LASTEST NEWS

23 ธ.ค. 2567ข่าวดี! โรงเรียนสวนกุหลาบฯ เพชรบูรณ์ ประกาศหยุดพิเศษ 2-3 ม.ค. 68 เปิดโอกาสใช้เวลาอบอุ่นกับครอบครัวช่วงปีใหม่ ยาว ๆ 9 วันเต็ม 23 ธ.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.อุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 23 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 23 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านหนองบัว รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 6,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 25 ธันวาคม 2567 21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567

3 ตัวขัดขวางที่ทำให้ผู้เข้าสอบต้องพ่ายแพ้

  • 30 พ.ย. 2559 เวลา 22:05 น.
  • 114,327
3 ตัวขัดขวางที่ทำให้ผู้เข้าสอบต้องพ่ายแพ้

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ปัญหาหรืออุปสรรคสามประการหลักที่ทำให้สอบไม่ได้

ปัญหาคืออะไร ?
“นี่มันปัญหาของเธอ ไม่ใช่ปัญหาของฉัน”  “โอ้ย !! ทำไมมันปัญหามากเหลือเกิน”  “อีแค่นี้ ทำเป็นมีปัญหา”  “เบื่อ เบื่อปัญหาโลกแตก”  “ปัญหามีไว้แก้ ไม่ใช่ไว้กลุ้ม” .......แล้วอะไรคือ “ปัญหา” ละ??
 
จะรู้ว่าโน้น.. นี่... หรือ นั่น...เป็นปัญหา ต้องทำความเข้าใจความหมาย หรือ นิยามของเขา มิฉะนั้นก็จะไม่รู้ว่า นั่นเป็นปัญหา อาจสับสนกับสาเหตุ เอาสาเหตุมาเป็นปัญหา เอาปัญหามาเป็นสาเหตุ แต่ที่แน่ ๆ คือ “ปัญหาเกิดจากสาเหตุ” จะแก้ปัญหาต้องแก้ที่สาเหตุ หากแยกแยะไม่ออกว่าอะไรคือปัญหา อะไรคือสาเหตุ มันจะทำให้แก้ปัญหาไม่ถูกจุดนั่นเอง
 
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ให้นิยาม "ปัญหา" คือ ประเด็นที่เป็นอุปสรรค ความยากลำบาก ความต้านทาน หรือ ความท้าทาย หรือ เป็นสถานการณ์ใด ๆ ที่ต้องมีการแก้ปัญหา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย  การจะเป็นประเด็นปัญหาให้ดูที่ต้องการ เทียบกับความบกพร่อง ข้อสงสัย หรือความไม่สอดคล้องที่เกิดขึ้นและขัดขวางมิให้ผลลัพธ์ประสบผลสำเร็จ
 
ซึ่งตรงกับนิยามที่เป็นสากลว่า ปัญหา คือ ช่องว่าง ระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่ กับ สิ่งที่คาดหวัง
การแก้ปัญหา ก็คือ การปิดช่องว่างที่มี หากช่องว่างมีขนาดใหญ่ การแก้ปัญหาก็จะมีความยากลำบากมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถที่จะปิดช่องว่างที่มีอยู่ได้ทั้งหมด การที่เราลดช่องว่างให้แคบลง ก็เป็นการลดปัญหา ซึ่งก็ยังดีกว่าปล่อยทิ้งปัญหาเอาไว้
 
หากพิจารณาสถานการณ์เฉพาะเกี่ยวกับ “การที่สอบเป็นครูผู้ช่วยไม่ได้ สอบเป็นผู้บริหารไม่ได้ สอบเข้าทำงานราชการไม่ได้” หากวิเคราะห์และรับรู้ที่ถูกต้องว่า “อะไรคือปัญหา อะไรคือตัวขัดขวาง อะไรคือสิ่งคาดหวัง” เราก็สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ถูกจุด ปัญหาก็จะคลี่คลาย หรือหมดไป อันนำไปสู่ผลที่คาดหวัง
 
อะไรคือผลที่คาดหวังของคนสอบ?
แน่นอนว่าในเบื้องต้นของผู้ที่อยากทำงานไม่ว่าเอกชนหรือราชการ คือ ได้ตำแหน่งมีงานทำ สิ่งที่เรากำลังกล่าวถึง คือ สอบเป็นครูผู้ช่วยได้ สอบเป็นผู้บริหารได้ สอบเข้ารับราชการได้” นี่คือ “ความต้องการ ความคาดหวังซึ่งเป็นผลลัพธ์” ในตอนนี้  “การมีตำแหน่งก้าวหน้า มีระดับสูงขึ้น ได้เป็นผู้บังคับบัญชาระดับสูง มีเงินเดือน สวัสดิการ เยอะๆ” นั่นคือความคาดหวังอีกระดับในอนาคต เราจะยังไม่กล่าวถึงในตอนนี้
 
อะไรคือสิ่งที่เป็นอยู่ ?
สิ่งที่เป็นอยู่ คือ สภาพปัจจุบันที่เห็นๆ และยังไปไม่ถึงเป้าหมายปลายทางที่ต้องการหรือผลที่คาดหวังของคนสอบ ก็คือ “สอบไม่ได้ สอบไม่ผ่าน สอบตก สอบผ่านขึ้นบัญชีไม่เรียกซักที สอบแล้วสอบอีก สอบ สอบ ๆๆๆ ” เตะฝุ่นไง ขอเงินพ่อแม่ใช้ไง คือสภาพปัจจุบัน อาจดีหน่อยหากมีงานทำในระดับหนึ่งแล้ว เช่น เป็นครูธุรการ ครูอัตราจ้าง  พนักงานราชการ นี่ก็เป็นสภาพปัจจุบัน หากพอใจในสถานภาพนี้ อยากอยู่อย่างนี้ ก็แสดงว่าสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้กับความคาดหวังที่ต้องการเท่ากัน ลักษณะเช่นนี้จึงไม่ใช่ “ปัญหา  ตัวขัดขวาง หรืออุปสรรค”  แต่หากบุคคลเหล่านี้ อยากรับราชการเป็นครูต้องสอบครูผู้ช่วยให้ได้ แต่ปัจจุบันยังสอบไม่ได้ นี่แหละปัญหา หรือข้อขัดขวาง หรืออุปสรรค หรือ ความท้าทาย หรืออะไรก็แล้วแต่ สุดจะเรียก
 
อะไรคือปัญหาของคนสอบ?
ปัญหาของคนสอบ หากว่ากันตามนิยาม คือ ช่องว่างระหว่างผลที่คาดหวังกับสภาพที่เป็นอยู่ ช่องว่างนี้เป็นสภาพการณ์ ช่องว่างนี้คืออะไร เราต้องหาให้เจอ ช่องว่างนี้ย่อมไม่ใช่ “การสอบไม่ได้ สอบไม่ผ่าน สอบตก” ดังนั้น  “การสอบไม่ได้ สอบไม่ผ่าน สอบตก” จึงไม่ใช่ปัญหา ประเด็นคือ ช่องว่างนี้คืออะไร (ปัญหา) ช่องว่างนี้ใหญ่ไหม (ปัญหาใหญ่มาก) หรือเล็ก (ปัญหานิดเดียวเอง) และจะอุดช่องว่างได้อย่างไร (แก้ปัญหา)
ต่อไปนี้ขอเรียก ปัญหา หรือ อุปสรรค หรือ ความยากลำบาก หรือ สิ่งท้าทาย ว่า “ตัวขัดขวาง” แล้วกันนะครับ
 

3 ข้อขัดขวางที่ทำให้สอบไม่ได้มีอะไรบ้าง?
จากประสบการณ์ ที่เคยเป็นผู้สอบ เป็นติวเตอร์ที่มีหน้าที่แนะนำผู้สอบ หรือจากการบอกเล่าของผู้สอบ เมื่อได้สังเคราะห์ “ตัวขัดขวางที่ทำให้สอบตก พบว่ามี 3 ประการ ดังนี้
 
1) การขาดความรู้  แน่นอนที่เดียว การสอบเข้าทำงานหรือแรกบรรจุเป็นราชการทุกสาขาทุกตำแหน่ง ย่อมอาศัยความรู้ หากสอบเลื่อนตำแหน่ง นั่นจะอาศัยประสบการณ์ประกอบ แต่ก็ต้องคงไว้ซึ่งการวัดความรู้อยู่ดี ดังนั้น “ความรู้” จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของคนสอบ แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ขาดความรู้ หรือ ความรู้ยังไม่เพียงพอ ความรู้ยังไม่แน่นปึก ยังไม่ชัวร์ ยังรู้ไม่กว้างไม่ไกล รู้บ้างไม่รู้บ้าง ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็อยู่ในนิยามของ “ขาดความรู้” ทั้งนั้น สิ่งที่ทำให้ขาดความรู้เราเรียกว่า สาเหตุ แล้วสาเหตุที่ทำให้ “ขาดความรู้” มันมีอะไรบ้าง
 
สาเหตุที่ทำให้ขาดความรู้ ได้แก่
       1.1) ไม่อ่านหนังสือ หรือ อ่านแต่อ่านไปเรื่อย ๆ อ่านสะเปะสะปะ สักแต่ว่าอ่านแต่ไม่รู้เรื่อง อ่านไม่จำ อ่านไปง่วงไป อ่านไปดู LINE ส่อง FAGE เก๊กใส่ VDO callไป ขี้เกียจ ผลัดวัน เดี๋ยวค่อยเริ่มอ่าน ไม่มีสมาธิในการอ่าน ท้อ หมดกำลังใจ เสียขวัญเพราะอกหักน่ะ คนรักทิ้ง หมดอาลัยตายอยากรู้ไหม กลัวเพราะสอบครั้งแรก กังวลต่างๆ นา ๆ  รวมถึง งานมาก งานหนัก งานสุมหัว เจ้านายมีแต่ใช้ ใช้ ใช้ จึงไม่มีเวลาอ่านหนังสือ
        1.2) อ่านดิ โน้ตด้วย จำดีออก แต่โทษที หนังสือที่มีและความรู้ที่ได้โคตรเก่าสมัยพระเจ้าสามเหา ระเบียบเขาเปลี่ยนไปสามรอบแล้ว อีกอย่างอ่านแล้วอ่านอีกเรื่องนี้ เรื่องเดิม ชอบอ่ะ เข้าใจดี เรื่องนั้นยากว่ะ ไม่ชอบ ไม่อ่าน
        1.3) ไม่เคลีย ไม่เข้าใจ เพราะได้แต่ ท่อง ๆ ๆ ๆ ไปติวมา ติวเยอะ ติวมาก ติวทุกสำนัก และอ่านทุกสำนักติว อ่านไม่จบสักที หนังสือเป็นกระตัก ข้อสอบเก่าโหลดเต็มไดรท์  ยิ่งติวยิ่งงง ยิ่งอ่านยิ่งงง สับสน สับสน สรุปว่า ไม่อ่านหนังสือ หรือไม่ขยันอ่าน อ่านแต่ไม่รู้เรื่อง อ่านไม่ถูกจุด เป็นสาเหตุที่ทำให้ขาดความรู้ทำให้ไม่พร้อมในการสอบ อย่างนี้สอบตกแน่ บนปานกี่วัดก็ตก
        1.3) ขยันผิดเวลา  ขยันนะ อ่าน อ่าน อ่าน แต่โทษที เร่งอ่านสามวันสามคืนก่อนสอบ ยังงี้ทำให้ป่วยได้ เรื่องที่อ่านก็จำไม่ได้ มึบตึบ เรียกว่าไม่พร้อมกับการสอบ
        1.4) หาประสบการณ์ ไปสอบเผื่อฟลุ๊ค เพื่อนชวนไป เอาใจแฟน อย่างนี้ใจไม่อยู่กับการสอบ อยู่ในกลุ่มไม่พร้อมในการสอบ
      
2) ประมาท สะเพร่า เผอเรอ ไม่รอบคอบ ในการทำข้อสอบ  นี่เป็นปัญหาระหว่างการสอบ เกิดได้กับทั้งคนอ่านหนังสือมาดี เรียกว่า พร้อมก่อนสอบ แต่เมื่ออยู่ห้องสอบความรู้นั้นลืม สับสน เลือนราง ถึงกับหาบวับ อาจจะเกิดจากเป็นการสอบครั้งแรก ขาดประสบการณ์ในการสอบ รวมความถึงผู้สอบแล้วสอบอีก หากท่องจำข้อสอบ จำตัวเลือก พอเปลี่ยนโจทย์ เปลี่ยนตัวเลือกก็จะสับสนจึงเลือกตัวเลือกที่คุ้นเคยซึ่งมีโอกาสผิด  มีความขัดแย้งกับข้อสอบ ใช้ความรู้สึกทำข้อสอบ ที่อ่านมาติวมามันไม่ใช่อย่างนี้ จึงทำให้ไม่รอบคอบ ส่งผลให้เครื่องรวน ยิ่งข้อสอบข้อต้น ๆ ยาก ยิ่งรวนไปใหญ่ ทำให้เสียสมาธิ ทั้งๆ ที่อ่านมาดี เตรียมมาดี อย่างนี้ทำให้เสียโอกาส  แต่หากคนไม่ได้อ่านหนังสือมา เตรียมตัวไม่ดี ถ้ามีสถานการณ์อย่างนี้ คงไม่เสียความรู้สึกเท่ากลุ่มแรก เดา ๆ ไป จบ ๆ ไป อาจมีฟลุ๊ค มีลุ้น โทษทีสมัยนี้ข้อสอบประเภทฟลุ๊คไม่มีครับ
 
3) ทำข้อสอบวิเคราะห์ไม่ได้  เป็นปัญหาระหว่างการสอบ ทั้งนี้เพราะอ่านหนังสือไม่เพียงพอ ขาดองค์ความรู้ในภาพรวม ไม่เข้าใจในเนื้อหาสาระหรือประเด็นนั้นอย่างแท้จริง ท่องตำรา ท่องข้อสอบ ไม่เคยฝึกทำข้อสอบวิเคราะห์ เกิดได้ทั้งกลุ่มเตรียมมาดี และยิ่งกลุ่มไม่ได้เตรียมสอบมา ยิ่งมึนตึบ นี่ถือว่าสาเหตุสำคัญมากแนวโน้มจะสูงหากข้อสอบมาตรฐาน 

 
สรุปว่า ปัญหาที่ทำให้ผู้เข้าสอบทำงาน ไม่ว่าสอบอะไรตำแหน่ง สายใด มาจากปัญหาหลัก ๆ สามประการ คือ การขาดความรู้ ประมาท สะเพร่า เผอเรอ ไม่รอบคอบและทำข้อสอบวิเคราะห์ไม่ได้  ซึ่งแต่ละปัญหาเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป เป็นปัญหาของตัวผู้เข้าสอบเอง การมีคู่แข็งเยอะ คนเก่งเยอะจึงไม่ใช่ปัญหา  การที่มีตำแหน่งอัตราจำนวนน้อยจึงไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือที่ตัวเราเอง ต้องจัดการและแข่งกับตัวเองต่างหาก
 
ดังนั้น การที่จะลดปัญหา แก้ปัญหา ทำให้สอบได้ ก็ต้องวิเคราะห์ตัวเราเองว่าสาเหตุเกิดจากอะไร วิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องแล้ว หาทางแก้ตรงจุดที่เป็นสาเหตุประเด็นนั้น ๆ อย่างนี้เมื่อแก้ไขที่ถูกจุด ปัญหาก็จะได้เบาบาง คลี่คลายหรือหมดไป และแน่นอนจะส่งผลต่อการสอบได้ สอบติด สอบไม่ตกอีกต่อไป
 
แต่โปรดอย่ากังวล อยากให้ติดตามตอนต่อไป มันสำคัญมาก จะช่วยให้ผู้สอบวิเคราะห์ แยะแยกปัญหา สาเหตุแห่งปัญหา หาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยจะมีข้อเสนอแนะหาทางแก้ปัญหาให้ ซึ่งจะทำให้ผู้สอบมีความมั่นใจในการสอบ โยนข้อขัดขวางนี้ทิ้งไป สามารถสอบได้ สิบติด เห็นผลตามที่คาดหวังในตำแหน่งงาน ได้อย่างแน่นอน
 
 
ด้วยความปรารถนาดี
Dr.borworn
 
แหล่งข้อมูล
1.นิยามปัญหา ; จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขอบเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: Dr.borworn.com
  • 30 พ.ย. 2559 เวลา 22:05 น.
  • 114,327

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^