ความคืบหน้า (ร่าง) มาตรฐานตำแหน่งและหลักเกณฑ์ใหม่ในการประเมินวิทยฐานะ
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 251/2560
ความคืบหน้า
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560 ว่า ที่ประชุมได้
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. จะได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะใหม่ ผ่านทางเฟสบุ๊กและเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ค.ศ. (www.otepc.go.th) พร้อมเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของส่วนราชการต่าง ๆ ในระหว่างวันที่ 20-31 พฤษภาคม 2560
นอกจากนี้ ได้เตรียมจัดให้มีการประชาพิจารณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2560 เพื่อรับฟังความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ความเหมาะสมของจำนวนชั่วโมงในการปฏิบัติการสอน 800 ชั่วโมง/ปี, ความยืดหยุ่นของการจัดการเรียนการสอนตามสังกัด หรือสาขาวิชาเอก (พลศึกษา/นาฏศิลป์) หรือตามความยุ่งยากของการสอน, ความเหมาะสมของระยะเวลาจำนวน 5 ปี ในการก้าวไปสู่แต่ละวิทยฐานะทุกวิทยฐานะ, การพัฒนาก่อนแต่งตั้งทุกวิทยฐานะ, ความเหมาะสมของบทเฉพาะกาล ที่กำหนดให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูก่อนประกาศใช้หลักเกณฑ์ฯ ยังคงมีสิทธิ์ขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 เป็นการเปิดช่องให้ใช้บทเฉพาะกาลฉบับเก่าได้ เพื่อไม่ให้กระทบกับคนที่มีสิทธิ์ตามระเบียบเดิม เป็นต้น
จากนั้น จะนำผลจากการรับฟังความคิดเห็นมาปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่ เพื่อนำเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับนโยบายและระบบบริหารงานบุคคลให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2560 พร้อมประกาศใช้ให้ทันวันที่ 5 กรกฎาคม 2560
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงประเด็นการพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง บางวิทยฐานะ ตามมาตรา 80 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้มีการอบรมแบบเข้ม จำนวน 180 ชั่วโมง หรือจำนวน 60 ชั่วโมงตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ. กำหนด ว่าที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง โดยเสนอให้มีการปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาด้วยวิธีการที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่น แต่ยังคงตอบโจทย์สมรรถนะการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตามระบบ Professional Learning Community (PLC) หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การพัฒนาตามหลักสูตรคุรุพัฒนา, การพัฒนาด้วยระบบพี่เลี้ยง โดยผู้พัฒนาเป็นผู้เลือก, การฝึกงาน ฝึกประสบการณ์, การอบรมแบบเข้มข้น เป็นต้น
ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ. นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการเพื่อดำเนินการต่อไป
- ผู้สอบแข่งขันได้ จำนวน 29,242 คน คิดเป็นร้อยละ 15.67 ของจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด แบ่งเป็น กศจ. 29,098 คน (ร้อยละ 99.50) และ สศศ. 144 คน (ร้อยละ 0.5)
- กลุ่มวิชาที่ไม่มีผู้สมัครสอบ คือ กลุ่มวิชาภาษาเขมร (กศจ.สุรินทร์)
- กลุ่มวิชาที่มีผู้สมัครสอบเพียงคนเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์สอบ คือ กลุ่มวิชาพยาบาลศาสตร์ (กศจ.เพชรบุรี)
- กลุ่มวิชาที่ไม่มีผู้สอบแข่งขันได้ มีจำนวน 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาภาษาพม่า (กศจ.ตาก) กลุ่มวิชานาฏศิลป์ (โขน) (กศจ.เพชรบุรี) และกลุ่มวิชาพุทธศาสนา (กศจ.นราธิวาส)
ที่ประชุมเห็นชอบการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในสายงานนิติกร ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.5/ว10 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2553
โดยปรับปรุงคุณสมบัติด้านการผ่านหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ ตามระดับการดำรงตำแหน่ง และกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานด้านกฎหมายในกรณีขอรับ พ.ต.ก. ในอัตราที่สูงขึ้น โดยต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานด้านกฎหมายในระดับตำแหน่งที่จะขอรับ พ.ต.ก. เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
นวรัตน์ รามสูต,
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงาน ก.ค.ศ.: ถ่ายภาพ
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 19 พฤษภาคม 2560