LASTEST NEWS

11 ม.ค. 2568​​​​​​​สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดสอบพนักงานราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.- บาท สมัครได้ตั้งแต่ 16-22 มกราคม 2568 10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ม.ค. 2568“วันครู” ปีนี้ “ศธ.จัดเต็ม”รับของขวัญจาก 11 หน่วยงาน ทั้ง ลดภาระ ส่งเสริม พัฒนา ฟรีเรียนออนไลน์ 10 ม.ค. 2568ดาวน์โหลด แบบบันทึกข้อความ ชี้แจงกรณียื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตล่าช้าหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว 10 ม.ค. 2568ครูอุ้ม เชิญชวนศิษย์ทั่วไทย ร่วมระลึก “พระคุณครู” 16 มกราคมนี้ เชื่อเมื่อครูเปลี่ยนทันโลก ช่วยสร้างศิษย์ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ ได้แน่นอน  10 ม.ค. 2568ครูอุ้มใจดี มอบโล่รางวัลแก่เด็กดีเด่น-เด็กที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ กว่า 1,292 คน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568 10 ม.ค. 2568อว.เตรียมผลิตครูพัฒนาท้องถิ่น เฟส 2 หลังเฟสแรกได้ครูรุ่นใหม่ ไฟแรง มีจิตวิญญาณ เก่ง ฉลาด แต่กว่าครึ่งมีจุดอ่อนด้านภาษา  09 ม.ค. 2568โรงเรียนเพชรพิทยาคม รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งพนักงานบริการ สมัครได้ที่  กลุ่มบริหารงานบุคคล โรงเรียนเพชรพิทยาคม ตั้งแต่วันที่  14 – 18 มกราคม พ.ศ. 2568  (ไม่เว้นวันหยุดราชการ 08 ม.ค. 2568สำนักงาน ก.พ. รับสมัครแข่งขันเพื่อเป็นบัญชีร่วม สำหรับให้ส่วนราชการใช้บรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ประจำปี 2568 จำนวน 299 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 23 มกราคม 2568

ชี้ผลิตครู5ปีผลเสียเพียบ หนุนกลับไปใช้หลักสูตร4ปี

  • 05 ก.ค. 2560 เวลา 19:13 น.
  • 19,607
ชี้ผลิตครู5ปีผลเสียเพียบ หนุนกลับไปใช้หลักสูตร4ปี

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ชี้ผลิตครู5ปีผลเสียเพียบ หนุนกลับไปใช้หลักสูตร4ปี

“พัทธนันท์ “หนุนกลับไปผลิตครู 4 ปี ชี้ครู 5 ปี พบปัญหาหาเพียบ คุณภาพของเด็กก็ไม่มีอะไรเปลี่ยน ทั้งเสียเปรียบวิชาชีพอื่นเรียนแค่ 4 ปีแต่ได้เงินเดือนไม่ต่างกัน แถมผู้ปกครองต้องรับภาระส่งเรียนหลายปี

ผศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค อดีตรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการคุรุสภามีมติเห็นชอบในหลักการการให้กลับไปผลิตครูหลักสูตร 4 ปี ว่า ตนสนับสนุนมติดังกล่าว เนื่องจากหลักสูตรการผลิตครู 5 ปีที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2547 ไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพของเด็กไทยอย่างเห็นได้ชัด โดยดูได้จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต หรือโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือพิซ่าที่มีแนวโน้มลดลงตลอด ขณะที่เวลาในการจัดการเรียนการสอนมากเกินไปเมื่อเทียบกับหลักสูตรการผลิตครูในต่างประเทศ ซึ่งใช้เวลาเพียง 3 – 4 ปี ก็สามารถผลิตครูที่มีคุณภาพและคะแนนผลการสอบ พิซ่าของเด็กต่างประเทศก็สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกด้วย ซึ่งสถาบันการผลิตครูต้องตระหนักถึงหลักความคุ้มค่าการลงทุนด้านการผลิตครูว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่

ผศ.ดร.พัทธนันท์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ผู้ที่เรียนวิชาชีพครูหลักสูตร 5 ปี ยังเสียเปรียบด้านเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นที่ใช้ระยะเวลาเรียนเพียง 4 ปีก็สามารถประกอบอาชีพได้ รวมถึงยังเป็นภาระกับผู้ปกครองเนื่องจากต้องส่งบุตรหลานเรียนถึง 5 ปี แต่จบออกมาได้รับเงินเดือนไม่แตกต่างกับวิชาชีพอื่น และเมื่อพิจารณารายได้ของครอบครัวนิสิตนักศึกษาที่มาเรียนวิชาชีพครูส่วนใหญ่ก็ประสบปัญหาทางการเงิน จนต้องกู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) ที่สำคัญหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี ยังไม่ตอบสนองกับความต้องการของโรงเรียนในประเทศอย่างแท้จริง เห็นจากผลการวิจัยการประเมินหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ระบุถึงปัญหาของครูรุ่นใหม่ที่มีความอดทนน้อย และปรับตัวไม่ได้กับสภาพจริงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ. ) เพราะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพอยู่บนมาตรฐานของโรงเรียนที่มีความพร้อมสูง แต่โรงเรียนไม่ได้มีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั้งประเทศไทย  ขณะที่นักศึกษาครูจะต้องทำวิจัยในชั้นเรียนแบบ 5 บทเหมือนวิทยานิพนธ์ ทั้งที่ความเป็นจริงในโรงเรียนเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหากับผู้เรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหา หลักจิตวิทยาที่ทันต่อเหตุการณ์ไม่ใช้ ห่วงแต่การทำเอกสารที่สมบูรณ์  ดังนั้นการกลับไปผลิตครูหลักสูตร 4 ปีเป็นเรื่องที่ดีและผลิตครูทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2560 เวลา 16.03 น.


  • 05 ก.ค. 2560 เวลา 19:13 น.
  • 19,607

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^