LASTEST NEWS

14 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 ม.ค. 2568รร.ลงทะเบียน TRS แล้ว 26,038 แห่ง มีตำแหน่งว่างแค่ 1,691 แห่ง 14 ม.ค. 2568ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 1/2568 13 ม.ค. 2568โรงเรียนเพชรละครวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 12,000.- บาท  ตั้งแต่วันที่ 13 – 19 มกราคม 2568 13 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 13 ม.ค. 2568คำขวัญวันครูแห่งชาติ ปี 2568 "ครูจุดประกายความฝัน ผลักดันให้กล้าคิด สร้างโอกาสในชีวิตให้เด็กไทย" 13 ม.ค. 2568โรงเรียนวัดป่าประดู่ รับสมัครครูอัตราจ้างคณิตศาสตร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 20 มกราคม 2568 12 ม.ค. 2568สพม.สมุทรปราการ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชีเขตอื่น) จำนวน 35 อัตรา - รายงานตัว 13 มกราคม 2568 12 ม.ค. 2568สพป.ปทมธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 20 อัตรา - รายงานตัว 13 มกราคม 2568 11 ม.ค. 2568​​​​​​​สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดสอบพนักงานราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.- บาท สมัครได้ตั้งแต่ 16-22 มกราคม 2568

คนศึกษาฯล่า5หมื่นชื่อทวงคืนอำนาจบรรจุ

  • 01 ธ.ค. 2560 เวลา 16:33 น.
  • 12,116
คนศึกษาฯล่า5หมื่นชื่อทวงคืนอำนาจบรรจุ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คนศึกษาฯล่า5หมื่นชื่อทวงคืนอำนาจบรรจุ

ปัญหางานบริหารบุคคลของ สพท.-ศธจ. สะเทือนมาถึงคนในวังจันทรเกษมเร่งหาดูกม.ทางออก ขณะที่กลุ่มผอ.เขตรวม5หมื่นชื่อขอคืนอำนาจบรรจุ

       มีคำถามว่าอำนาจการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษา เป็นของใครระหว่างผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่ยึดตามอำนาจมาตรา 53 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการการ พ.ศ.2547 หรือ ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ 19/2560 ลงวันที่ 3 เมษายน 2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ในข้อที่ 13 ซึ่งโอนอำนาจตามมาตรา 53 ให้กับ ศธจ. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)



       หากยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ผอ.สพท.ก็ไม่ต่างกับเสือกระดาษ ภาระกิจสำคัญๆในมือไม่น้อยกว่า 30 เรื่องเป็นอำนาจ ศธจ. ที่ผ่านมา กลุ่มผอ.สพท.รวมตัวกันเคลื่อนไหว เรียกร้อง ถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หวังให้ผู้มีอำนาจสั่งการ ให้มีการแก้ไขคำสั่งคสช.ข้อที่ 13 ดังกล่าว ขออำนาจกลับคืน แต่ยังไร้วี่แวว!!



       ภาพความไม่ลงรอยดูท่าจะขยายวงกว้างชัดขึ้น ล่าสุดที่ "พีรพงศ์ สุรเสน" ผอ.สพป. นครราชสีมา เขต 7 ตอบปฏิเสธหนังสือของ "สุวิทย์ ศรีฉาย" รองศธจ. รักษาการศธจ.นครราชสีมา ที่เชิญร่วมเป็นเกียรติประดับเครื่องหมายอินทรธนูแก่ข้าราชการครูบรรจุใหม่ด้วยข้อความว่า “ทราบ, ไม่ไป, ข้าราชการที่บรรจุใหม่ ล้วนเป็นข้าราชการสังกัดสพฐ.(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)ทั้งสิ้น ควรให้ผู้บังคับบัญชาโดยชอบเป็นผู้ดำเนินการ” ซึ่ง "การุณ สกุลประดิษฐ์" ปลัด ศธ.หยิบไปพูดในการประชุมมอบนโยบาย ศธจ. และมีการอัดคลิปแชร์ต่อๆกันในกลุ่มผอ.สพท.



            "พีรพงศ์ สุรเสน" ผอ.สพป. นครราชสีมา เขต 7

   นอกจากนี้ยังปรากฎบันทึกข้อความของ "กิตติชัย เมืองมา" รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผอ.สพป.เชียงราย เขต 1 ตอบบันทึกส่วนราชการในจังหวัดเชียงราย ในสังกัดสป.ศธ.ที่ขอให้ส่งผู้แทนร่วมประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมการประกวดระเบียบแถวลูกเสือเนตรนารีระดับประเทศ ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2560 ณ ภูเขางามรีสอร์ท อ.เมืองนครนายก  ด้วยข้อความว่า “ทราบ , เนื่องจากเป็นเรื่องของแนวทางและเกณฑ์เท่านั้น หากอยากได้รายละเอียด ขอดาวน์โหลดไฟล์ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติได้, ไม่มีความจำเป็นต้องไป, รวมเรื่อง”



           "สุวิทย์ ศรีฉาย" รองศธจ. รักษาการศธจ.นครราชสีมา

    ความไม่เข้าใจของ สพท.และ ศธจ.เป็นเพราะบทบาทหน้าที่การทำงานที่ทับซ้อน โดยเฉพาะข้อที่ 13 ของคำสั่งหัวหน้า คสช."ธนชน มุทาพร"ผู้อำนวยการ สพป.ชัยภูมิ เขต 1 ในฐานะประธานชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย (ชร.ผอ.สพท.) บอกว่า การเคลื่อนไหวที่ปรากฎทำให้เห็นว่าปัญหาของการทำงานระหว่าง ศธจ.และ สพท.มีอยู่จริง เกิดจากการมอบอำนาจการบรรจุแต่งตั้งตามมาตรา 53 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ ตามข้อที่ 13 ในคำสั่งคสช.ที่ 19/2560



         “ที่ผ่านมา ชร.ผอ.สพท.เคลื่อนไหว เรียกร้องมาตลอดว่าจะต้องแก้ไขคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560ในข้อ 13 นี้ เพราะทำให้การทำงานของ ศธจ.มีจุดอ่อน ไม่ได้ไปทำงานที่เน้นการบูรณาการตามภารกิจ แต่กลายเป็นมาทำแต่เรื่องของการบริหารงานบุคคล ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่าระบบการทำงานล่าช้า ก่อนหน้านี้บรรจุครูใหม่ 1 เดือนก็เรียบร้อยแล้วแต่เวลานี้ไม่ใช่ ยังสร้างภาระเรื่องงบประมาณที่สูญเสียไปกับการเดินทางด้วย ฉะนั้น จึงเสนอมาว่าขอให้แก้ไขโดยขอให้ผอ.สพท.ได้เข้าไปทำงานในหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ” ประธานชร.ผอ.สพท. กล่าว



         เวลานี้ ชร.ผอ.สพท.ล่ารายชื่อผู้อำนวยการและบุคลาการในสังกัด สพป.และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ทั่วประเทศ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้กว่า 50,000 รายชื่อเพื่อนำเสนอ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ให้มีการยกเลิกข้อที่ 13 ในคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 19/2560

        ผู้บริหารระดับสูง ศธ.ที่รู้ปัญหามองว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่าง สพท.และศธจ. ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ช่วงเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยเวลา ผู้ช่วยปลัด ศธ. สุรินทร์ แก้วมณี ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลการบริหารจัดการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) และ ศธจ. กล่าวว่า เวลานี้ได้วางกรอบแนวคิด 5 เรื่องเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงาน ศธจ.และสพท.อย่างเป็นระบบ



      โดยเรื่องแรก การจัดสรรกรอบอัตรากำลังของทั้ง สำนักงานศธจ. และ สพท. ให้เหมาะสมกับปริมาณงาน โดยในส่วนของสำนักงาน ศธจ. ต้องใช้บุคลากรประมาณ 45 อัตรา เฉพาะตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา 38 ค.(2)ซึ่งไม่รวมศึกษานิเทศก์ ขณะที่ สพท.แต่ละเขตใช้ประมาณ50-60อัตรา

        เรื่องที่ 2 การตีความกฎหมายที่คณะอุกรรมการด้านกฎหมายของ ศธ.จะต้องดูทั้ง อำนาจตามมาตรา 53 เดิมให้อำนาจสพท. เป็นผู้มีอำนาจการบรรจุแต่งตั้ง กับคำสั่ง คสช. ที่19/2560ข้อที่ 13 โดยจะพิจารณาว่าในคำสั่งดังกล่าว ให้ผอ.สพท. มีอำนาจตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ เหลืออยู่บ้าง เช่น อำนาจในการแต่งตั้งรักษาราชการแทน อำนาจในการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง เป็นต้น



       “ทั้ง 2 แนวทางนี้จะเสนอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (คปภ.)พิจารณาส่วน คปภ.พิจารณาว่าจะตีความแนวทางใดแล้ว ก็จะเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าแนวทางนั้นชอบด้วยข้อกฎหมายทั้งระบบหรือไม่” นายสุรินทร์ กล่าว

          นอกจากนี้ยังจะเสนอ 3.จัดทำแผนบูรณาการร่วมกันระหว่าง ศธจ. และสพท. ทั้งการอัตรากำลัง งบประมาณ การจัดการศึกษา 4.จัดระบบการนิเทศติดตาม และ 5.ทำคู่มือ ขั้นตอนการทำงานทั้ง ศธจ. และ สพท. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน



    คงถึงเวลาแล้วที่ปัญหาความขัดแย้งของ สพท.และ ศธจ.จะต้องหาทางออกที่ชัดเจน เมื่อต้องการให้ ศธจ.เป็นหน่วยสนับสนุนให้ฝ่ายปฏิบัติคือ สพท.ทำงานได้อย่างราบรื่น เพื่อเป้าหมายหลักของการทำงานเพื่อการศึกษาของเด็กและประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560
  • 01 ธ.ค. 2560 เวลา 16:33 น.
  • 12,116

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^