LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567

เอ็กซ์เรย์ "คูปองพัฒนาครู"

  • 14 ส.ค. 2560 เวลา 23:05 น.
  • 6,160
เอ็กซ์เรย์ "คูปองพัฒนาครู"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ร้องเรียนกันรายวันกับโครงการคูปอง 1 หมื่นบาทให้ครูไปช้อปปิ้งคอร์สตามต้องการ เพื่อพัฒนาตนเอง ทั้งระบบที่ไม่สมบูรณ์ ปัญหาหน่วยจัดอบรมลองมาหาคำตอบกัน..

     งานฟ้องรายวัน!!ผ่านสื่อโซเชียลกับสารพัดปัญหาการอบรมพัฒนาครู ในโครงการพัฒนาครูครบวงจรรูปแบบใหม่ แจกคูปองในวงเงิน 10,000 บาทต่อคนต่อปีงบประมาณ ของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ที่จัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์ ไม่รองรับความต้องการครู หน่วยจัดอบรมที่ไม่ทำตามเงื่อนไข เลื่อนวันไม่แจ้งล่วงหน้า พื้นที่จัดอบรมไม่ครอบคลุมต้องเดินทางไกล ปัญหาการเบิกจ่ายเงิน ไปจนถึงมีการจ่ายเงินถอนเพื่อจูงใจให้ครูเลือกเข้ารับการอบรมหลักสูตรนั้นๆ

       เรียกได้ว่า..พอเปิดให้ครูลงทะเบียนออนไลน์ช้อปปิ้งคอร์ส ปัญหาก็ผุดตามมาให้แก้ไม่หวาดไม่ไหว ปีงบประมาณ 2560 เป็นปีแรกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับอนุมัติงบประมาณกว่า 1,447 ล้านบาท มาใช้ในโครงการดังกล่าว ยังเหลืองบฯที่รอการอนุมัติก่อนวันที่ 30 ก.ย.อีกกว่า 3,412 ล้านบาท มีหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากสถาบันคุรุพัฒนาทั้งสิ้น 1,460 หลักสูตร มีครูลงทะเบียนอบรมหลักสูตร 591,635 ที่นั่ง จากครูในระบบทั้งหมด 311,091 คน ในจำนวนนี้ลงทะเบียนสำเร็จ 202,870 คน ซึ่งในรุ่นแรกนี้จะเริ่มอบรมตั้งแต่ 20 ก.ค.-30 ก.ย.นี้ ใน 838 หลักสูตร (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ส.ค.จากสำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพค.)

     นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการพัฒนาครูครบวงจรรูปแบบใหม่ ครูจะได้เลือกสมัครเข้าอบรมในหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการเพื่อพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง และไม่กระทบหรือทำให้ครูต้องละทิ้งห้องเรียน แม้ตอนนี้ครูจะมีข้อร้องเรียนส่งเข้ามามากมาย ไม่ว่าจะเป็น โครงการนี้ทำให้ทุจริต มีเงินทอนให้ครู หรือมีหน่วยจัดมาติดต่อผู้บริหารจัดคอร์สอบรมเสร็จแล้วพาไปเที่ยว แจ้งอบรมรุ่นละ 100 คนแต่เวลาจัดอบรมจริงกลายเป็น 800 คน รวมถึงการอบรมไม่มีคุณภาพ ซึ่งกรณีทั้งหมดได้มอบให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องลงไปตรวจสอบแล้ว หากพบว่ามีปัญหาจริงจะไม่ปล่อยไว้อย่างแน่นอน


      “คอร์สต่างๆที่จัดให้ครูได้เลือกมีของดีมากถึง 90%อย่าเพิ่งไปกังวล การช้อปปิ้งคอร์ส เป็นธรรมชาติของระบบกลไกตลาดย่อมมีทั้งของดีและไม่ดี ครูในฐานะลูกค้าจะตอบคำถามเหล่านี้เอง ซึ่งผมได้สั่งการให้มีการจัดเรตติ้งคอร์สต่างๆไว้ การทำงานในรุ่นแรกอาจมีปัญหาบ้างก็แก้ไขกันไป แต่มีเสียงสะท้อนว่ามาถูกทางเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งรุ่นที่ 2 ปีงบฯ 2561จะเข้มข้นขึ้นให้อยากให้ครูที่สอนวิชาหลักเข้าอบรมครูตามสาขามากขึ้น แต่ยังเปิดกว้างให้ครูเช่นเดิมและจะแบล็กลิสต์หลักสูตรที่ไม่มีคุณภาพ”

     หากปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาครู แล้วประโยชน์ไปไม่ถึงเด็กและครู การดำเนินการต่างๆ ก็คงไม่มีความหมาย!!!!

     นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่ออีกว่า ที่กำลังทำคือการปรับรูปแบบพัฒนาครูประจำการกว่า 4 แสนคนทั่วประเทศ และเชื่อมโยงกับเส้นทางความก้าวหน้าทางวิชาชีพ หรือ เกณฑ์วิทยฐานะใหม่ที่ให้ครูต้องพัฒนาตัวเองอย่างน้อย 12-20 ชั่วโมงต่อปี ผ่านคูปองคนละ 10,000 บาทต่อปี เพราะอดีต “การอบรมครู” ทำกระจัดกระจายตั้งงบประมาณพัฒนาไว้สูงถึงปีละ 2 หมื่นล้านบาท แต่กลายเป็นว่าคนอยู่พื้นที่ห่างไกลเข้าไม่ถึงหลักสูตรอบรม ผู้จัดอบรม วิทยากร ผู้อบรมก็หน้าเดิมๆ ทว่าหลังจากนี้ครูได้มีโอกาสเลือกการพัฒนาครูจะส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนได้อย่างแท้จริง ใช้งบฯปีละ 4 พันล้านบาท


     ขณะที่ ครูสอนภาษาไทยรายหนึ่งในกรุงเทพฯ บอกว่า เลือกสมัครอบรมหลักสูตรการพัฒนาส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนภาษาไทย” ใช้เวลาอบรม 1 วันซึ่งผ่านการอบรมไปไม่นานนี้ ส่วนตัวรู้สึกพอใจเพราะจำนวนคนอบรมไม่มากประมาณ 30 คน ทำให้วิทยากรดูแลให้คำแนะนำได้ทั่วถึง ต่างจากแต่ก่อนเวลาที่ได้รับมอบหมายไปอบรมคนเข้าร่วมจะเยอะมากหลักร้อยคน สงสัยหรืออยากถามอะไรก็ทำได้ยาก ดังนั้น ในภาพรวมการให้ครูได้เลือกเองว่าจะอบรมอะไร เพื่อพัฒนาตนเองเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตาม กว่าจะได้อบรมก็เจอปัญหาไม่ต่างกับคนอื่นๆ เช่น ระบบการลงทะเบียนไม่ค่อยสมบูรณ์ การเลือกวิชาที่จะอบรม เนื่องจากมีหลักสูตรเยอะมาก แม้จะมีคำอธิบายแต่หลายหลักสูตรก็มีความคล้ายกัน ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการจัดกลุ่มตามสาระวิชา ยังมีเรื่องค่าอบรมที่บางหลักสูตรค่อนข้างสูง 5-6 พันบาท หรือกรณีการเบิกเงินค่าอบรม ที่บางคนต้องสำรองไปก่อน อีกเรื่องคือ สถานที่จัดอบรมที่ค่อนข้างไกล ถ้าเป็นไปได้รุ่นถัดไปอยากเสนอให้เพิ่มสถานที่จัดมากขึ้น


    ด้าน นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการ สพค. สพฐ. กล่าวว่า ปัญหาของครูที่พบมี ทั้งลืมรหัสการลงทะเบียน กรอกอีเมล์ผิด การสำรองเงินส่วนตัวจ่ายล่วงหน้าแต่ถูกยกเลิกเพราะลงทะเบียนไม่ทันเบิกคืนได้หรือไม่ เหล่านี้ถามกันเข้ามามาก ที่ผ่านมาได้จัดสพฐ.สัญจร ไปในจุดใหญ่ๆเช่น กรุงเทพฯ พิษณุโลก รวมถึงวิดีโอคอนเฟอร์เร้นส์ผ่าน obec channel รวบรวมคำถามและชี้แจงแนวทางแก้ปัญหา ถึงตอนนี้คำถามต่างๆลดลงไปมากตรงนี้สะท้อนว่าครูได้รับฟังมีความเข้าใจและไม่มีคำถามเพิ่มเติม ทั้งนี้ในการเบิกจ่ายเงินครูต้องมีใบเสร็จยื่นเป็นหลักฐานให้แก่ทางเขตพื้นที่ฯ แม้จะสำรองจ่ายไปก่อนก็ตาม หากเงินอบรมเหลือก็ต้องส่งคืน ตรงนี้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตได้ และเชื่อว่าคงไม่มีครูคนไหนทุจริต ส่วนกรณีเงินทอนครูนั้น สพฐ.ได้ตั้งทีมกฎหมายลงไปตรวจสอบ มีการทำหนังสือถึงหน่วยจัดอบรมเอกชนให้ชี้แจงข้อเท็จจริง ซึ่งการอบรมยังไม่เกิดขึ้นเป็นในลักษณะการพูดคุยผ่านไลน์ว่าจะลดการอบรมจาก 4 วันเหลือ 2 วันให้เงิน 2,000 บาท เท่ากับเหลือเงิน 8,000 บาทแต่เขียนใบเสร็จ 10,000 บาท ตรงนี้ส่อเจตนาทำผิดเงื่อนไขหลักเกณฑ์


    “สพค.ได้วางระบบการประเมินผลเริ่มตั้งแต่ 1.ครูประเมินหน่วยจัดอบรม ซึ่งต้องประเมินตามจริงเพราะจะช่วยสะท้อนคุณภาพหลักสูตร การบริหารจัดการ 2.ผอ.โรงเรียน ประเมินครูหลังผ่านไป 3 สัปดาห์ดูว่าครูมีการต่อยอดความรู้ที่ได้รับไปสู่ห้องเรียน พัฒนาผู้เรียนหรือไม่ ขณะเดียวกัน ผอ.โรงเรียนต้องประเมินด้วยว่าหน่วยจัดอบรมมีการติดตามผลผู้เข้ารับอบรมหรือไม่ แม้จะจบคอร์สอบรมแต่ยังต้องมีการติดตามประเมินผลต่อเนื่อง”นางเกศทิพย์ กล่าว

    อย่างไรก็ตาม การติดตามอาจมีหลายรูปแบบทั้งลงพื้นที่ หรือออนไลน์ เพื่อให้คำแนะนำแก่ครู นอกจากนี้ ครูต้องสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional Learning Community : PLC ที่ให้ครูมาร่วมแชร์ประสบการณ์ความรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอนสู่เด็ก รวมถึงพัฒนาวิชาชีพครูผ่านคุณภาพเด็กด้วย ตรงนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนที่สำคัญ และในอนาคตจะทำให้ สพฐ.มีระบบฐานข้อมูลครูที่เข้ารับการอบรมทั่วประเทศ.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 14 สิงหาคม 2560 เวลา 06:35 น.
  • 14 ส.ค. 2560 เวลา 23:05 น.
  • 6,160

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^