LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง

จบครูแต่เป็นครูไม่ได้...ชะตากรรม นศ.บนความไม่รับผิดชอบ

  • 06 เม.ย. 2560 เวลา 13:17 น.
  • 74,886
จบครูแต่เป็นครูไม่ได้...ชะตากรรม นศ.บนความไม่รับผิดชอบ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

จบครูแต่เป็นครูไม่ได้...ชะตากรรม นศ.บนความไม่รับผิดชอบ
ทีมล่าความจริง

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เปิดใจกับ “ทีมล่าความจริง” ทั้งน้ำตา หลังเรียนจบตามหลักสูตรครู 5 ปี แต่กลับไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูตามที่มหาวิทยาลัยให้ข้อมูลไว้ตั้งแต่แรก 

เธอบอกว่าที่เลือกเรียนที่นี่ เพราะมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงโด่งดัง และมีความน่าเชื่อถือเรื่องหลักสูตรครู ที่บ้านก็ยอมรับ จึงยอมให้เรียน เมื่อวานเดินทางมาจากจังหวัดปัตตานี ตั้งใจมายื่นหนังสือถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์ร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล ให้รับพิจารณาเรื่องนี้ เนื่องจากเธอต้องกู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาถึง 2 แสนบาท แต่เมื่อเรียนจบกลับหางานทำไม่ได้ ทำให้ครอบครัวได้รับความเดือดร้อน 

เช่นเดียวกับเพื่อนของเธออีกหลายคนที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดตั้งแต่เมื่อวาน บางคนถึงกรุงเทพฯช่วงเช้าวันนี้ นักศึกษาหลายคนยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า มหาวิทยาลัยประกาศเปิดรับสมัครโดยรับรองว่า หลักสูตรที่เปิดเป็นรุ่นที่ 2 ผ่านการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ.เรียบร้อยแล้ว และเมื่อเรียนจบจะได้ใบประกอบวิชาชีพครูอย่างแน่นอน 

แต่ความจริงกลับตรงกันข้าม เพราะหลังเรียนจบก็ไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพครูตามที่มหาวิทยาลัยแจ้งไว้ บางคนไม่กล้าแม้แต่จะเล่าให้ผู้ปกครองฟัง เพราะกลัวพ่อแม่เสียใจ เนื่องจากต้องเสียค่าเทอมปีละหลายหมื่นบาท รวม 5 ปี จ่ายค่าเล่าเรียนทั้งหมดเกือบ 4 แสนบาท แต่ไม่มีที่ไหนรับเข้าทำงาน 

ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยไม่เคยชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้น มีเพียงแต่เรียกนักศึกษาเข้าไปพูดคุยเมื่อมีการร้องเรียน และให้ใบอนุญาตปฏิบัติการสอนมาแทน พร้อมทำเรื่องเทียบโอนให้นักศึกษาทุกคน และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายคนละ 2,700 บาท แต่นักศึกษามองว่าใบอนุญาตปฏิบัติการสอนมีอายุแค่ 4 ปี และเมื่อนำใบนี้ไปสมัครงาน ก็จะได้เงินเดือนน้อย เทียบไม่ได้กับใบประกอบวิชาชีพครู และวันนี้เป็นครั้งแรกที่เดินทางมาร้องเรียนที่สำนักนายกรัฐมนตรี เพราะต้องการให้มหาวิทยาลัยชี้แจงเรื่องนี้กับผู้ปกครอง และรับผิดชอบมากกว่าเงินเทียบโอน 2,700 บาท 

ณัฏฐา ใจสุข / นักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี 

ภายหลังตัวแทนนักศึกษากว่า 30 คนยื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วยผู้แทนจาก สกอ. และคุรุสภา ได้เรียกนักศึกษาทั้งหมดเข้าประชุมหารือเพื่อหาทางออก 

ดอกเตอร์ วรานี เวสสุนทรเทพ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บอกกับทีมล่าความจริงว่า การหารือได้ข้อสรุปว่า สกอ.และมหาวิทยาลัยไม่สามารถออกใบประกอบวิชาชีพครูให้ได้ แต่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการให้ใบอนุญาตปฏิบัติงานแทน หากไม่มีสถาบันการศึกษาไหนรับเข้าไปสอน ก็ให้ไปสอนที่โรงเรียนละอออุทิศ ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยให้สอนเป็นเวลา 1 ปี เพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพครู แต่ตอนนี้ให้นักศึกษาตั้งใจสอบบรรจุครูผู้ช่วยให้ผ่าน สำหรับคนที่ไปยื่นใบสมัครเอาไว้ และในวันที่ 18 เมษายน จะเชิญผู้ปกครองมาชี้แจงปัญหาทั้งหมดอีกครั้ง 

ด้านเลขาธิการคุรุสภา บอกว่า ต้นเหตุของปัญหาคือหลักสูตรวิชาการศึกษาปฐมวัยที่นักศึกษากลุ่มนี้เลือกเรียน ไม่ได้รับการรับรองจาก สกอ.และคุรุสภา เนื่องจากไม่ขอให้ สกอ.รับรองตั้งแต่แรก เนื่องจากเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยเปลี่ยนผ่านเพื่อออกนอกระบบราชการ นอกจากนี้ยังพบปัญหาเรื่องหลักสูตรไม่ได้รับการรับรองอีกหลายหลักสูตร ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน 

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ / เลขาธิการคุรุสภา 

(อย่างที่น้องร้องเรียนนี้ ไม่ผ่าน สกอ. คุรุสภาก็ไม่ผ่าน ต้นตอคือไม่ได้ให้ สกอ.รับรองตั้งแต่แรก เพราะเป็นช่วงของมหาวิทยาลัยเขาเปลื่ยนผ่าน จากมหาวิทยาลัยที่อยู่ในราชการ อย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นออกนอกกำกับ พอออกนอกกำกับ หลักเกณฑ์ของ สกอ.มันก็ต่างจากมหาวิทยาลัยของรัฐ เมื่อต่างก็เป็นช่วงเปลื่ยนผ่าน เมื่อเป็นช่วงเปลื่ยนผ่านก็ปาเข้าไปปีที่ 3 แล้ว กว่าจะไปก็กลายเป็นปี58 แล้ว เรามองว่ามาตรฐานหลักสูตรมันผ่าน แล้วก็น่าจะให้เทียบโอนได้ ถือว่าเป็นความกรุณาของมหาวิทยาลัยนะที่ให้เทียบโอน ส่วนที่อื่นนอกจากปัญหานี้แล้ว ก็มีเกรดไม่ถึง 2 เทียบไม่ได้ มีประมาณ2-3แห่ง มีทั้งราชภัฏและเอกชนด้วย) 

ทางออกที่เหมือนไม่ใช่ทางออกนี้ ในมุมมองของนักศึกษารู้สึกว่าพวกตนไม่มีทางเลือกใดๆ นอกจากต้องจำใจยอมรับกับแนวทางการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ก็อยากให้มหาวิทยาลัยเร่งแก้ปัญหาหลักสูตร และใบประกอบวิชาชีพครูอย่างจริงจัง เพราะไม่เพียงพวกตนเท่านั้นที่เดือดร้อน แต่ยังมีรุ่นพี่ที่จบไปแล้วร่วมร้อยคน และรุ่นน้องๆ อีกหลายรุ่นที่กำลังจะเผชิญชะตากรรมเดียวกัน



ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: Now26.tv วันที่ 6 เมษายน 2560
  • 06 เม.ย. 2560 เวลา 13:17 น.
  • 74,886

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^