สั่งม.44รื้อระบบ-โอนอำนาจให้ "ศึกษาธิการภาค-จังหวัด"
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
สั่งม.44รื้อระบบ-โอนอำนาจให้ "ศึกษาธิการภาค-จังหวัด""ประยุทธ์" สั่งม.44 รื้อระบบ-โอนอำนาจให้ "ศึกษาธิการภาค-จังหวัด" มอบหมายหน้าที่ "กศจ.-อกศจ."
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ
จากข้อเท็จจริงที่ได้ปรากฏให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วน
ภูมิภาคทั้งในด้านโครงสร้างขององค์การ ด้านระบบบริหารจัดการ และด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์และกําลังคนที่สําคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนและการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมนานาประเทศ แม้ที่ผ่านมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้วยการกําหนดมาตรการและกลไกขึ้นโดยมีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาแล้วหลายฉบับ แต่โดยเหตุที่สภาพปัญหาการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วนภูมิภาคมีความซับซ้อนและสั่งสมมาเป็นเวลานาน จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการกําหนดมาตรการและกลไกเพิ่มเติมเพื่อให้ปัญหาโดยส่วนใหญ่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการเตรียมการและรองรับการปฏิรูปการศึกษาอันเป็นเรื่องสําคัญเรื่องหนึ่งในการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ได้รับความเห็นชอบจากประชามติได้บัญญัติไว้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
(๒) คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
(๓) คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
(๔) คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะข้อ ๘
ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
(๓) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการ
(๔) เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการ
(๕) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ
(๖) เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการ
(๗) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
(๘) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
(๙) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนตามข้อ ๒ มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดทิศทางการดําเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
(๒) โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ และเงินงบประมาณของส่วนราชการใดในกระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของส่วนราชการอื่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามบัญชีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกําหนด รวมทั้งพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
(๓) วางแผนงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาค
หรือจังหวัด
(๔) เกลี่ยอัตรากําลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เงินงบประมาณและทรัพย์สินของส่วนราชการต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการได้ทั้งกระทรวงโดยต้องไม่เพิ่มอัตรากําลังคนและงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค การเกลี่ยอัตรากําลังตามวรรคหนึ่ง ให้ตัดโอนอัตราตําแหน่งและเงินงบประมาณแผ่นดินประจําอัตรา รวมตลอดทั้งงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจํา และเงินอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตั้งไว้สําหรับตําแหน่งที่เกลี่ยนั้นมาเป็นของส่วนราชการที่รับโอน และการโอนหรือการนํารายจ่ายที่กําหนดไว้สําหรับส่วนราชการใดในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมไปใช้สําหรับส่วนราชการที่รับโอน นอกเหนือจากกรณี
ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ให้กระทําได้
(๕) แต่งตั้ง โอน หรือย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงาน
ในตําแหน่งต่าง ๆ ในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด ทั้งนี้
ตามประเภทหรือระดับตําแหน่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกําหนด
ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีบทบัญญัติใด
กําหนดให้องค์กรอื่นใดมีอํานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง มิให้นําบทบัญญัตินั้นมาใช้บังคับแก่องค์กรซึ่งมีอํานาจหน้าที่ดังกล่าว
(๖) สั่งให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานในตําแหน่งต่างๆ
ในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือให้พ้นจากตําแหน่ง
ในกรณีที่ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานผู้ใดถูกสั่ง
ให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือถูกสั่งให้พ้นจากตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้งดการจ่ายค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ใด ๆ ในตําแหน่งในระหว่างที่ถูกสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือถูกสั่งให้พ้นจากตําแหน่งนับแต่วันที่ได้รับทราบคําสั่ง
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ ๙
(๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทํางานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจําเป็น
(๙) เชิญข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐ หรือบุคคล
ที่เกี่ยวข้องมาสอบถามข้อเท็จจริง รวมทั้งเรียกเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อ ๔ ให้สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการขับเคลื่อนตามข้อ ๒ รวมทั้งคณะอนุกรรมการและคณะทํางานตามข้อ ๓ (๘)
การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางานตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ ส่วนการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นที่จําเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๕ ให้มีสํานักงานศึกษาธิการภาค จํานวนสิบแปดภาค สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงศึกษาธิการ ตามบัญชีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกําหนด เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่ ทําหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัดโดยการอํานวยการ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้น ๆ และให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับ
ทิศทางการพัฒนาประเทศ ทิศทางการดําเนินงานตามข้อ ๓ (๑) นโยบายและยุทธศาสตร์ของ
กระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบตามศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชนในแต่ละพื้นที่
(๒) สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนา
(๓) กํากับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด
ในพื้นที่รับผิดชอบ
(๔) สนับสนุนการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ
(๕) ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด โดยยึดการมีส่วนร่วมและประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก
(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ
มอบหมาย
ข้อ ๖ ให้มีศึกษาธิการภาคเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างในสํานักงานศึกษาธิการภาค มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานศึกษาธิการภาค
และให้มีรองศึกษาธิการภาคจํานวนหนึ่งคน เพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการภาค ทั้งนี้ ผู้ที่จะดํารงตําแหน่งรองศึกษาธิการภาคต้องเป็นผู้ที่ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง หรือศึกษาธิการจังหวัด อยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุศึกษาธิการภาค และสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
รองศึกษาธิการภาค จากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๗ ในแต่ละจังหวัด ให้มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กศจ.” ประกอบด้วย
(๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) ศึกษาธิการภาคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และผู้แทนสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นกรรมการ
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่เกินหกคน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนตามข้อ ๒ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้แทนองค์กร
ภาคเอกชน ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ และผู้แทนภาคประชาชน ด้านละหนึ่งคน
(๕) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๖) รองศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการกศจ. อาจแต่งตั้งข้าราชการในสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดจํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้
ข้อ ๘ ให้ กศจ. มีอํานาจหน้าที่ในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑) อํานาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร
ราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
(๒) กําหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
ทุกระดับและทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย
(๓) พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษา
(๔) พิจารณาและให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการ
ดําเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(๕) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทาง
การศึกษาต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนตามข้อ ๒
(๖) กํากับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงาน
และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(๗) วางแผนการจัดการศึกษาและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
(๘) เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนตามข้อ ๒ เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
ตามข้อ ๙
(๙) แต่งต้ังคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานตามความจําเป็นเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน
ของ กศจ. ซึ่งอย่างน้อยต้องมีคณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ และคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา โดยให้นําองค์ประกอบของ อกศจ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในการเสนอและการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานตามวรรคหนึ่ง ต้องคํานึงถึงวงเงินงบประมาณที่ได้รับ ความคุ้มค่า ความประหยัด ความรวดเร็วและไม่เป็นการเพิ่มขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่จําเป็น
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนตามข้อ ๒
มอบหมาย
ข้อ ๙ ให้ กศจ. เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนตามข้อ ๒ เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “อกศจ.” เพื่อช่วยเหลือหรือกลั่นกรองงานให้แก่ กศจ. เกี่ยวกับการบรรจุ การแต่งตั้ง การโยกย้าย การดําเนินการทางวินัย การกําหนดวิทยฐานะ หรือการกําหนดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ อกศจ. ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑) กรรมการใน กศจ. จํานวนหนึ่งคน เป็นประธานอนุกรรมการ
(๒) กรรมการใน กศจ. จํานวนสองคน เป็นอนุกรรมการ
(๓) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อํานวยการสถานศึกษาในจังหวัดจํานวนสองคนเป็นอนุกรรมการ
(๔) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมิได้เป็นกรรมการใน กศจ. จํานวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ
(๕) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการในกรณีมีความจําเป็น กศจ. อาจแต่งตั้งข้าราชการในสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดจํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ข้อ ๑๐ การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมของ กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการและคณะทํางาน
ตามข้อ ๘ (๙) เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๑๑ ให้มีสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกําหนดการปฏิบัติราชการตามอํานาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมายและให้มีอํานาจหน้าที่ในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์
คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทํางาน รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอํานาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย
(๒) จัดทําแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ
(๓) สั่งการ กํากับ ดูแล เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๔) จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ
(๖) ดําเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๗) ส่งเสริม สนับสนุน และดําเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนวการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา
(๘) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(๙) ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา
(๑๐) ส่งเสริม สนับสนุน และดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชน
(๑๑) ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจําทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานตาง่ ๆ ในจังหวัด
ข้อ ๑๒ ให้มีศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และ
ลูกจ้างในสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของศึกษาธิการภาค มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด รวมทั้งให้มีอํานาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และให้มีรองศึกษาธิการจังหวัด เพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการจังหวัด จํานวนสามคน ให้ศึกษาธิการจังหวัด รองศึกษาธิการจังหวัด และข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ ให้ศึกษาธิการจังหวัดดํารงตําแหน่งเทียบกับข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการระดับสูง และผู้ที่จะดํารงตําแหน่งศึกษาธิการจังหวัดต้องเป็นผู้ที่ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการประเภทผู้บริหารการศึกษาหรือเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบตัิหน้าที่รองศึกษาธิการภาคอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่ ก.ค.ศ. กําหนด
ข้อ ๑๓ การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดหรือ
กรุงเทพมหานครตามมาตรา ๕๓ (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ศึกษาธิการจังหวัดโดยความเห็นชอบของ กศจ.เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ข้อ ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน กํากับดูแล และบูรณาการการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการ
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เลขาธิการสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบอํานาจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล วิชาการ การบริหารทั่วไป งบประมาณ และทรัพย์สินให้กับศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในเรื่องนั้น ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบอํานาจในการปฏิบัติราชการตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้ดําเนินการแทนการมอบอํานาจตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการขับเคลื่อนตามข้อ ๒ กําหนด
ข้อ ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ขับเคลื่อนตามข้อ ๒ กําหนดสถานที่ตั้งของสํานักงานศึกษาธิการภาคและสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวต้องไม่เป็นการเพิ่มหรือกระทบต่อภาระงบประมาณ
ข้อ ๑๖ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่และการดําเนินการใด ๆ ตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค กศจ. อกศจ.
คณะอนุกรรมการ และคณะทํางาน ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคมพุทธศักราช ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการ และคณะทํางานตามคําสั่งนี้
ข้อ ๑๗ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่และการดําเนินการใด ๆ ตามอํานาจหน้าที่ของศึกษาธิการภาค รองศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด และรองศึกษาธิการจังหวัดตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของศึกษาธิการภาค รองศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด และรองศึกษาธิการจังหวัด ตามคําสั่งนี้
ข้อ ๑๘ ให้โอนบรรดาอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการ กิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ
หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของสํานักงานศึกษาธิการภาค สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ และสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด สํานักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไปเป็นของสํานักงานศึกษาธิการภาค สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ และสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการตามคําสั่งนี้
ข้อ ๑๙ ให้สํานักงานศึกษาธิการภาคและสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดตามคําสั่งหัวหน้าคณะ
รักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่คําส่ังนี้ใช้บังคับเป็นสํานักงานศึกษาธิการภาคและสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด ตามคําสั่งนี้
ข้อ ๒๐ ให้ศึกษาธิการภาค รองศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด และรองศึกษาธิการจังหวัด
ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับเป็นศึกษาธิการภาค รองศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด และรองศึกษาธิการจังหวัดตามคําสั่งนี้
ข้อ ๒๑ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ หรือ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ถือว่าอ้างถึง กศจ. ตามคําสั่งนี้โดยให้บทบัญญัติดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้
ข้อ ๒๒ การยุบเลิกและการใดที่ได้ดําเนินการไปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ และ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
ข้อ ๒๔ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบ
แห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
ข้อ ๒๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดาวน์โหลดรายละเอียด คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ :: ไฟล์แนบ
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 03 เม.ย 2560