LASTEST NEWS

11 ม.ค. 2568​​​​​​​สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดสอบพนักงานราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.- บาท สมัครได้ตั้งแต่ 16-22 มกราคม 2568 10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ม.ค. 2568“วันครู” ปีนี้ “ศธ.จัดเต็ม”รับของขวัญจาก 11 หน่วยงาน ทั้ง ลดภาระ ส่งเสริม พัฒนา ฟรีเรียนออนไลน์ 10 ม.ค. 2568ดาวน์โหลด แบบบันทึกข้อความ ชี้แจงกรณียื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตล่าช้าหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว 10 ม.ค. 2568ครูอุ้ม เชิญชวนศิษย์ทั่วไทย ร่วมระลึก “พระคุณครู” 16 มกราคมนี้ เชื่อเมื่อครูเปลี่ยนทันโลก ช่วยสร้างศิษย์ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ ได้แน่นอน  10 ม.ค. 2568ครูอุ้มใจดี มอบโล่รางวัลแก่เด็กดีเด่น-เด็กที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ กว่า 1,292 คน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568 10 ม.ค. 2568อว.เตรียมผลิตครูพัฒนาท้องถิ่น เฟส 2 หลังเฟสแรกได้ครูรุ่นใหม่ ไฟแรง มีจิตวิญญาณ เก่ง ฉลาด แต่กว่าครึ่งมีจุดอ่อนด้านภาษา  09 ม.ค. 2568โรงเรียนเพชรพิทยาคม รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งพนักงานบริการ สมัครได้ที่  กลุ่มบริหารงานบุคคล โรงเรียนเพชรพิทยาคม ตั้งแต่วันที่  14 – 18 มกราคม พ.ศ. 2568  (ไม่เว้นวันหยุดราชการ 08 ม.ค. 2568สำนักงาน ก.พ. รับสมัครแข่งขันเพื่อเป็นบัญชีร่วม สำหรับให้ส่วนราชการใช้บรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ประจำปี 2568 จำนวน 299 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 23 มกราคม 2568

อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ รุมจวกเปิดทุกหลักสูตรสอบครูได้

  • 23 มี.ค. 2560 เวลา 17:20 น.
  • 110,437
อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ รุมจวกเปิดทุกหลักสูตรสอบครูได้

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ รุมจวกเปิดทุกหลักสูตรสอบครูได้
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูสอบครูได้ “สมพงษ์”จี้คุรุสภาพิจารณาตัวเอง ขณะที่“อมรวิชช์”ย้ำไม่ปิดกั้นทุกคนเป็นครู แต่ควรกลับไปดูอดีตสมัยรัฐบาลทักษิณเคยทำแล้วปัญหาเพียบ แนะรัฐหาทีมการศึกษาดีๆมาดูการศึกษา

วันนี้( 23 มี.ค.)ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีเสวนาเรื่อง "มุมมองเชิงวิชาการต่อการเปิดโอกาสให้ผู้ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูสอบบรรจุครูได้"โดย ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เมื่อช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้ปรารภอยากให้มีการฟื้นกรมการฝึกหัดครู ตนก็ดีใจและเห็นว่า นายกฯเห็นความสำคัญของครู แต่จากนั้นไม่นานก็มีการยุบคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์การคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นครู โดยให้ใครก็ได้มาเป็นครู และเรียนเพียง 4 ปี ขณะที่หลักสูตรคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ต้องเรียน 5 ปี  มีการบ่มเพาะทั้งต้นทุนวิชาชีพ ปรัชญาองค์ความรู้และจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งเป็นการขัดแย้งกัน ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการศึกษาทุกระดับเวลานี้อยู่ในขั้นไอซียูและวิกฤติเชิงคุณภาพทั้งประเทศ ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจึงเหมือนไฟลนก้นพยายามทำทุกวิถีทางให้คุณภาพดีขึ้น โดยมุ่งไปที่การติวการเรียนทุกอย่าง เพื่อให้คะแนนการวัดผลทั้งในและต่างประเทศดีขึ้น แต่สุดท้ายคะแนนเด็กก็ยังตกเหมือนเดิม ตนเห็นว่าการติวไม่ใช่วิธีการทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น แต่คุณภาพการการศึกษาจะดีขึ้นได้อยู่ที่กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ที่จะต้องทำให้เด็กสามารถเผชิญและแก้ปัญหาต่างๆได้

“การเปิดให้ทุกหลักสูตรมาสอบครูได้ เป็นการก้าวผิดพลาดที่จะนำคนที่มีความรู้ในเนื้อหาไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ภาษาอังกฤษ มาสอนหนังสือ ซึ่งคนเหล่านี้แม้ว่าจะเก่ง แต่ไม่รู้วิธีการสอน ไม่รู้วิธีการจัดการเด็กหลังห้อง ไม่มีเสน่ห์ เป็นพวกสากกระเบือ อีกทั้งเรื่องนี้ยังสะท้อนถึงว่า เราวินิจฉัยโรคถูก แต่ให้ยาผิด ขณะนี้ใบประกอบวิชาชีพครูก็ถูกย่ำยี ซึ่งถ้าเป็นวิชาชาชีพอื่นหากเกิดปัญหาเช่นนี้ก็จะลุกขึ้นต่อสู้  ดังนั้นคุรุสภาต้องพิจารณาตนเอง อย่างไรก็ตามถ้าคนวิชาชีพครูไม่สู้ จะเป็นจุดด่างให้วิชาชีพอื่นเข้ามาแย่งงานวิชาชีพครูได้” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การเป็นครูสมัยนี้ยากขึ้น เพราะจะต้องมีองค์ความรู้ ทักษะ และต้องรู้กระบวนการหล่อหลอมให้ผู้เรียนผูกพันกับการเรียน ซึ่งคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ก็พยายามพัฒนาหลักสูตร และต้องพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า เรากำลังพัฒนาหลักสูตรครูให้มีคุณภาพและทันสมัยขึ้น เรื่องการให้วิชาชีพอื่นมาเป็นครูนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเคยมีการเปิดโอกาสให้คนเก่งมาเป็นครูในสมัยรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมี ดร.อดิศัย โพธารามิก เป็นรมว.ศึกษาธิการ แต่ก็เกิดปัญหาคนเก่งจริง แต่สอนไม่ได้ สุดท้ายบางคนต้องย้ายไปทำหน้าที่เป็นศึกษานิเทศก์ ตนไม่เข้าใจว่าทำไมเราต้องทำผิดซ้ำ ไม่นำบทเรียนที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ก่อนออกเป็นนโยบาย ซึ่งนโยบายที่ออกมาเวลานี้เป็นการตัดสินใจอย่างเร่งด่วน โดยผู้มีอำนาจ ขาดความรู้ ขาดการมีส่วนร่วม เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด แต่เป็นการสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่ขึ้นตามมา ซึ่งที่ผ่านมาเราพยายามแก้ปัญหาโดยการดึงคนเก่งมาเป็นครูมีการบ่มเพาะถึง 5 ปี แต่เวลานี้กลับเอาใครก็ได้ซึ่งเรียน 4 ปีมาเป็นครู เชื่อว่าในอนาคตจะทำให้คนเก่งไม่มาเรียนครูอีก

“ฝากรัฐบาลควรที่จะหาทีมการศึกษาดี ๆ มาดูแลการศึกษาซึ่งเป็นอนาคตชาติ  ไม่ใช่เอาใครก็ได้มาเป็นครู หรือเอาใครก็ได้มาดูแลการศึกษาของประเทศ ซึ่งดูเหมือนการขายขนมหรือต่อรองกันไปมา รัฐบาลนี้เปลี่ยน รมว.ศึกษาธิการมา 3 คนแล้ว เกิดปัญหาความไม่ต่อเนื่องเชิงนโยบาย เป็นระบบอำนาจโดยปริยายที่ว่า คนนั้นชอบอะไรก็ทำอันนั้น อย่างไรก็ตามนโยบายที่กระทบต่อคนทั้งประเทศกระทบอนาคตเด็กนั้น ไม่ใช่จะมาเปลี่ยนไปมาตามตัวบุคคล  อย่างไรก็ตามเราต้องสู้ด้วยเหตุผล ย้ำไม่ได้ปิดกั้นว่าใครจะมาเป็นครู แต่ขอร้องเมื่อสอบผ่านการคัดเลือกเป็นครูแล้ว ไม่ควรให้บรรจุอัตราเลย แต่ต้องให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูก่อน เพราะไม่มีประเทศไหนทำกันที่บรรจุอัตราก่อนได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”ดร.อมรวิชช์ กล่าว

ด้าน ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ชาวครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ไม่ได้ใจแคบ หรือ กลัวว่าจะมีคนมาแย่งงาน และตนมั่นใจว่านิสิตนักศึกษาครูสามารถสอบแข่งขันได้แน่นอน แต่อยากย้ำว่าการผลิตบัณฑิตครูเราต้องคิดบนพื้นฐานของการตรียมคน เพื่อออกไปสู่ห้องเรียน ใช้เวลาในการสอน เรียนรู้ 4ปี เพื่อฝึกประสบการณ์สอนจริง อีก 1 ปีมีการติดตามประเมินผล  เพราะฉะนั้น ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจึงไม่ใช่แค่ตราประทับ แต่เป็นการการันตีประสบการณ์ที่ฝึกฝนมาในภาคสนาม

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2560 เวลา 15.02 น.
  • 23 มี.ค. 2560 เวลา 17:20 น.
  • 110,437

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^