึกษา 2561 และต่อไปหากมหาวิทยาลัยสามารถเปิดสอนในทิศทางที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะต้องเพิ่มขึ้น โดยตนอาจจะให้งบประมาณเป็นรายหัว เช่นเดียวกัน การผลิตแพทย์ พร้อมทั้งมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวเป็นแหล่งการเรียนรู้ ตามทิศทางอุดมศึกษาโลกยุคใหม่ สอนเด็กให้มี กระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงภาพใหญ่ของโลก  อย่างไรก็ตามในอนาคตคนที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจะลดลง เนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดลง ขณะเดียวกันการเรียนในระบบออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น หากมหาวิทยาลัยไม่ปรับตัวก็จะต้องปิดตัวลง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชนที่จะทยอยปิดตัวลงอย่างแน่นอน ส่วนมหาวิทยาลัยของรัฐถ้าไม่มีคุณภาพจะถูกควบรวม  ดังนั้นมหาวิทยาลัยจะต้องปรับการเรียนการสอน  หลักสูตรต้องยืดหยุ่น ให้คนที่จบแล้วกลับมาเรียนได้ หรือจบออกมาแล้วมีงานทำ ไม่ใช่ตกงาน ขนาดมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.)ซึ่งเป็นอันดับ1 ของประเทศ ยังมีบัณฑิตตกงานถึง 17% 



นพ.อุดม กล่าวอีกว่า  สุดท้ายขอย้ำคือหลักการมหาวิทยาลัยจะต้องมีอิสระ แต่จะต้องตอบโจทย์ประเทศ ส่งเสริมประเทศให้เกิดการแข่งขัน โดยตนจะใช้กลไกทางงบประมาณในการผลักดัน การดำเนินการต้องสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ หากใครอยากทำอย่างอื่นก็ต้องหาเงินเอง ที่สำคัญต้องมีเป้าเดียวกัน คือเป้าหมายพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 จากเป้าหมายดังกล่าวจึงต้องเกิดเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา  ซึ่งจะมาทำหน้าที่วางแผนการผลิต และใช้กำลังคนของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษาที่จะเกิดครั้งนี้เป็นนโยบายรัฐบาลโดยตรง นายกฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องวิจัย และนวัตกรรมอย่างมาก ถ้าไม่ทุ่มเทเรื่องอุดมศึกษาจะไม่สำเร็จ ทั้งนี้การดำเนินการต้องเกิดก่อนการเลือกตั้ง คาดว่าพ.ร.บ.การอุดมศึกษาจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา(กอปศ.) วันที่ 9 มกราคม 2561 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เข้าสู่ขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช. ) ใช้เวลา 6-8 เดือน คาดว่ากระบวนการทุกอย่างจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้

“สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาและปลดล็อคปัญหาของอุดมศึกษามี  5 ประเด็นคือ 1 การเตรียมโครงสร้างกำลังคน ทรัพยากรและความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อรองรับกระทรวงการอุดมศึกษา ที่จะเป็นองค์กรระดับประเทศในการขับเคลื่อนภาคอุดมศึกษาของชาติ 2. พัฒนายุทศาสตร์และโรดแมปของการอุดมศึกษาของชาติ 20 ปี 3.วางแผนกำลังคนของประเทศ ระยะ 20 ปี 4.พัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรมของการอุดมศึกษาของชาติ และ5.ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ ขณะเดียวกัน สกอ.จะต้องทบทวนมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี โทและเอกใหม่  โดยหลักสูตรใดที่ไม่จำเป็นต้องปิด หลักสูตรต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงกระบวนการรับทราบของสกอ.จะต้องไปปรับให้เร็วขึ้น ที่สำคัญสกอ.และมหาวิทยาลัยจะต้อง ร่วมมือกัน นอกจากนี้ผมอยากให้คนสกอ.พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ "ศ.นพ.อุดมกล่าว .

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2561 เวลา 12.37 น.
  • 04 ม.ค. 2561 เวลา 21:37 น.
  • 2,984

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^