รู้จักเขาผู้ทำให้ผอ.โรงเรียน59จังหวัดฝันค้าง
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
รู้จักเขาผู้ทำให้ผอ.โรงเรียน59จังหวัดฝันค้างจริงๆแล้วผอ.โรงเรียนควรให้ ครู กรรมการสถานศึกษา และชุมชนเป็นคนเลือกเองดีที่สุด เพราะทั้ง 3 ฝ่ายคือผู้ที่รู้ดีที่สุดว่าพวกเขาต้องการผู้อำนวยการไปทำอะไร
“การที่มีนโยบายให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลก็เป็นเรื่องที่ดี ที่มีการกระจายอำนาจไปให้ผู้อำนวยการโรงเรียนจัดการบรรุครูเอง จะได้ตรงตามต้องการของนักเรียนให้มากที่สุด เช่นเดียวกันผู้อำนวยการโรงเรียนก็ไม่ควรให้ส่วนกลางเป็นคนเลือกให้เช่นกัน” เฉลิมเกียรติ แก้วกนก ผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่ใหญ่ศึกษา จ.อุบลราชธานี สถานศึกษาขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สพม. 29 กล่าว
เฉลิมเกียรติ เป็นศิษย์เก่า วิทย์ คณิต ร.ร.อำนาจเจริญ และไปต่อที่วิทยาลัยพลศึกษาศรีสะเกษ จากนั้นไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเปิดทั้ง 2 แห่งทั้ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราชและ มหาวิิทยาลัยรามคำแหง ก่อนไปสอบบรรจุเป็นครูครั้งแรกที่บ้านสว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ก่อนเปลี่ยนสังกัดสอบบรรจุอีกครั้งได้ที่โรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ สพม.29 เขาเป็นครู และ รองผอ.ที่รร.หัวตะพานวิทยาคมมา 25 ปี 7 เดือน 5 วัน
จากนั้นเป็น ผอ.รร.บ้านคำเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ สพป.อำนาจเจริญ 5 ปี 10 วันและได้ย้ายมาที่โรงเรียนไผ่ใหญ่ศึกษา ก่อนย้าย ไปสำรวจความต้องการของชุมชน และศึกษาสภาพปัญหาของโรงเรียนก่อนหน้าที่จะเข้าไปทำหน้าที่ผู้อำนวยการ 2 เดือน พอเข้าไปทำงานเขาเน้นนโยบาย วินัยเชิงบวก ปลอด 0 ,ร ,มส ปลอดขยะ ปลอดอบายมุข ตามความต้องการของชุมชน ถึงวันนี้ “เฉลิมเกียรติ” เป็นผู้บริหารโรงเรียนแห่งนี้มา 3 ปีกว่าวันที่ 17 กพ.61 จะครบ 4 ปี
ที่โรงเรียนไผ่ใหญ่ศึกษา เขาดูแลเด็กราว 300 คนจนถึงปัจจุบันก็พัฒนาคุณภาพต่อเนื่องส่งผลให้ได้รับรางวัลระดับชาติ 8 รางวัล เป็นต้นว่า 2557 ชนะเลิศเหรียญทงการแข่งขันกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษางานศิลปะหัตถกรรมนักเรียน (YC :Youth Counselor) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6,ปี 2558 นักเรียนรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ,ปี 2558 ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน,ปี 2558 สถานศึกษาได้รับรางวัลเสมา ป.ป.ส.โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ,ปี 2558 เฉลิมเกียรติ ร.ร.ไผ่ใหญ่ศึกษาได้รางวัลเสมา ป.ป.ส.โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ
นอกจากนี้ปี 2559 ได้รับรางวัล “นักเรียนดีเด่น ด้านคุณธรรม และจริยธรรม” โครงการประกวดโรงเรียนและนักเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรม ประจำปี 2559 (นางสาววรัญญา แสนสิงห์) 3.โรงเรียนไผ่ใหญ่ศึกษาได้รับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนปีการศึกษา 2559 ระดับเงิน จาก สพฐ. ผลงานระดับชาติ ประจำปี 2560 ได้รับรางวัล “เด็กและเยาวชนดีเด่น” ประจำปี 2560จากการคัดเลือกเด็กและเยาวชนดีเด่น เด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ประจำปี 2560 (นางสาววรัญญา แสนสิงห์)
“เฉลิมเกียรติ” บอกว่าเขาต้องการบริหารโรงเรียนไผ่ใหญ่ศึกษาให้เป็น สถานศึกษาบ้านความรู้คือแหล่งที่อยู่แสนหรรษา เป็นแหล่งอบรมจริยาเพิ่มคุณค่าชีวิตคน จะสร้างให้เป็นร.ร.ดี เด่น ดัง ของชุมชน มีการประชุมร่วมกับกรรมการสถานศึกษา ชุมชนและครู เป็นประจำ กระทั่งโรงเรียนกลายเป็น สถานที่ศึกษาดูงานของโรงเรียน/หน่วยงานทั่วประเทศ จากปี 2557-ปัจจุบัน มี 224 โรงเรียน/หน่วยงาน
“เฉลิมเกียรติ” กล่าวถึงหลักเกณฑ์การย้าย ว 24/2560ว่าขัดรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 38 ที่ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ได้ และไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้ผู้บริหารได้พัฒนาตนเองหรือได้รับโอกาสที่พิจารณาย้ายไปในสถานศึกษาที่ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ ตามประวัติผลงานแต่เป็นการออกกฎให้ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ได้รับสิทธิย้ายไปในสถานศึกษาขนาดใหญ่เท่านั้น
ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการย้ายผู้บริหารตามมาตรา 6 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และมาตรา 29 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ที่ยึดความถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ และเสมอภาคเท่าเทียม
เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้กำหนดหลักการย้ายไว้ว่า 1.ย้ายผู้บริหารสังกัดเดียวกัน ในจังหวัดเดียวกัน สถานศึกษาขนาดเดียวกันพร้อมกันก่อน 2.ย้ายผู้บริหารสังกัดเดียวกัน สถานศึกษาขนาดเดียวกัน จังหวัดใกล้เคียง 3.ย้ายผู้บริหารสังกัดเดียวกันไปยังสถานศึกษาขนาดใกล้เคียงกัน ภายในจังหวัดเดียวกัน 4.ย้ายผู้บริหารสังกัดเดียวกัน ไปในสถานศึกษาขนาดใกล้เคียงกัน จังหวัดใกล้เคียงกัน 5.ย้ายไปสถานศึกษาต่างประเภท หรือข้ามขนาดสถานศึกษาที่เกินว่า 1 ขนาด ภายในจังหวัดเดียวกัน และ6.พิจารณาย้ายไปสถานศึกษาต่างประเภท หรือข้ามขนาดสถานศึกษาที่เกินว่า 1 ขนาดจากจังหวัดอื่น
“เฉลิมเกียรติ” จึงได้ฟ้องศาลปกครองอุบลราชธานี กระทั่งมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์ ว 24/2560 ในข้อ 10 และ 11 ทำให้ 59 จังหวัดก็ต้องชะลอการพิจารณาย้ายผู้บริหารโรงเรียนแต่ก็ทราบมาว่ามีบางจังหวัดที่มีการอนุมัติย้ายภายหลังมีคำสั่งทุเลาการบังคับด้วยคือที่ชัยภูมิ และนครสวรรค์
ก่อนหน้าที่ศาลปกครองอุบลราชธานีจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับ พบว่ามีกศจ.18 แห่งได้มีคำสั่งย้ายตามหลักเกณฑ์ ว24/2560 เรียบร้อยแล้ว ส่วนกศจ. 19 แห่งที่ได้พิจารณาแล้วแต่ยังไม่ได้ออกคำสั่ง และอีก 40 แห่งที่ยังอยู่ในกระบวนการก็ให้ชะลอไปก่อน
อย่างไรก็ตามขณะนี้สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำคำอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทุเลาการบังคับของศาลปกครองอุบลราชธานี เพื่ออุทธรณ์คำสั่งทุเลาการบังคับดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด โดยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำสั่งเพื่อดำเนินการไปยังศาลปกครองสูงสุดต่อไป ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.9/999 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560
โดยจัดส่งทางไปรษณีย์วันเดียวกัน และ ได้จัดทำคำให้การแก้คำฟ้องส่งไปยังศาลปกครองอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลปกครองอุบลราชธานีอนุญาตให้ขยายเวลายื่นคำให้การ โดยการอุทธรณ์ได้แจกแจงรายละเอียดทั้ง 2 หลักเกณฑ์ ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่มีความเป็นธรรมใช้กับผู้บริหารทุกคน
เฉลิมเกียรติ อธิบายเหตุผลที่ฟ้องว่า ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์ ว24/2560 เพราะกฎนี้บังคับใช้กับผู้บริหารสถานศึกษาทุกคน โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลางได้รับผลกระทบวงกว้าง หลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะประเด็นการพิจารณาการเสนอขอย้ายของผู้บริหารสถานศึกษาข้อ 10 และ 11 ที่กำหนดต้องเป็นขนาดเดียวกันและในพื้นที่เดียวกันก่อน
เมื่อไม่มีตำแหน่งจึงจะขอข้ามจังหวัดได้ เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของผู้บริหารทั่วประเทศ ขัดกับรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 38 ที่ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ได้ และไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้ผู้บริหารได้พัฒนาตนเองหรือได้รับโอกาสที่พิจารณาย้ายไปในสถานศึกษาที่ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ ตามประวัติผลงานแต่เป็นการออกกฎให้ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ได้รับสิทธิย้ายไปในสถานศึกษาขนาดใหญ่เท่านั้น
อีกทั้งหลักเกณฑ์นี้ยังไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการย้ายผู้บริหารตามมาตรา 6 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และมาตรา 29 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ที่ยึดความถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ และเสมอภาคเท่าเทียม
"ถ้าเราไม่ฟ้องเองในเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้วใครจะมาฟ้องแทน ผมเป็นผู้บริหารมาก็นานแล้วอีกไม่กี่ปีก็เกษียณ ถ้าไม่ถามหาความเป็นธรรมตอนนี้ จะถามตอนไหน ถ้าจะรอให้ใครมาฟ้องให้แล้วใครจะมาทำให้ ในเมื่อมีผลกระทบต่อชีวิตและมองว่าไม่เป็นธรรม คนเราก็ต้องลุกขึ้นมาทำให้สิ่งที่ถูกต้อง ถ้า ก.ค.ศ.ยกเลิก ว.24 ก็จะเป็นอานิสงค์กับเพื่อนผู้อำนวยโรงเรียนคนอื่นๆ มีหลายคนบอกว่าอย่าฟ้องเลย มีหลายคนเป็นห่วงว่าฟ้องส่งผลกระทบต่อหลายคนนะเขาไม่ได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน หลายคนเป็นห่วงว่าชีวิตจะไม่อยู่เป็นสุข แต่ผมว่าชีวิตก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากคนเราจะตายอยู่ที่ไหนก็ตาย แต่ก่อนตายขอให้ได้ทำให้สิ่งที่ถูกต้อง ผมก็ยอม" ผอ.รร.ไผ่ใหญ่ศึกษา ผู้ทำให้ผอ.โรงเรียน59จังหวัดฝันค้าง กล่าวทิ้งท้าย
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 21 ธันวาคม 2560