LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง

คอลัมน์: โลกใบใหม่: โจทย์ของการศึกษาในโลกใบใหม่!

  • 01 เม.ย. 2560 เวลา 10:16 น.
  • 4,392
คอลัมน์: โลกใบใหม่: โจทย์ของการศึกษาในโลกใบใหม่!

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คอลัมน์: โลกใบใหม่: โจทย์ของการศึกษาในโลกใบใหม่!

อภิชาต ทองอยู่
tapichart@hotmail.com
ไม่ต้องบอกใครก็รู้ว่า พ่อ-แม่ เป็นครูคนแรกของมนุษย์เราแต่ละคน (หลายท่านอาจไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู) แต่ก็เป็นทั้งผู้ให้กำเนิด เป็นคนเลี้ยงดูฟูมฟัก และเป็นคนประสิทธิ์ประสาทวิชาชีวิตให้ลูกๆ ขณะที่ชีวิตวัยเรียนของหลายคนอาจชอกช้ำผิดหวังจากระบบโรงเรียนและสังคมของสถาบันการศึกษา แต่สามารถยืนขึ้นได้จากการสนับสนุนส่งเสริมของบิดา มารดา (ทั้งที่หลายท่านไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู!) ที่กล่าวเช่นนี้เพราะต้องการชี้ถึงคุณภาพและศักยภาพที่เป็นจริงของการบริบาลสร้างความรู้ สร้างความเป็นคน ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ที่มีความรับผิดชอบ กับมนุษย์ที่อยู่ในความรับผิดชอบว่า นัยสำคัญของการสร้างความรู้นั้นขึ้นอยู่กับ "ความรับผิดชอบ" "คุณค่าความเข้าใจ" ที่มีความรู้เป็นองค์ประกอบ มากกว่าใบประกอบวิชาชีพ! ที่นัยลึก ๆ ของมันมักจะเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีที่ผสมปนเปอยู่กับผลประโยชน์! จนทำให้ผู้คนและสังคมบางส่วนมักจะลืมส่องดูความจริงของแก่นแกนนัยสำคัญของสภาวะนั้นๆ !!!

ในหลายสาขาอาชีพและในโลกของการสืบทอดความรู้ การเรียนรู้ หรือการศึกษายุคเก่า ครูบาอาจารย์มีความสำคัญในฐานะของ "แหล่งวิทยาการความรู้" และ "ตัวแบบมาตรฐานอาชีพ" ที่ความเคลื่อนไหวของความรู้ การเรียนรู้ และการต่อยอดความรู้ไปสู่การปฏิบัติจะขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ การชี้นำควบคุมกำกับจึงมีครูเป็นผู้ชี้นำ ต่อมาเมื่อโลกเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม การศึกษาที่จำแนกสาขาวิชาการ วิชาชีพ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก็ได้กำหนดมาตรฐานระดับความรู้ ความชำนาญการ และใบประกอบวิชาชีพขึ้นมา ความสำคัญและการครอบงำโดยบุคคล จึงเปลี่ยนไปสู่สถาบันและกฎเกณฑ์มาตรฐานที่จัดทำขึ้น เรียกว่าการจัดการความรู้และการศึกษาในยุคก่อนทันสมัย ยุคทันสมัย รวมถึงยุคหลังทันสมัยในปัจจุบันนี้ เรื่องของการศึกษาจะเปลี่ยนไปตามกาล ตามบทบาทการยอมรับของสังคม และตามข้อบัญญัติทางตัวบทกฎหมาย!

การก้าวสู่ ยุคหลังทันสมัย วันนี้ อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่สร้างการเรียนรู้ให้กับผู้คนอย่างก้าวกระโดด ไร้พรมแดน การผสมผสานระหว่างอินเทอร์เน็ตกับแพลตฟอร์มของโลกดิจิทัล จากการเชื่อมต่อข่าวสารที่ผ่านการคิดค้นสร้างสรรค์ ที่ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงโลกแวดล้อมเสมือนจริงในโลกไซเบอร์ เชื่อมโลกเข้าหาผู้คน ได้เปลี่ยนโฉมหน้าการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ และการศึกษาไปอย่างก้าวหน้า รวดเร็ว ต่อเนื่อง ที่สำคัญคือการประหยัดทั้งทุนและเวลาอย่างที่ไม่เคยมีมาในยุคก่อน ทุกวันนี้คนเรียนรู้จากโลกไซเบอร์ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิกิพีเดีย กูเกิล อาร์คดอทคอม หรืออื่นๆ สารพัดสื่อออนไลน์ รวมทั้งสามารถสื่อสารถามไถ่ผู้รู้ต้นกำเนิดความคิด/ความรู้หลายท่านที่อยู่คนละมุมโลก ผ่านการสื่อสารออนไลน์รวมถึงสมาร์ทโฟนได้อย่างง่ายดาย!

บทบาทครูจึงลดทอนจากผู้นำ/ผู้ชี้นำกำกับ มาเป็นบทของโค้ช ผู้แนะนำ ผู้อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ รวมทั้งร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษาไปโดยปริยาย! ซึ่งดูจะเป็นบทบาทของครูในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารล้ำหน้าไปเกินกว่าที่คนคนหนึ่งจะศึกษาค้นหาความรู้แต่ลำพังได้อีกต่อไป ขณะที่โลกแวดล้อมโดยรวมก็เปลี่ยนไป ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจ ได้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เป็นยุคเศรษฐกิจฐาน ความรู้ที่สังคมมีความก้าวหน้าที่ต่อเนื่องรวดเร็ว ส่งผลให้การเรียนรู้และการปรับตัวต้องมีศักยภาพที่จะเท่าทันรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วย!

ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้เอง ที่จะส่งผลให้เกิดสภาพการปรับความคิดไม่ทัน ปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะกับความเปลี่ยนแปลงที่แวดล้อมตัว ที่กำลังค่อยๆ ก่อรูปกลายเป็นอนาคตใหม่ขึ้นมา ซึ่งจะสร้างผลกระทบกลับมาในกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น! นี่คือวงจรที่น่าคิดสำหรับการจัดการศึกษาและการจัดการการเรียนรู้ในยุคใหม่ฯ ซึ่งการปรับความคิดไม่ทัน ปรับตัวไม่ทัน จะส่งผลลบต่อการศึกษาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย!

โดยนัยนี้ จึงต้องตั้งโจทย์ของการศึกษา/การเรียนรู้กันใหม่ ว่าสังคมการศึกษาของเราในยุค เศรษฐกิจฐานความรู้ นี้ วิชาการที่มีอยู่มีคุณภาพดีเท่าทันที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนไปแค่ใหน? อย่างไร? สถาบันการศึกษา/สถานศึกษา สามารถตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพความรู้และคุณภาพชีวิตที่จะส่งให้ผู้คนที่ผ่านสถาบันการศึกษา มีคุณสมบัติสอดคล้องเหมาะสมกับระดับการศึกษาแต่ละระดับชั้น โดยเปรียบเทียบกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาค/ในสังคมโลกที่เป็นอยู่ได้แค่ใหน? เพียงไร? คุณภาพหรือความเก่งของครู/ของผู้ให้การศึกษา และวิชาการใน

การเรียนการสอนของผู้ประกอบอาชีพครูที่เป็นอยู่ ถ้าหากได้พิจารณาในมิติวิชาการ/จรรยาบรรณ และความเข้าใจโลกแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น คนกลุ่มนี้มีศักยภาพอยู่ในระดับใด? มีความต่างจากวิชาการของวิชาชีพเฉพาะเพียงใด (นอกจากชื่อเรียกในการสอบบรรจุ)? รวมทั้งกระบวนการเรียนการสอนที่มักจะกล่าวว่าเป็นระบบ "ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง" นั้น มีกระบวนการแบบใด? และคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้ดีเพียงใด? เหล่านี้คือโจทย์ที่ต้องทบทวนให้ดี ด้วยเหตุว่าในความเป็นจริงนั้น ผลผลิตจากระบบการศึกษาไทยและความเชื่อมต่อของการศึกษากับสังคมและเศรษฐกิจ จะเป็นตัวชี้วัดที่บอกถึงคุณภาพ ความก้าวหน้า (หรือล้าหลัง) ในคำถาม ที่กล่าวข้างต้นได้ในเชิงประจักษ์!

ความขัดแย้งทางการศึกษาและการเรียกร้องให้มีใบประกอบวิชาชีพไม่ใช่เรื่องผิด แต่เรื่องสำคัญเร่งด่วนที่การศึกษาจะต้องคำนึงถึงคือ การปรับความคิดและปรับตัวของการศึกษาครั้งใหญ่ ในกระแสเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ภูมิรัฐศาสตร์โลก ที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของ ภูมิเศรษฐกิจ ทั่วโลก! ขณะที่การพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหลากมิติก้าวเข้ามาเป็นกลไกการขับเคลื่อนสังคมการค้าและการเมืองโลกอย่างมีนัยสำคัญ! การเปลี่ยนแปลงนี้ชี้บอกว่า การศึกษา ต้องการการปรับตัวและความเข้าใจโลกในมิติใหม่ที่ต่างไปจากโลกศตวรรษที่แล้ว เพราะการศึกษามีสถานะเป็นกลไกหนุนสร้างความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยให้สังคมก้าวไปสู่สภาพที่ดีกว่า! ถ้าการศึกษายังมองตัวเองไม่ออก ยังให้ความสำคัญอยู่ในมิติเดิมๆ เสมือนยังอยู่ในโลกใบเก่า การศึกษาก็จะถูกทิ้งให้อยู่แต่โดดเดี่ยวลำพังและเผชิญกับหายนะอย่างไม่ต้องสงสัย! เชื่อเถอะว่า ไม่มีใครหยุดความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของยุคสมัยได้ จริงๆ!!!.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก ::  หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- เสาร์ที่ 1 เมษายน 2560 เวลา 00:00:16 น.
  • 01 เม.ย. 2560 เวลา 10:16 น.
  • 4,392

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^