LASTEST NEWS

10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 10 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ม.ค. 2568“วันครู” ปีนี้ “ศธ.จัดเต็ม”รับของขวัญจาก 11 หน่วยงาน ทั้ง ลดภาระ ส่งเสริม พัฒนา ฟรีเรียนออนไลน์ 10 ม.ค. 2568ดาวน์โหลด แบบบันทึกข้อความ ชี้แจงกรณียื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตล่าช้าหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว 10 ม.ค. 2568ครูอุ้ม เชิญชวนศิษย์ทั่วไทย ร่วมระลึก “พระคุณครู” 16 มกราคมนี้ เชื่อเมื่อครูเปลี่ยนทันโลก ช่วยสร้างศิษย์ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ ได้แน่นอน  10 ม.ค. 2568ครูอุ้มใจดี มอบโล่รางวัลแก่เด็กดีเด่น-เด็กที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ กว่า 1,292 คน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568 10 ม.ค. 2568อว.เตรียมผลิตครูพัฒนาท้องถิ่น เฟส 2 หลังเฟสแรกได้ครูรุ่นใหม่ ไฟแรง มีจิตวิญญาณ เก่ง ฉลาด แต่กว่าครึ่งมีจุดอ่อนด้านภาษา  09 ม.ค. 2568โรงเรียนเพชรพิทยาคม รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งพนักงานบริการ สมัครได้ที่  กลุ่มบริหารงานบุคคล โรงเรียนเพชรพิทยาคม ตั้งแต่วันที่  14 – 18 มกราคม พ.ศ. 2568  (ไม่เว้นวันหยุดราชการ 08 ม.ค. 2568สำนักงาน ก.พ. รับสมัครแข่งขันเพื่อเป็นบัญชีร่วม สำหรับให้ส่วนราชการใช้บรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ประจำปี 2568 จำนวน 299 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 23 มกราคม 2568 08 ม.ค. 2568สาร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568

5ครูคุณภาพ สอนอย่างมีระบบ มีหลักการ/ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติ และสิ่งที่คนที่เป็น "ครู" ไม่ควรทำ

  • 07 ม.ค. 2560 เวลา 08:59 น.
  • 50,554
5ครูคุณภาพ สอนอย่างมีระบบ มีหลักการ/ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติ และสิ่งที่คนที่เป็น "ครู" ไม่ควรทำ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

5. ครูคุณภาพ สอนอย่างมีระบบ มีหลักการ/ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติ
  ระบบคุณภาพการจัดการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาสร้างสรรค์คุณภาพการศึกษา ตอนที่ 5


๕. ระบบการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  

            เป็นข้อยุติที่แน่นอนในหมู่วงนักการศึกษา  ที่ค้นคว้ารวบรวมแนวคิดในการแก้ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาของหลายประเทศทั่วโลกแล้วว่า  คุณภาพการศึกษาที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับการได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในชีวิตจริง  ซึ่งข้อสรุปนี้ก็สอดคล้องกับหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการนั่นเอง  การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ  ตามที่นักวิชาการค้นคว้ามีหลายวิธี  หลายแนวทาง  ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตามที่มีผู้คิดค้นได้   แต่ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไรก็ตาม  วิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพจะมีหลักสำคัญคล้ายๆกัน และสอดคล้องกัน  คือ มีระบบ มีหลักการ มีขั้นตอนการเรียนรู้หรือปฏิบัติตามจิตวิทยาการเรียนรู้  (หรือนำวิธีสอนรูปแบบใดรูปแบบหนี่งมาใช้ในการทำงานก็ได้)  ดังนี้

 

๑.  ทำงานอย่างมีคุณภาพ  (สอดคล้องกับหลัก PDCA)


   P = PLAN  วางแผนเตรียมการก่อนดำเนินการ

วิเคราะห์หลักสูตร  แล้วนำมากำหนดเป้าหมาย หรือผลที่อยากให้เด็กได้  เด็กเป็น 
วิเคราะห์ผู้เรียนว่ามีพื้นฐานความรู้  ทักษะพื้นฐานตามเป้าหมายที่วางไว้เพียงใด   ยิ่งถ้าสามารถศึกษาความพร้อมทางด้านสุขภาพกาย  สุขภาพจิต  ปัญหา  ความต้องการ  ภูมิหลัง ความถนัดความสามารถพิเศษ  อารมณ์จิตใจ  และเจตคติในการเรียนหรือต่อสิ่งที่จะเรียนรู้ยิ่งดีใหญ่   
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ระบุแนวปฏิบัติ  วิธีการอย่างเป็นระบบ  มีขั้นตอนการฝึกหรือการทำ  กิจกรรมตามธรรมชาติหรือจิตวิทยาการเรียนรู้  แนะนำให้ใช้สื่ออะไรบ้าง  มีหลักในการประเมินผล  และมีเกณฑ์ตัวชี้วัด  เงื่อนไขความสำเร็จอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
 

   D = DO  ดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้    

สร้างความพร้อม   เร้าความสนใจ   ท้าทายผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ 
ให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุก  ตื่นเต้น  ท้าทาย  แปลกใหม่  ตามลำดับขั้นตอน
ให้มีการแข่งขันการทำกิจกรรม  การถาม  การตอบทุกครั้ง 
ทุกครั้งที่เรียนรู้ หรือปฏิบัติตามกิจกรรมเสร็จในแต่ละชั่วโมง  ครูควรให้เด็กสรุปการเรียนรู้เป็น Concept Mapping  หรือสรุปเป็นใจความก็ได้  หรือให้จดเขียนทุกอย่างที่ได้ยิน  ได้เห็นครูพูด ครูอธิบาย  และคำพูดความเห็นของเพื่อนๆ ก็ยิ่งดีมาก ลงในสมุดบันทึกการเรียนรู้อย่างละเอียด
ถ้าเด็กโต หรือชั้นมัธยมก็ให้ไปศึกษาค้นคว้า หรือพิสูจน์  ทดสอบ  ทดลองตามเรื่องที่กำหนด หรือตามที่นักเรียนสนใจ แล้วสรุปเป็นรายงานนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ด้วยรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น Power Point ฯลฯ
ครูหมั่นซักถามซักไซ้ไล่เลียงในเรื่องที่ผู้เรียนนำเสนอ  กระตุ้นให้ตอบ ด้วยกระบวนการคิดอย่างนักวิทยาศาสตร์หรือการวิจัย
ให้โอกาสเด็กตั้งปัญหาต่อเพื่อนหรือครู และให้ช่วยกันหาคำตอบอย่างจริงจังกับคำถาม/ปัญหานั้นๆ 
   

   C =  Check   ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ และรายงานผล

การสอนทุกคาบ  ครูต้องบันทึกการสอน พฤติกรรมนักเรียน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่สอนโดยละเอียด
ประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยตามตัวชี้วัดการเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ควรให้ครอบคลุมทั้งความรู้(K) และปฏิบัติ (P)   โดยแบบทดสอบการวัดผลประเมินผล  ควรมี ๒ ตอน   ตอนที่ ๑ สอบถามความรู้  หลักการ  ขั้นตอน  ความรู้เสริมอย่างละเอียดคลอบคลุม (K)   ตอนที่ ๒ สอบวัดการปฏิบัติจริง (P)      ตัวอย่างเช่น  วิชาภาษาไทย (หน่วยการเขียนเรียงความ)  ตอนที่ ๑   ให้ทดสอบความรู้ว่า  การเขียนเรียงความคืออะไร  ต่างจากการเขียนจินตนาการ จดหมาย  สารคดีอย่างไร   เรียงความที่ดีมีลักษณะอย่างไร   การเขียนเรียงความที่ดีมีกระบวนขั้นตอนอย่างไร  การเขียนเรียงความที่ดีมีกี่ประเภท   วิธีการเขียนคำนำให้น่าอ่านน่าสนใจควรเขียนอย่างไร ฯลฯ  ตอนที่ ๒  ให้เขียนเรียงความตามสถานการณ์ที่กำหนดให้
ตรวจสอบการจดบันทึกความรู้  ข้อคิด และความเห็นของนักเรียนในการเรียนรู้   ถือเป็นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน  และประเมินจิตพิสัย หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A) ในแต่ละคาบอีกทางหนึ่งด้วย (ครูสามารถนำเอาบันทึกตรงนี้  มารวบรวมจัดทำเป็นบันทึกการสอนส่วนหนึ่งของตนเองได้
ครูประเมินจิตพิสัย หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้ตามคุณลักษณะหรือธรรมชาติวิชา (A)  ไม่ใช่นำเอาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของโรงเรียนมาใช้นะครับ  อันนั้นประเมินในภาพรวมของโรงเรียน (ปพ ๔)
ครูสรุปผลการประเมินผลทุกด้าน  ลงในแบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้  โดยจำแนกให้เห็นชัดว่าแต่ละด้านมีผู้ผ่านเกณฑ์กี่คน  ไม่ผ่านกี่คน  และครูต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากการวัดผลประเมินผล  ว่าที่ไม่ผ่านเกณฑ์เป็นเพราะเหตุใด  แล้วครูจะมีวิธีดำเนินการแก้ไขแต่ละครั้งอย่างไร  ด้วยวิธีใด (ไม่ควรเกิน ๓ ครั้ง) ถ้าครูทำได้อย่างนี้  ครูก็จะได้ทั้งบันทึกผลการสอนและวิจัยในชั้นเรียนไปพร้อมกัน
 

   A = Action   นำผลการประเมินไปปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

นำผลจากการสรุปที่ได้วิเคราะห์และที่ได้ดำเนินการแก้ไขไปแล้ว  พร้อมทั้งความคิดเห็นเสนอแนะของผู้บริหารหรือผู้นิเทศ  มาเป็นข้อมูลที่จะนำไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการ  หรือตัวกิจกรรม หรือขั้นตอนการจัดกิจกรรม หรืออาจจะเป็นสื่อการเรียนรู้ หรือการวัดผลประเมินผลก็ได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์สาเหตุว่าเด็กไม่ผ่านเกณฑ์  เป็นเพราะเหตุใด  หรือจากสิ่งใด
นำผลจากแบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แต่ละแผน/หน่วยการเรียนรู้ทั้งหมดในภาคเรียนนั้นๆ  มาสรุปเป็นงานวิจัยภาพรวมวิชา  เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในวิชานั้นในปีการศึกษาต่อไป (แน่ะ ! เห็นไหมครับ  กลายเป็นผลงานทางวิชาการไปแล้ว  จะเอาไปส่งเลื่อนวิทยฐานะก็ยังได้)
นำผลการวิจัยภาพรวมที่สังเคราะห์มาจากแต่ละแผน/หน่วย  มาปรับปรุงเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้จริงในปีการศึกษาต่อไป (แน่ะ ! กลายเป็นงานวิจัยและพัฒนาได้อีก)
 

๒. ทำงานด้วยใจเมตตา  (เห็นเด็กเป็นเด็ก)

     1.  เชื่อว่า เด็กทุกคนเหมือนกัน  แต่ไม่เท่ากัน   และแตกต่างกันไปตามสภาวะแวดล้อมของเด็ก

     2.  เชื่อว่า เด็กมีศักยภาพที่พร้อมในการเรียนรู้   แต่ยังมิได้ถูกฝึกฝนอย่างถูกวิธี

     3.  เชื่อว่า เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ถ้าให้ข้อมูล เป้าหมาย โอกาส และเวลาอย่างเพียงพอ

     4.  เชื่อว่า เด็กไม่ตั้งใจเป็นคนไม่ดี หรือทำชั่ว  เพียงแต่เด็กทำผิดเพราะพลาดไป เผลอไป ไม่รอบคอบพอ 

     5.  เชื่อว่า คำพูดแต่ละคำ การกระทำแต่ละครั้งของครู  มีคุณค่าและอิทธิพลต่อชีวิตของเด็กเสมอ

 

๓. รักสิ่งที่ทำ(สอน)   ศรัทธาสิ่งที่เป็น(ครู)

     1.  รักความเป็นครู   อยากชี้แนะ   อยากถ่ายทอด   อยากฝึกฝนเด็ก

     2.  ใฝ่รู้  ชอบอ่าน  ชอบศึกษาค้นคว้าแสวงหา  ชอบการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

     3.  มีสติพร้อมจะอดทนเมื่อเจอปัญหา   มีสมาธิหนักแน่นในงานที่ทำ 

     4.  เจอปัญหาอุปสรรคมากๆ ก็ไประบายกับกัลยาณมิตร หรือไปเที่ยวในที่ต่างๆ เดี๋ยวก็หาย

 

๔. สิ่งที่คนที่เป็น "ครู" ไม่ควรทำ 

    1.  สอน หรืออธิบายหนังสือเรียนจนจบ ...(แต่นักเรียนไม่จบ)  ยัดเยียดเนื้อหาสาระมากเกินไป  นักเรียนไม่มีโอกาสคิดทำเอง

    2.  นักเรียนเรียนก็ได้  ไม่เรียนก็ได้  สิ้นเทอมก็ให้ผ่านทุกคนโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ

    3.  คิดว่าจะทำอย่างไรให้เด็กตั้งใจเรียนทุกวัน   ให้เด็กทุกคนมีความรู้เท่ากันให้ได้ 

    4.  ให้แต่ภาระงาน  หรือรายงาน,  ชอบสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม  แต่คะแนนและผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามกระบวนกลุ่ม,   

    5. ชอบให้คะแนนทำรายงานตามรูปปกที่สวย มีภาพประกอบข้างในเล่ม ยิ่งมากยิ่งดี  พิมพ์ได้เยอะหลายหน้า  รวมแล้วรูปเล่มดี   แต่ไม่เคยตรวจเนื้อหาว่านักเรียนเขียนรายงานจากความเข้าใจที่ได้ไปศึกษาค้นคว้ามาจริงหรือเปล่า    

ทั้งหมดสร้างภาระการทำงานให้เด็กมาก   แต่ไม่มีผล  มีความหมายต่อการเรียนรู้

๕. สิ่งที่ต้องให้นักเรียนช่วยทำ

    1.  ให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนร่วมกัน ช่วยสอนเพื่อน แนะนำรุ่นน้อง เพื่อแบ่งปันความรู้ และน้ำใจแก่กัน

    2.  ให้นักเรียนช่วยเสนอแนะวิธีการจัดการเรียนรู้ หรือระบุเรื่องที่จะเรียนรู้ในครั้งต่อไป  ยิ่งได้ทุกเรื่องยิ่งดี  และถ้าก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ยิ่งดีใหญ่

    3.  ให้นักเรียนวิจารณ์และประเมินผลงานการเรียนรู้ของตนเอง  หรือเพื่อนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (Rubric) เพื่อฝึกให้นักเรียนมีมุมมองหลายด้าน  และทำให้มองเห็นผลงานที่ดีควรเป็นอย่างไร  และถ้าจะปรับปรุงข้อบกพร่องให้ดีขึ้นควรทำอย่างไร

    4.  ให้นักเรียนช่วยกันเสนอปัญหาในการเรียน การทำกิจกรรม  เพื่อร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหา แล้วสรุปเป็นมติ หรือข้อตกลงที่ทุกคนรับรู้และต้องปฏิบัติตามด้วยกัน

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  

๑.  การจัดการเรียนรู้ที่ดี   ควรกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ให้ชัดเจน  และเป้าหมายที่จะพัฒนา ฝึก ปลูกฝังให้กับผู้เรียนในแต่ละภาคเรียนไม่ควรมีมากเกินไป  เอาเฉพาะเด่นๆก็พอ  จะได้มีเวลาพัฒนาปลูกฝังได้อย่างประณีต  และควรมีเวลาว่างประมาณ ๒-๓ สัปดาห์เพื่อให้เด็กได้เลือกที่จะเรียนรู้  หรือทำในสิ่งที่เขาสนใจบ้าง 

  

๒ .  หัวใจของการศึกษาที่แท้  คือ 

การศึกษา ไม่ใช่เด็กเรียนรู้อะไรได้มากแค่ไหน แต่อยู่ที่ได้เรียนรู้ในสิ่งที่มีคุณค่า ได้ฝึกฝนทักษะหรือคุณลักษณะที่เหมาะสมจำเป็นต่อชีวิตอนาคตที่เขาจะเลือกเป็น
การศึกษาที่ดี  คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข  กระตือรือร้นที่จะค้นหาคำตอบ  และได้แก้ปัญหาร่วมกันกับเพื่อน  มีโอกาสได้คิดสร้างสรรค์มากขึ้น
การเรียนรู้ต้องให้โอกาสเด็กสร้างปัญญาเสมอ  เช่น การฝึกตั้งคำถาม การคิดหาคำตอบอย่างหลากหลาย รู้จักตัดคำตอบที่เป็นไปไม่ได้ออก  การสรุปที่สามารถอ้างอิงข้อมูล  หลักฐาน  ข้อเท็จจริง  จนสามารถฝึกฝนสติปัญญา ทักษะ  นิสัย  คุณลักษณะได้อย่างกว้างขวาง  ละเอียด  ลึกซึ้งขึ้นเสมอ
การเรียนรู้ที่ดี  คือ ทำให้นักเรียนรักที่จะเรียนรู้  ใฝ่รู้
๓.    ครูที่แท้จริง  คือ....

ไม่ใช่ผู้มีความรู้อัดแน่นด้วยสรรพวิทยา  แล้วนำความรู้นั้นไปยัดเยียดในสมองเด็ก  จนยิ่งเรียน   ยิ่งโง่  คิดไม่เป็น
ครูที่แท้จริง  จะมุ่งสอนให้เห็นคุณค่าของชีวิต  สอนให้เห็นเหตุและผล  สอนให้เห็นความงามสิ่งรอบๆตัว  สอนเด็กอย่างมีความสุข  เด็กก็มีความสุขรักที่จะเรียนรู้  และพร้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองเสมอ   
 

 ๔.   การศึกษาที่ดีต้องช่วยพ้นทุกข์  สร้างความสุข

       ทุกวันนี้   เด็ก ๆ ไม่มีความสุขในการมาโรงเรียน  เขามีแต่ความทุกข์........ทุกข์มาจากบ้านแล้ว ยังต้องทุกข์ที่มาเรียนอีก 

       เขาทุกข์  .....เพราะครูไม่เข้าใจปัญหาของเขา และไม่ช่วยหาทางออกให้เขาบ้าง  ไม่รักเขาเหมือนลูก  แต่ชอบเรียกเขาว่า  “ลูกศิษย์”

       เพิ่มทุกข์ .... โดยให้เขาเรียน  ในสิ่งที่เขาไม่อยากเรียน  เรียนไม่รู้เรื่อง  ไม่เข้าใจ  เรียนมากเกินไป  ไม่รู้จะเรียนไปทำไม   เขาต้องทำในสิ่งที่เขาไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม

       ทนทุกข์  ...   เพราะเขาคิดว่าเขาไม่ใช่นักเรียน  แต่เขา คือ นักโทษ... ในเรือนจำทางการศึกษา


         ถ้าการมาโรงเรียน    คือ  ความทุกข์  การศึกษาก็จะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง


ขอขอบคุณข้อมูลบทความดีๆ จาก อาจารย์ ณัฐวิทย์ พรหมศร

 
  • 07 ม.ค. 2560 เวลา 08:59 น.
  • 50,554

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^