LASTEST NEWS

11 ม.ค. 2568​​​​​​​สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดสอบพนักงานราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.- บาท สมัครได้ตั้งแต่ 16-22 มกราคม 2568 10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ม.ค. 2568“วันครู” ปีนี้ “ศธ.จัดเต็ม”รับของขวัญจาก 11 หน่วยงาน ทั้ง ลดภาระ ส่งเสริม พัฒนา ฟรีเรียนออนไลน์ 10 ม.ค. 2568ดาวน์โหลด แบบบันทึกข้อความ ชี้แจงกรณียื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตล่าช้าหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว 10 ม.ค. 2568ครูอุ้ม เชิญชวนศิษย์ทั่วไทย ร่วมระลึก “พระคุณครู” 16 มกราคมนี้ เชื่อเมื่อครูเปลี่ยนทันโลก ช่วยสร้างศิษย์ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ ได้แน่นอน  10 ม.ค. 2568ครูอุ้มใจดี มอบโล่รางวัลแก่เด็กดีเด่น-เด็กที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ กว่า 1,292 คน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568 10 ม.ค. 2568อว.เตรียมผลิตครูพัฒนาท้องถิ่น เฟส 2 หลังเฟสแรกได้ครูรุ่นใหม่ ไฟแรง มีจิตวิญญาณ เก่ง ฉลาด แต่กว่าครึ่งมีจุดอ่อนด้านภาษา  09 ม.ค. 2568โรงเรียนเพชรพิทยาคม รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งพนักงานบริการ สมัครได้ที่  กลุ่มบริหารงานบุคคล โรงเรียนเพชรพิทยาคม ตั้งแต่วันที่  14 – 18 มกราคม พ.ศ. 2568  (ไม่เว้นวันหยุดราชการ 08 ม.ค. 2568สำนักงาน ก.พ. รับสมัครแข่งขันเพื่อเป็นบัญชีร่วม สำหรับให้ส่วนราชการใช้บรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ประจำปี 2568 จำนวน 299 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 23 มกราคม 2568

ใช้มา 10 ปีถึงเวลาปรับหลักสูตร

  • 06 มิ.ย. 2560 เวลา 11:55 น.
  • 8,925
ใช้มา 10 ปีถึงเวลาปรับหลักสูตร

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ใช้มา 10 ปีถึงเวลาปรับหลักสูตร 

          กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตั้งเป้าปี 2560 จะประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับใหม่) ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายละเอียดเนื้อหาวิชาให้มีความทันสมัย ใกล้ตัว ตลอดจนยืดหยุ่นให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการเวลาได้ คาดว่าจะเสนอให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เดือนมิถุนายนนี้ พิจารณาก่อนเสนอและรมว.ศึกษาธิการ ลงนามประกาศใช้ในปีการศึกษา 2561 เพราะเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างคน เช่นเดียวกัน “การปฏิรูปหรือการปรับปรุงหลักสูตร”ก็จะถูกหยิบขึ้นมาให้ต้องชำระใหม่เสียทุกครั้ง เพราะมองว่าเป็นสาเหตุสำคัญของคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะ “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551”ใช้มานานนับ 10 ปี ก็ถึงวงรอบที่ต้องปรับแก้ไขให้ทันยุคสมัย!!
          การปรับปรุงหลักสูตรเริ่มขยับเดินหน้าในสมัยรมว.ศึกษาธิการยุคคสช.คนที่ 2 พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ครั้งนั้นมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติขึ้น มีคณะกรรมการย่อย 3 คณะ โจทย์ที่ศึกษาคือไปดูหลักสูตรฯที่ใช้อยู่ว่าอะไรเป็นปัญหาเพื่อนำมาปรับปรุงใหม่ วางเนื้อหาเป็น 2 ส่วน คือ สิ่งที่ต้องรู้ ให้เด็กเรียนในห้องเรียน และสิ่งที่ควรรู้ เรียนรู้ภายนอกห้องเรียน
          กระทั่งมีการเปลี่ยน รมว.ศึกษาธิการ คนที่ 3 มาเป็น นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ซึ่งรู้เนื้องานมาแต่สมัยเป็น รมช.ศึกษาธิการ ยุค “หมอธี” ได้ให้นโยบายและหลักการเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรแก่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งหน่วยงานต่างๆ จัดตั้งทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านดำเนินการเอง
          ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร
          รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
          เล่าความก้าวหน้าการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กับทีมข่าว คม ชัด ลึก ว่า นพ.ธีระเกียรติ ให้นโยบายเอาไว้ว่า เนื้อหาหลักสูตรที่ปรับปรุงจะต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย สังคมโลก และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดจนสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกัน ให้ยึดหลักการกระจายอำนาจ การยืดหยุ่นเรื่องของโครงสร้างเวลาเรียน เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ แต่อยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรฯ โดยยังยึดใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งจากนโยบายดังกล่าว สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สพฐ. ได้กำหนดแผนการดำเนินการเป็น 3 ระยะ
          โดยระยะแรก การปรับโครงสร้างเวลาเรียน เพื่อเอื้อให้โรงเรียนบริหารจัดการเวลาเรียนได้คล่องตัวขึ้น ตรงนี้หมายถึงเป็นการยืดหยุ่นเวลาเรียน เช่น โรงเรียนในภาคใต้เห็นว่าในช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-3) ควรเน้นเรียนวิชาภาษาไทย เพื่อให้เด็กจะอ่านออก เขียนได้ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ โรงเรียนก็สามารถไปปรับลดเวลาเรียนในรายวิชาเพิ่มเติม และมาเพิ่มเวลาชั่วโมงวิชาภาษาไทย แต่จะต้องอยู่ในกรอบโครงสร้างเวลาที่กำหนดว่าไม่เกินกี่ชั่วโมง เป็นต้น ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดโครงสร้างเวลาเรียน และยกร่าง ประกาศเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ ลงนาม
          ดร.บุญรักษ์ อธิบายต่อว่าการปรับปรุงหลักสูตรฯ ยังคงยึด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ แต่ในระยะที่ 2จะปรับปรุงใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, การงานอาชีพและเทคโนโลยี เฉพาะสาระฯที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) รับผิดชอบ ขณะที่วิชาภูมิศาสตร์ที่แยกออกมาจากกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นหน้าที่ของ สพฐ. ซึ่งหลักสูตรทั้งหมดใช้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนปลาย และหลังจากดำเนินการในระยะที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว
          จึงจะเข้าสู่แผนระยะที่ 3 ปรับปรุงหลักสูตรฯ ใน 5 กลุ่มสาระฯ ที่เหลือ ได้แก่ ภาษาไทย, สังคมศึกษาฯ,ภาษาต่างประเทศ,สุขศึกษาและพลศึกษา และศิลปะ กรอบวิชาภูมิศาสตร์ ที่ สพฐ.รับผิดชอบ เดิมจะเน้นเรื่องทางสังคม แต่ที่ปรับปรุงใหม่จะเน้นอิงกับชีวิตประจำวัน เช่น พูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ต้องปรับตัวเป็นสาระความรู้เชิงคุณภาพชีวิต ในส่วน สสวท.ทราบว่าได้จัดทำฉบับร่างเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น “ที่ผ่านมาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เดินหน้าศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายละเอียดในการปรับปรุงหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่อง แต่หากมีข้อเสนอแนะ หรือแนวคิดใหม่ๆก็มาดูเพิ่มเติม และด้วยเนื้องานจำเป็นต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบ แต่เวลานี้ก็เดินหน้าไปได้มาก อยู่ในแผนระยะที่ 1 และ 2 ที่ต้องทำรายละเอียดของเนื้อหาวิชาและโครงสร้างเวลาเรียนให้สอดคล้องกับการปรับปรุงหลักสูตรให้พร้อมเสนอที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)”ดร.บุญรักษ์ กล่าวดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร  เมื่อปรับปรุงหลักสูตรฯ แล้วเสร็จ สพฐ.จะต้องเสนอเสนอร่างหลักสูตรฯ ให้บอร์ด กพฐ.พิจารณาก่อน แต่เนื่องจากขณะนี้ อยู่ระหว่างการสรรหาคณะกรรมการฯชุดใหม่คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมิถุนายนนี้
          ดร.บุญรักษ์อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อบอร์ด กพฐ.ชุดใหม่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ ก็จะตั้งคณะอนุกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อกพฐ.) ด้านหลักสูตร ขึ้นมา 1 ชุดเพื่อพิจารณาร่าง หลักสูตรฯ หากเห็นว่าต้องมีการปรับแก้ก็จะส่งกลับมาให้ สพฐ.มาดำเนินการ แต่ถ้าพิจารณาและรับในหลักการตามกรอบของร่าง หลักสูตรฯ ก็จะเสนอให้บอร์ด กพฐ.พิจารณาและเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ ลงนามประกาศใช้ จึงจะถือว่าสมบูรณ์ กระบวนการตรงนี้ใช้เวลาไม่นาน
          สพฐ.ตั้งเป้าว่าการปรับปรุงร่างหลักสูตรฯ จะเน้นที่ 3 กลุ่มสาระฯ ให้เสร็จเรียบร้อยเพื่อให้ทันประกาศใช้ในปี 2560 ตรงนี้จะเชื่อมโยงกับการปรับปรุงเนื้อหาในหนังสือเรียนที่นักเรียนจะได้ใช้เรียนในปีการศึกษา 2561

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 5 มิถุนายน 2560
  • 06 มิ.ย. 2560 เวลา 11:55 น.
  • 8,925

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^