LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567

รร.แม่เหล็ก แก้ครูไม่ครบชั้น-ลดเหลื่อมล้ำ

  • 03 ม.ค. 2560 เวลา 22:06 น.
  • 10,151
รร.แม่เหล็ก แก้ครูไม่ครบชั้น-ลดเหลื่อมล้ำ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

รร.แม่เหล็ก แก้ครูไม่ครบชั้น-ลดเหลื่อมล้ำ
รวมรร.ขนาดเล็กเป็นรร.แม่เหล็ก แก้ครูไม่ครบชั้น-ลดเหลื่อมล้ำ!?

          ควบรวม“โรงเรียนขนาดเล็ก” เข้ากับ“โรงเรียนดีใกล้บ้าน หรือ โรงเรียนแม่เหล็ก” หนึ่งในนโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในยุครัฐบาลทหาร เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรและบุคลากร ครูไม่ครบชั้นเรียน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็ก ไม่ใช่นโยบายใหม่ รัฐบาลแทบทุกยุคที่ผ่านมาต่างรู้ดีว่าโรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กนักเรียนน้อย จะมีปัญหาขาดแคลนในเรื่องของครูผู้สอนไม่ครบชั้นเรียน งบประมาณในการจัดการศึกษา และเด็กๆก็จะขาดทักษะการใช้ชีวิตในสังคม เพราะมีเพื่อนอยู่ร่วมเรียนจำนวนน้อย แต่ที่ผ่านมาก็ไม่สามารถควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กได้สำเร็จ เนื่องจากนักการเมืองท้องถิ่น และคนในชุมชนต่างก็ไม่ยินยอมให้ยุบโรงเรียนของชุมชน

         ข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ.พบว่า โรงเรียนในสังกัด สพฐ.ทั้งหมด30,525โรง เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียน0-20คน จำนวน1,106โรง มีครู1คน นักเรียน21-40คน จำนวน2,516คน มีครู2คน  นักเรียน41-60คน จำนวน3,519โรง มี ครู3คน และนักเรียน61-120คน จำนวน8,562โรง มีครู 17 คน ส่วนที่เหลือจะมีนักเรียนมากกว่า120คนขึ้นไปโดยโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า120คนมีผู้บริหารได้1คน 

       กระทรวงศึกษาธิการ ยุคพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี อดีตรมว.ศึกษาธิการ ได้ให้ สพฐ.ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและชุมชน แถม ยังพาผู้บริหาร5องค์กรหลัก ศธ.ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนแม่เหล็กด้วยตนเอง ซึ่ง ศธ. มีเป้าหมายจะควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กให้ได้ประมาณ10,000 โรงภายใน5ปี (ปี2559-2564)แถมมีมาตรการเสริมจากคณะกรรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค (คปภ.) ที่อนุมัติให้ไม่ต้องบรรจุและแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาในโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า40คน เชื่อว่าจะทำให้การควบรวมง่ายขึ้นกว่าในอดีต..


         นับตั้งแต่ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2559สพฐ.ได้ดำเนินการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กต่ำกว่า20และ40คนเข้ากับโรงเรียนแม่เหล็กเรียบร้อยแล้ว491โรง และอยู่ระหว่างดำเนินการควบรวมโดยจะย้ายเด็กเข้าไปเรียนในโรงเรียนแม่เหล็ก ในภาคเรียนที่1ปีการศึกษา2560อีก211โรง และควบรวมในภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2560อีก314โรง และควบรวมไปเรื่อยๆให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ สพฐ. ได้อัดฉีดเงินกว่า3,800ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี2559ให้นำไปปรับปรุงและพัฒนาทั้งด้านกายภาพและอุปกรณ์การเรียนการสอน อาทิ สนามกีฬา ห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้โรงเรียนสมบูรณ์ พร้อมต่อการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ยกเว้นพื้นที่ที่มีความจำเป็น เช่น อยู่บนเกาะ ภูเขา เดินทางยากลำบากห่างไกล ซึ่งมีประมาณ90โรงจะไม่ต้องยุบเลิก ขณะที่สถานที่ของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีการย้ายเด็กไปเรียนที่อื่นแล้วนั้น จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ให้แก่คนในชุมชน เช่น เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

        โรงเรียนวัดประตูใหญ่ ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนึ่งในโรงเรียนแม่เหล็กที่สพฐ.อนุมัติให้ควบรวมกับโรงเรียนวัดท่า โดย นางพิมลรัตน์ อิ่มแสวง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดประตูใหญ่เล่าว่า โรงเรียนวัดประตูใหญ่ สอนตั้งแต่ป.1-6มีนักเรียน254คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา17คน ครบทุกกลุ่มสาระวิชา คุณภาพการศึกษาผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. เป็นโรงเรียนของรัฐในพื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีสระว่ายน้ำ ยังมีสนามกีฬา ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ห่างจากโรงเรียนวัดท่า ตามระยะทางที่สพฐ.กำหนดคือไม่เกิน6กิโลเมตร รองรับนักเรียนของโรงเรียนวัดท่าทั้ง18คนและครูอัตราจ้าง1คน มาเรียนรวมตั้งแต่ภาคเรียนที่2/2559


         การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนแห่งนี้จะเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทั้งการคิดและการลงมือปฏิบัติ เมื่อพ่อแม่เข้าใจก็เต็มใจให้ลูกมาเรียน ผู้ปกครองในพื้นที่ต.เสวียดสนใจนำบุตรหลานมาสมัครเรียนที่นี่เพิ่มมากขึ้นจากที่ก่อนหน้านี้จะพาไปเรียนในเมือง

         ฟากนักวิชาการ ศ.ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ์ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้ความเห็นว่า หลายปีมานี้มีข้อมูลและงานวิจัยจากหลายหน่วยงาน ชี้ชัดว่าโรงเรียนระดับการศึกษาพื้นฐานทั่วประเทศกว่าครึ่งหรือ15,000โรงเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก โดย99%เป็นโรงเรียนระดับประถม มีปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา งบประมาณรายหัวที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอจะนำไปพัฒนา ซึ่งก็มีข้อเสนอให้มีการบริหารจัดการโรงเรียนกลุ่มนี้ทั้งการ ยุบ หรือ ควบรวม แต่ที่ผ่านมาก็มีอุปสรรคในการดำเนินการเนื่องจากในท้องถิ่นไม่ยินยอม 


        อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวทางของศธ.ที่ควบรวมเข้ากับโรงเรียนแม่เหล็ก ตลอดจนการกำหนดเป้าหมายว่าภายใน5ปีจะควบรวมให้ได้10,000โรงนั้น เป็นการวางแผนและเห็นเป้าหมายที่ชัดเจน

       ศ.ดร.อมรวิชช์ เสนอแนะว่าอนาคตหากการควบรวมโรงเรียนเป็นไปตามเป้า จะเหลือโรงเรียนทั่วประเทศราว20,000โรง ในจำนวนนี้ 3,000โรงจะอยู่พื้นที่ในเมือง แต่ที่เหลืออีก17,000โรงในกว่า7,000ตำบล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ ศธ.ต้องพัฒนาให้ในทุกตำบลมีโรงเรียนประถมและมัธยมที่มีคุณภาพ มาตรฐานใกล้เคียงกัน ตรงนี้จะคล้ายกับประเทศฟินแลนด์ ที่สามารถการันตีคุณภาพโรงเรียนได้ เช่นนี้หากมีการรทดสอบความรู้ หรือ สุ่มทดสอบในการประเมินระดับนานาชาติก็ไม่ต้องกังวลกับผลคะแนนจะออกมา


        นอกจากนี้ โรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่สามารถยุบ หรือ ควบรวมได้ ต้องพัฒนาให้เป็นโรงเรียนจิ๋วแต่แจ๋ว โดยรัฐต้องสนับสนุนงบประมาณพิเศษเพิ่มจากเงินรายหัว เพื่อให้โรงเรียนมีงบประมาณเพียงพอเพื่อพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งได้ 

        “ในระยะ5ปีนั้น ศธ.ต้องวางแผนขับเคลื่อนให้ชัดเจน ทำให้ไว และต่อเนื่อง สำคัญคือต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นกระแส ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนเห็นตัวอย่างที่ดี เข้าใจและยอมรับว่าถ้ามาเรียนในโรงเรียนแม่เหล็ก เด็กจะได้รับสิ่งที่ดีกว่าอะไรบ้าง เช่น ครูสอนครบชั้น มีครูจิตวิทยา โดยเฉพาะการเดินทางมาเรียนที่ต้องปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมที่ดี และอาจจะต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในกำกับให้เดินหน้าต่อได้ หากทำเรื่องนี้ได้สำเร็จก็จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ของเด็กที่เรียนโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนในชนบท เป็นการแก้ไขปัญหาการคุณภาพศึกษาไปควบคู่กัน และอีกประเด็นที่ต้องไม่ลืมก็คือ ศธ.จะต้องปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูอย่างจริง ให้การส่งเสริมครูที่มีผลงาน จัดการการเรียนการสอนที่เห็นผลเป็นที่ประจักษ์ไม่ใช่แค่ผลงานวิชาการ”ศ.ดร.อมรวิชช์ กล่าว


           มิใช่แค่..ปัญหาคุณภาพการศึกษา ครูไม่ครบชั้น ขาดสื่อและอุปกรณ์ที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับเด็กในพื้นที่ห่างไกล ปัจจัยการเกิดของประชากรที่ลดลงก็มีผลทำให้โรงเรียนหลายแห่งอาจจะต้องปิดตัวไปตามธรรมชาติ จากนี้โจทย์สำคัญของ ศธ.ไม่ใช่แค่ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กไปโรงเรียนแม่เหล็ก เท่านั้น แต่ต้องเร่งพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน.


ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 3 มกราคม 2560
  • 03 ม.ค. 2560 เวลา 22:06 น.
  • 10,151

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^