LASTEST NEWS

12 ม.ค. 2568สพม.สมุทรปราการ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชีเขตอื่น) จำนวน 35 อัตรา - รายงานตัว 13 มกราคม 2568 12 ม.ค. 2568สพป.ปทมธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 20 อัตรา - รายงานตัว 13 มกราคม 2568 11 ม.ค. 2568​​​​​​​สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดสอบพนักงานราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.- บาท สมัครได้ตั้งแต่ 16-22 มกราคม 2568 10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ม.ค. 2568“วันครู” ปีนี้ “ศธ.จัดเต็ม”รับของขวัญจาก 11 หน่วยงาน ทั้ง ลดภาระ ส่งเสริม พัฒนา ฟรีเรียนออนไลน์ 10 ม.ค. 2568ดาวน์โหลด แบบบันทึกข้อความ ชี้แจงกรณียื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตล่าช้าหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว 10 ม.ค. 2568ครูอุ้ม เชิญชวนศิษย์ทั่วไทย ร่วมระลึก “พระคุณครู” 16 มกราคมนี้ เชื่อเมื่อครูเปลี่ยนทันโลก ช่วยสร้างศิษย์ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ ได้แน่นอน  10 ม.ค. 2568ครูอุ้มใจดี มอบโล่รางวัลแก่เด็กดีเด่น-เด็กที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ กว่า 1,292 คน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568 10 ม.ค. 2568อว.เตรียมผลิตครูพัฒนาท้องถิ่น เฟส 2 หลังเฟสแรกได้ครูรุ่นใหม่ ไฟแรง มีจิตวิญญาณ เก่ง ฉลาด แต่กว่าครึ่งมีจุดอ่อนด้านภาษา 

เร่งยกร่างพรบ.การศึกษาฯ นายกฯสั่งคลอดรัฐบาลนี้

  • 29 ส.ค. 2560 เวลา 21:39 น.
  • 3,120
เร่งยกร่างพรบ.การศึกษาฯ นายกฯสั่งคลอดรัฐบาลนี้

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เร่งยกร่างพรบ.การศึกษาฯ นายกฯสั่งคลอดรัฐบาลนี้

คกก.อิสระฯ เร่งยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติและ พ.ร.บ.อุดมศึกษา "วิวัฒน์" เผยนายกฯ สั่งต้องเสร็จรัฐบาลนี้ คาด 6 เดือนได้ข้อสรุป เล็งเสนอ ก.วิทย์ผนึก ก.อุดมฯ เป็นหน่วยงานวิจัย ตั้ง "หมอจรัส" เป็นประธานคณะอนุฯ เฉพาะกิจพิจารณา กม.อุดมศึกษาใหม่

เมื่อวันที่ 29 ส.ค นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รองประธานกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ว่า ที่ประชุมได้หารือแนวทางการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.... ตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำชับและเร่งรัดว่ากฎหมาย 2 ฉบับนี้จะต้องให้แล้วเสร็จในรัฐบาลชุดนี้ โดยในส่วนของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่ประชุมยังมีความเห็นหลากหลาย เนื่องจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นกฎหมายแม่ที่จะใช้ดูแลการศึกษาทั้งหมดของประเทศ ไม่ใช่เรื่องของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เท่านั้น แต่จะดูแลไปถึงการศึกษาที่อยู่นอก ศธ.ด้วย เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่ารัฐ ต้องจัดให้มีกลไกร่วมระหว่างรัฐ ท้องถิ่นและเอกชน ขณะนี้การจัดการศึกษาและการดูแลกลุ่มคนทุกช่วงวัยของประเทศยังไม่มีระบบที่แข็งแรง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 3 ขวบ ประมาณ 5 ล้านคน ยังไม่มีเจ้าภาพหลักจัดการศึกษาที่ชัดเจน ยังกระจัดกระจายกันทำ ขณะเดียวกันยังมีกลุ่มเด็กในระบบโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ดูแล 12.9 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวัยทำงาน 38 ล้านคน และกลุ่มผู้สูงอายุประมาณ 10 ล้านคน และมีแนวโน้มจะขยายตัวถึง 20 ล้านคน ทั้งหมดต้องมีการกำหนดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง โดยต้องทำประชาพิจารณ์รวบรวมความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่การจัดระบบการศึกษาใหม่ที่ดูแลคนทุกกลุ่มวัยได้เป็นอย่างดี คาดว่าไม่เกิน 6 เดือนจะได้ข้อสรุปในเรื่องนี้เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป

นายวิวัฒน์กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.... รัฐบาลต้องการให้คณะกรรมการอิสระฯ พิจารณาเพิ่มเติมเพื่อที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษาขึ้น โดยมี นพ.จรัส สุวรรณเวลา เป็นประธาน และมีผู้เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ด้วย โดยหลักแล้วคณะอนุกรรมการชุดนี้จะพิจารณาภาพรวมการพัฒนากำลังคนของประเทศ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษาที่อาจไม่ได้ดูแลงานเฉพาะเรื่องอุดมศึกษาเท่านั้น แต่รวมงานวิจัยและกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยมีผู้เสนอแนวคิดว่าในอนาคตกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ น่าจะเป็นหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงการอุดมศึกษาเพื่อดูแลงานวิจัยและการพัฒนากำลังคนของประเทศให้ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ต้องหาข้อสรุปที่ชัดเจนให้ได้ภายใน 5 เดือนนี้ก่อนจะนำเสนอรัฐบาลต่อไป

"นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาบทบาทของภาคเอกชนกับการศึกษาในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนเอกชนกับโรงเรียนรัฐ โดยที่ประชุมมองว่าโรงเรียนเอกชนได้รับเงินการสนับสนุนจากรัฐน้อยกว่าโรงเรียนรัฐ แต่ปรากฏว่าประสิทธิภาพการทำงานของโรงเรียนเอกชนสูงกว่า ในเบื้องต้นที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการว่าภาครัฐไม่ควรลงไปทำทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่โรงเรียนเอกชนทำได้ดีกว่า รัฐควรเข้าไปหนุนเสริม ไม่ใช่ไปแย่งทำจนโรงเรียนเอกชนต้องปิดกิจการ หลักการดังกล่าวยังไม่ถือเป็นข้อสรุปที่ชัดเจน ต้องรอฟังผลการรับฟังความคิดเห็นรอบด้านจากทุกฝ่ายก่อน ประกอบกับการดูทิศทางการดำเนินงานจากต่างประเทศด้วย" รองประธานคณะกรรมการอิสระฯ กล่าว.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 30 สิงหาคม 2560
  • 29 ส.ค. 2560 เวลา 21:39 น.
  • 3,120

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^