LASTEST NEWS

12 พ.ย. 2567(( ไม่ต้องใช้วุฒิครู )) เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพี่เลี้ยง สังกัดสพป.สระบุรี เขต 1 วุฒิม.3 ขึ้นไป เงินเดือน 10,430 - 13,800 บาท สมัครตั้งแต่ วันที่ 11 -15 พฤศจิกายน 2567 12 พ.ย. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการครู วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครตั้งแต่ 18-24 พ.ย.2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 12 พ.ย. 2567สพป.สุพรรณบุรี เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 2 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 11-15 พฤศจิกายน 2567 12 พ.ย. 2567สพป.สุโขทัย เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการครู 6 อัตรา สมัครตั้งแต่ วันที่ 18 - 22 พฤศจิกายน 2567 12 พ.ย. 2567สพป.สุโขทัย เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพี่เลี้ยง วุฒิม.3 ขึ้นไป เงินเดือน 10,430 - 13,800 บาท สมัครตั้งแต่ วันที่ 18 - 22 พฤศจิกายน 2567 12 พ.ย. 2567เช็กด่วน..กรุงเทพมหานคร ประกาศ วัน เวลา สถานที่สอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1/2567 แล้ว!! 12 พ.ย. 2567สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 44 อัตรา รายงานตัว 18 พ.ย.2567 12 พ.ย. 2567โรงเรียนสตรีนนทบุรี ประกาศหยุดเรียนกรณีพิเศษ วันที่ 27 ธ.ค.67, 2 ม.ค.68  และ 3 ม.ค.68  ส่งผล ปีใหม่ หยุดยาว 10 วัน 11 พ.ย. 2567สพม.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดสอบบรรจุครูผู้ช่วย 18 อัตรา สมัครด้วยตนเองตั้งแต่วันที่ 11-17 พ.ย.2567 11 พ.ย. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 13 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 18-22 พ.ย.2567

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 274/2560 ผลประชุมองค์กรหลัก 20/2560

  • 31 พ.ค. 2560 เวลา 10:15 น.
  • 5,454
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 274/2560 ผลประชุมองค์กรหลัก 20/2560

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 274/2560
ผลประชุมองค์กรหลัก 20/2560


นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมองค์กรหลัก ผู้ตรวจราชการกระทรวง และศึกษาธิการภาค ครั้งที่ 20/2560 เมื่อวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2560 โดยมี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารฝ่ายการเมือง เข้าร่วมประชุม

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษาในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมว่า  ที่ประชุมได้ประชุมหารือใน 4 ประเด็นที่สำคัญ คือ การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องพระบรมราโชบาย 4 ประการของในหลวงรัชกาลที่ 10การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา, การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค  และการดูแลรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานและสถานศึกษา

● การพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องพระบรมราโชบายด้านการศึกษา 4 ประการของในหลวงรัชกาลที่ 10

กระทรวงศึกษาธิการ จะน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 ใส่เกล้าฯ และยึดมั่นปฏิบัติเป็นหลักในการพัฒนาการศึกษาของชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม โดยการจัดการศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน คือ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรมจริยธรรม 3) มีงานทำ มีอาชีพสุจริต 4) เป็นพลเมืองดี


● การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

ด้วยมาตรา 261 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระจำนวน คณะ เพื่อดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย โดยคณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งครบกำหนดวันที่ มิถุนายน 2560

เพื่อให้การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญฯคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา จำนวน 25 ราย ดังนี้

ศาสตราจารย์กิตติคุณจรัส สุวรรณเวลา เป็นประธานกรรมการ  โดยคณะกรรมการประกอบด้วย นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา นายไกรยส ภัทราวาท รองศาสตราจารย์จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองศาสตราจารย์ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ รองศาสตราจารย์ดารณี อุทัยรัตนกิจ นายตวง อันทะไชย รองศาสตราจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย รองศาสตราจารย์ทิศนา แขมมณี รองศาสตราจารย์นิชรา เรืองดารกานนท์ รองศาสตราจารย์นภดล ร่มโพธิ์ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล นางเพชรชุดา เกษประยูร นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร นางภัทรียา สุมะโน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ นางเรียม สิงห์ทร ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รองศาสตราจารย์ศิริเดช สุชีวะ นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล โดยมีสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการฯ

หน้าที่ของคณะกรรมการอิสระฯ คือ

  •  ศึกษาและเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทาง และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

  •  ศึกษาและเสนอแนะกลไก และระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาผู้ปกรอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู ต่อคณะรัฐมนตรี

  •  ศึกษาและเสนอแนะแนวทาง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับ เพื่อให้ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด ต่อคณะรัฐมนตรี

  • ศึกษาและเสนอแนะแนวทาง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ ต่อคณะรัฐมนตรี

  •  ร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู ตามมาตรา 54 วรรคหกของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

  • เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือแสดงความคิดเห็นประกอบการพิจารณา

  • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่มอบหมาย

  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการอิสระฯ มีวาระ 2 ปี เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะมีมติเปลี่ยนแปลงเป็นประการอื่น และให้คณะกรรมการอิสระฯ ประสานงานกับคณะกรรมการปฏิรูปคณะอื่น ๆ และรายงานผลดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ

ดร.กมล กล่าวด้วยว่า รมว.ศึกษาธิการ ได้ย้ำว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระชุดนี้ ถือเป็นความสำเร็จของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการปฏิรูปด้านการศึกษาที่จะทำให้ประเทศมีทิศทาง ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ล้วนแต่เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ มีความอิสระอย่างแท้จริง โดยไม่มีคนในกระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะกรรมการชุดนี้


● การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค

ดร.กมล กล่าวว่า ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีการแชร์ข้อมูลผ่าน Social Media ที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงหลายเรื่อง เช่น การยุบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ได้ย้ำในการประชุมครั้งนี้ด้วยว่า ไม่มีการยุบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอย่างแน่นอน และหากกระทรวงจะมีการปรับปรุงโครงสร้างใด ๆ จากนี้ไปจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการอิสระฯ เป็นผู้พิจารณาแทนกระทรวงศึกษาธิการ

นอกจากนี้ การเกลี่ยคนลงตำแหน่งต่าง ๆ ในสำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ และตามความเหมาะสม หากจำเป็นอาจใช้ระบบการช่วยปฏิบัติราชการได้ และหากพบปัญหาไม่มีคนจริง ๆ ก็ขอให้เน้นการทำงานเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่

ทั้งนี้ ในวันที่ มิถุนายนนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะจัดให้มีการประชุมในเรื่องนี้ จากนั้นในวันที่ 14-17 มิถุนายนนี้ ที่โรงแรมมิราเคิลฯ จะมีการประชุมเพื่อย้ำการทำงานของ ศธภ. และ ศธจ. รวมทั้งการมอบหมายงานในเรื่องต่าง ๆ แก่คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ทั้ง ชุด


● การดูแลรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานและสถานศึกษา

ดร.กมล กล่าวว่า พล.ท.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก นพ.ธีระเกียรติ ให้รับผิดชอบดูแลในเรื่องการเฝ้าติดตาม เตรียมการ ดูแลสถานศึกษาและส่วนราชการให้มีความปลอดภัย ซึ่งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการพบว่ามีการติดตั้งกล้องวงจรปิดทุกหน่วยงาน ส่วนใหญ่อยู่ในขั้นที่ดี แต่ต้องสำรวจเพิ่มเติมกล้องวงจรปิดที่เก่า หรือชำรุดเสียหาย หรือมีช่วงรอยต่อของการติดตั้งเพิ่มเติมด้วย

นอกจากนี้ ขอให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับการดูแลระบบรักษาความปลอดภัยอย่างจริงจัง เช่น การทำป้ายติดบัตรคล้องคอหรือบัตรติดหน้าอก การติดสติ๊กเกอร์รถยนต์ผ่านเข้า-ออกหรือจอด การติดตั้งถังดับเพลิง ระบบเตือนภัยต่าง ๆ เป็นต้น


บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
อิทธิพล รุ่งก่อน: ถ่ายภาพ
30/5/2560

ขอบคุณเนื้ือหาและข้อมูลข่าวจาก :: กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 30 พฤษภาคม 2560

 

  • 31 พ.ค. 2560 เวลา 10:15 น.
  • 5,454

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^