LASTEST NEWS

01 ส.ค. 2567ประกาศแล้ว !! เปิดรับสมัครสอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ปี 2567 รับสมัคร 16-22 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning

"ออมสิน"ยอมยกเลิกหักเงินกองทุนช.พ.ค.-ปลดหนี้ครูวินัยดี

  • 20 ต.ค. 2560 เวลา 01:26 น.
  • 36,292
"ออมสิน"ยอมยกเลิกหักเงินกองทุนช.พ.ค.-ปลดหนี้ครูวินัยดี

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"ออมสิน"ยอมยกเลิกหักเงินกองทุนช.พ.ค.-ปลดหนี้ครูวินัยดี

ออมสินจับมือ ศธ.ยอมยกเลิกหักเงินค่าทวงหนี้จากกองทุน ช.พ.ค. และให้ สกสค.นำเงิน 2.5 พันล้านบาทที่ได้รับค่าหัวคิวจัดการติดตามหนี้ครู มาจ่ายหนี้ให้ครูที่มีวินัยดี ไม่เคยติดค้างชำระ 12 เดือนติดต่อกัน

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินและกระทรวงศึกษาธิการได้บรรลุข้อตกลงในการยกระดับคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษาภายใต้แผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูอย่างยั่งยืน ปี 2560 เพื่อให้รางวัลคนผ่อนชำระดี โดยคืนเงินให้ 0.5-1% ทุกปี ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้เห็นชอบให้ยกเลิกข้อตกลงในการหักเงินจากบัญชีกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคง ตามโครงการสวัสดิการเงินกู้การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ซึ่งเดิมออมสินให้ สกสค.ช่วยดำเนินการบริหารติดตามหนี้ครู คิดเป็นเงินค่าจ้าง 0.5-1% ของมูลหนี้ที่ติดตามได้ เฉลี่ยเป็นเงินราว 200 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 2.5 พันล้านบาทต่อปี ที่ผ่านมาจ่ายมา 10 ปี เป็นเงินกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งออมสินจะให้นำเงิน 2.5 พันล้านดังกล่าวมาจ่ายคืนให้กับครูที่มีวินัยในการชำระหนี้ที่ดีติดต่อกัน 12 เดือน ธนาคารออมสินจะจัดสรรเงินเฉลี่ยคืน (แคชแบ็ก) คืนให้ในอัตรา 0.5-1% ของดอกเบี้ยที่ชำระ หรือตามอัตราที่ธนาคารกำหนด เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ครูที่ดีต้องการชำระหนี้

ทั้งนี้ ล่าสุดธนาคารมียอดสินเชื่อครูคงค้างที่ 4.75 แสนบัญชี คิดเป็นวงเงินสินเชื่อกว่า 4 แสนล้านบาท ลดลง 1 แสนล้านบาทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ครูที่มีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จำนวน 9.25 พันราย คิดเป็นวงเงิน 5.43 พันล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 1.2% ของยอดสินเชื่อครูคงค้าง ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้ฟ้องร้องดำเนินคดีไปแล้วกว่า 2 พันราย เหลืออีก 7 พันรายที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้

"แนวคิดเรื่องการสร้างค่านิยมเพื่อส่งเสริมและตอบแทนให้รางวัลคนดีมีวินัยทางการเงิน เป็นแนวของนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ต้องการให้ธนาคารนำเงินที่เคยไปอุ้มคนผิดนัดชำระหนี้เอามาช่วยครูที่ดีมีวินัยจะดีกว่า ซึ่งธนาคารออมสินก็เห็นพ้องด้วย" นายชาติชายกล่าว

นอกจากนี้ ศธ.ได้ให้ความร่วมมือแจ้งหน่วยงานต้นสังกัดครูผู้กู้ให้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารออมสินภายใต้เงื่อนไขพิเศษ 3 แนวทาง คือ 1.กรณีรายได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายมากกว่า 30% ของรายได้ สามารถพักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี และชำระดอกเบี้ยปกติ 100% 2.กรณีรายได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 15-30% ของรายได้ สามารถพักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี และชำระดอกเบี้ยปกติไม่น้อยกว่า 50% 3.กรณีรายได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 15% ของรายได้ สามารถพักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี และชำระดอกเบี้ยปกติไม่น้อยกว่า 25% เบื้องต้นคาดว่าจะมีลูกหนี้ที่ต้องการปรับโครงสร้างและลูกหนี้ที่คิดว่าจะไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ตั้งเป้าคนเข้าโครงการ 15% ของลูกหนี้ทั้งหมดคิดเป็นจำนวน 5-6 หมื่นราย

ส่วนลูกหนี้ที่ต้องการเก็บเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ค. ไว้ให้ทายาท สามารถนำหลักประกันอื่นมาเปลี่ยนได้ เช่น เช่น โฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 7 แสนบาท มาค้ำประกันแทนได้ เนื่องจากปกติในการขอสินเชื่อธนาคารจะให้ผู้กู้เซ็นยินยอมเรื่องการนำเงิน ช.พ.ค.มาหักชำระหนี้ได้ กรณีที่เสียชีวิตก่อน รวมถึงการรับทำประกันกลุ่มครูตามโครงการเงินกู้ ช.พ.ค. เชื่อว่าจะเป็นหลักประกันในการชำระหนี้คืนให้ธนาคาร

โดยเงินส่วนที่เหลือยังสามารถส่งคืนให้ทายาทได้ด้วย เช่น กรณีที่ครูเสียชีวิตก่อนจะได้เงิน ช.พ.ค. 9 แสนบาท ในส่วนนี้ธนาคารจะให้หักเป็นค่าฌาปนกิจ 2 แสนบาท เหลืออีก 7 แสนบาทไว้สำหรับชำระหนี้ส่วนที่ขาด ถ้าหากหนี้เหลือ 5 แสนบาท ธนาคารจะคืนเงินให้ทายาท 2 แสน แต่กรณีที่เงิน ช.พ.ค.ก็จะมีเงินที่ประกันต้องจ่าย ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้มีการจ่ายเงินประกันมากถึง 2 พันล้านบาท

“เชื่อว่าการยกเลิกข้อตกลงดังกล่าว ทาง ศธ.จะมีการลงนามเพื่อยกเลิกข้อตกลงเดิม และเริ่มข้อตกลงใหม่ในต้นปี 2561 แต่ครูที่เป็นลูกหนี้สามารถเข้ามาติดต่อกับธนาคารเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยในส่วนของการติดตามทวงหนี้ต่อจากนี้ ในต้นปีหน้า ศธ.รับจะประสานหน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ สำนักปลัด ศธ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จะให้ความร่วมมือในการนำส่งชำระหนี้ให้ธนาคาร” นายชาติชายกล่าว.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 20 ตุลาคม 2560 เวลา 00.00 น.
  • 20 ต.ค. 2560 เวลา 01:26 น.
  • 36,292

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^