กระหึ่มโชเชียล"ป้องวิชาชีพครู"
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
กระหึ่มโชเชียล"ป้องวิชาชีพครู"นักวิชาการ โพส “จุฬาฯ ออกโรงป้องวิชาครูหวั่นอาชีพอื่นแย้งงาน” ชาวออนไลน์ส่วนใหญ่ หนุนวิชาชีพอื่น มาเป็นครู
“นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)” ได้นำข่าวคุณภาพชีวิต การศึกษาของ คมชัดลึก ฉบับวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2560
ประเด็น “จุฬาฯ ออกโรงป้องวิชาครูหวั่นอาชีพอื่นแย้งงาน” โพสผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว Supakorn Buasai ทำให้มี ชาวออนไลน์ แสดงความคิดเห็นหลากหลายต่อกรณีดังกล่าว อาทิ
Arkom Sompama ถูกใจที่สุดครับ..สู้ๆ...เห็นด้วยเพราะคนไม่มีจิตวิญญาณครูเยอะ
Patanapong Chatiketu ชมรมครูเก่าสวนกุหลาบ เต็มไปด้วยครูที่จบจากคณะวิทย์ คณะอักษร จุฬา ทุกท่านเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ แสดงว่ามันไม่ใช่เรื่องของปริญญาที่จบ แต่มันเป็นเรื่องการกล่อมเกลามากกว่า ถ้าถึงขนาดต้องให้ทุกคนจบครูถึงจะสอนนักเรียนได้ ตำรวจ ตชด. คงต้องไปเรียน ศึกษาศาสตร์ กันก่อน ปราชญ์ชาวบ้าน ก็เช่นกัน
Arnon Pakdevong เห็นด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่จบด้านครู ยังสอนได้เลย เด็กโตสอนยากกว่าอีก ยังไงขอผ่านแค่การอบรมหลังสอบได้ บรรจุ ก็พอมั๊งครับ
Patanapong Chatiketu ส่วนตัวจบ นิเทศศาสตร์ สอนอยู่คณะทันตะ ถ้าคิดแบบเดียวกับที่เป็นข่าว คำถามคือ ผมต้องไปเรียน ทันตแพทย์ก่อนไหม ถึงจะสอนคณะนี้ได้... ทั้งที่วิชาสอนนี่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชุมชน Health promotion
Arnon Pakdevong เขาคงคิดว่า จบตรงสาขาจะเป็นยาวิเศษ กระมังครับ แต่ผมคิดว่า การเป็นครูที่ดีต้องเชี่ยวชาญในสิ่งที่สอน มีวิธีการสอนที่ดี และมีจรรยาบรรณ เหล่านี้อบรมได้หลังสอบบรรจุได้ อย่าไปปิดโอกาสคนจบวิชาสายตรงอื่นๆมา
Rose Onmornrat ดิฉันคิดว่า การที่เปิดโอกาสให้วิชาชีพอื่นมาสอบครู เพราะมีวิชาชีพที่ขาดแคลนบางวิชา เนื่องจากเด็กที่จบไปเรียนต่อในระดับ ป.โท แล้วไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมากกว่าที่จะสอนระดับ สพฐ. ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น
สุทัศน์ เอกา ผมขอยืนยันว่า "คนที่จะเป็นครูต้องได้รับการฝึกฝนวิชาครูจนเกิดทักษะความเป็นครู" ซึ่งต้องเรียนรู้และฝึกฝนจิตวิทยาการเรียนรู้ของวัยต่างๆ หลักการสอน จิตวิทยาการศึกษา และทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ..ดังนั้น ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้สาขาอื่นมาเป็นครู..
สุภาวดี หนูเจริญ นางสาวเพ็ญธิดา เชาวลิค รหัส5781113003 ระยะเวลาไม่สำคัญเท่ากับความตั้งใจ...ความตั้งใจของคนๆหนึ่งที่ต่อสู้มานะบากบั่นเรียนครูเป็นเวลาถึง5ปี กว่าจะผ่านมาได้ไม่ใช่เรื่องง่าย หากเขาไม่ได้มี"จิตวิญญาณแห่งความเป็นครู"หนูเชื่อว่าเขาทำไม่ได้ เพราะสายอาชีพนี้ไม่ได้แค่เรียนจบและขอให้มีงานทำ แต่สายอาชีพนี้เขาคือผู้ที่จะพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเราครู5ปีฝ่าฟันมามันคือสิ่งที่เราได้เรียนรู้จริงในสายอาชีพนี้ เข้าใจที่สุดในสายอาชีพนี้ และทำได้ดีที่สุดในสายอาชีพนี้
หากมองว่าพวกเราเรียนถึง5ปีทำไมต้องกลัวการแข่งขัน? อยากจะขอบอกว่า "เราไม่ได้กลัวการแข่งขัน แต่เรากลัวว่าหากให้ใครก็ได้มาพัฒนาอนาคตของชาติ ชาติของเราจะล่มจม อย่าคิดแค่ว่าคนขาดแล้วสามารถคว้าใครก็ได้มาทำหน้าที่ หากท่านหรือสายอาชีพอื่นโดนริดรอนสิทธิ โดนตัดโอกาส ดิฉันเชื่อว่า ทั้งท่านและพวกเขาเหล่านั้นไม่มีใครที่เขาจะอยู่นิ่งเฉยได้"
"อย่าคิดแค่ว่าเข้ามาทำงานและสร้างผลงานของตนเอง จงทำงานเพื่อพัฒนาประเทศนี้ให้ดียิ่งขึ้น และสุดท้ายคนเรียนครู5ปีไม่กลัวคู่แข่งค่ะ ไม่อดทนต่อสู้มานะจริงๆเราไม่สามารถเรียนจบได้ ซึ่งหมายถึงเรามีศักยภาพและสามารถเป็นครูตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้แน่นอนค่ะ" (นักศึกษาสายครู ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มรภ.นครศรีธรรมราช ร่วมแสดงความคิดเห็น)
Arnon Pakdevong ถ้าต่อไปเงินเดือนครูลด รายได้ไม่พอหนี้สิน คงมีคนมาเรียนน้อยอีกก็ได้ ถึงเวลานั้นอาจกลับมาเป็นแบบเดิม รับคนไม่จบครูมาเป็นครู แต่มีอุดมการณ์ ไม่หวังเงินเดือนสูงๆ
สุทัศน์ เอกา ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ คุณหมอ Supakorn Buasai ครับว่า "จุฬาน่าจะทำ Position paper ออกมาชี้ประเด็น ข้อมูล ข้อดีข้อเสียให้สังคมเข้าใจ คนจะเห็นด้วยหรือเห็นแย้งจะได้แยกแยะชัดเจนขึ้น"..และผมขอเน้นว่า "สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน" นะครับ..เพราะสูงกว่านี้ ผู้เรียนมีวิจารณญาณเป็นของตนเองมากพอ "ที่จะเลือกวิธีเรียน" แล้ว
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 24 มีนาคม 2560