LASTEST NEWS

08 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 08 ม.ค. 2568สาร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 07 ม.ค. 2568“ธนุ” เล็งให้ ผอ.โรงเรียน ทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างแทนครู 07 ม.ค. 2568สารนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 07 ม.ค. 2568“ศธ.ย้ำ!”ระบบTRSยื่นขอย้ายเน้นเหตุผลไม่เน้นผลงานเริ่ม16ม.ค.นี้เป็นต้นไป การันตีว่ามีระบบ TRS ความยุติธรรม โปร่งใส แก้ไขปัญหาการทุจริตได้ 100% 07 ม.ค. 2568สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รับสมัครคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน จำนวน 32 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ 2568 05 ม.ค. 2568โรงเรียนบ้านป่าเลา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 10 มกราคม 2568 05 ม.ค. 2568โรงเรียนวัดลาดหวาย รับสมัครครูอัตราจ้าง จำนวน 2 อัตรา 05 ม.ค. 2568สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา ขอเชิญสถานศึกษาส่งผลงานเพื่อเข้ารับการคัดสรรรางวัล "หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม" ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 7-31 มกราคม 2568

ครูไม่มาทำงานวันปิดเทอมเป็นขาดราชการ (ถามตอบจากข่าว 108)

  • 05 พ.ย. 2559 เวลา 23:37 น.
  • 42,080
ครูไม่มาทำงานวันปิดเทอมเป็นขาดราชการ (ถามตอบจากข่าว 108)

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ครูไม่มาทำงานวันปิดเทอมเป็นขาดราชการ (ถามตอบจากข่าว 108)

สรุปประเด็นข่าว

ปิดเทอมเด็กหยุด ครูไม่หยุด ศาลปค.สูงสุดชี้ ไม่มาทำงานถือว่าขาดราชการ(ข่าว)

ประเด็น  ; ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาการอุทธรณ์ผลการพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น ของครู 2 คน ที่ไม่ได้รับพิจารณาขั้นเงินเดือน ยื่นฟ้อง ผอ.รร. ผอ.เขตพื้นที่ฯ และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ให้เพิกถอนคำสั่งกรณีที่สั่งตนทั้งสองไม่ให้ขึ้นเงินเดือน เนื่องจากการออกคำสั่งให้มาทำงานวันปิดเทอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ยกฟ้อง (ยืนตามศาลชั้นต้น) ถือเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

 

ข้อเท็จจริง ; ผู้อำนวยการโรงเรียน ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ข มีคำสั่งแต่งตั้งครู คือ นางที่ 1 และนางที่ 2 (ผู้ฟ้องคดี) เป็นคณะกรรมการจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา ในคำสั่งอ้างสาระของระเบียบว่าในช่วงปิดภาคเรียนซึ่งถือเป็นวันพักผ่อนของนักเรียน แต่เป็นวันปฏิบัติราชการตามปกติของครู จึงให้ข้าราชการครูต้องมาปฏิบัติราชการ ลงลายมือชื่อมาปฏิบัติราชการ และหากไม่เสร็จต้องทำต่อในช่วงปิดภาคเรียนด้วย และจากการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติงานราชการของโรงเรียน ปรากฏว่าในช่วงปิดภาคเรียน ผู้ฟ้องคดี นางที่ 1 ไม่มาปฏิบัติราชการรวม 9 วันครึ่ง รวม 10 ครั้ง และผู้ฟ้องคดี นางที่ 2 ไม่มาปฏิบัติราชการ 1 ครั้ง จำนวน 1 วัน โดยไม่ยื่นใบลา ผอ.รร.วินิจฉัย ถือว่าเป็นการขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อถึงคราวการพิจารณาเลื่อนขั้นจึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ได้เลื่อนเงินเดือนในรอบครึ่งปีตามหลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนฯ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่จึงมีมติเห็นชอบไม่ให้ขึ้นเงินเดือน ผอ.เขตพื้นที่ ข ก็ออกคำสั่งตามนั้น ผู้ฟ้องเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม กระทบสิทธิ์ จึงได้ดำเนินตามขั้นตอนกฎหมายและได้ยื่นฟ้องศาลต่อปกครองนครราชสีมา(ชั้นต้น) ให้เพิกถอนคำสั่งโดยมี ผอ.รร. ก เป็นจำเลยที่ 1  ผอ.เขตพื้นที่ ข เป็นจำเลยที่ 2 และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ข เป็นจำเลยที่ 3 ต่อมาศาลปกครองชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ฟ้องจึงอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดให้ศาลกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้เพิกถอนคำสั่ง (ที่ไม่ให้ได้เลื่อนเงินเดือน)

 

ข้อกฎหมาย  

   1) ข้อ 6 ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547 มีสาระสำคัญว่า วันปิดภาคเรียน คือ วันหยุดพักผ่อนของนักเรียน ซึ่งสถานศึกษาอาจอนุญาตให้ข้าราชการหยุดพักผ่อนด้วยก็ได้ แต่ถ้ามีราชการจำเป็น ให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการเหมือนการมาปฏิบัติราชการตามปกติ

     2) ข้อ 7(4) กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ใช้โดยอนุโลมใช้กับครูฯในตอนนั้น) กำหนดว่า ผู้ที่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นในแต่ละครั้ง ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร

 

ข้อวินิฉัย  ศาลได้วินิจฉัยสองประเด็น ตามประเด็นฟ้องของผู้ฟ้อง ดังนี้

  1) ประเด็นแรกผู้ฟ้องเห็นว่า กระบวนการดำเนินการก่อนออกคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติทางการปกครอง พ.ศ. 2539 ที่กล่าวถึง กรณีที่มีคำสั่งทางการปกครองและกระทบสิทธิ์ของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้มีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน จึงเป็นการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมาย  แต่ศาลได้พิเคราะห์ว่า คำสั่งทางการปกครองในกรณีการบรรจุ แต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน สั่งพักราชการ สั่งให้ออกจากงานหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เป็นคำสั่งทางการปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) ซึ่งได้รับการยกเว้นตามวรรคแรก โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งได้ โดยไม่จำเป็นให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ มีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนก่อนมีคำสั่ง ดังนั้นจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ผู้ฟ้องก็มีโอกาสชี้แจงต่อ ผอ.โรงเรียนถึงกรณีที่กล่าวอ้างว่าผู้ฟ้องขาดราชการโดยไม่เหตุอันสมควร จนเป็นผลให้มีการออกคำสั่งไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนแล้ว ก็แสดงว่าได้รับทราบข้อเท็จจริงและมีโอกาสโต้แย้งแสดงหลักฐานแล้ว ดังนั้นกระบวนการก่อนออกคำสั่งจึงชอบด้วยกฎหมาย

 

  2) ประเด็นสองผู้ฟ้องเห็นว่า ผู้ฟ้องมิได้ขาดราชการเนื่องจากวันดังกล่าวที่ไม่มาปฏิบัติราชการนั้นเป็นวันปิดภาคเรียน งานที่ปฏิบัติเป็นการจัดทำเอกสารเตรียมประเมินตำแหน่งเชี่ยวชาญของ ผอ.โรงเรียนและไม่มีชื่อในคำสั่งของโรงเรียนฯ ศาลมีประเด็นพิเคราะห์ว่า ผู้ฟ้องเป็นผู้มีสิทธิ์ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นหรือไม่ ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ ตามข้อกฎหมายตามมาตรา 73 วรรคหนึ่ง มาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ใช้โดยอนุโลมใช้กับครูฯในตอนนั้น) ซึ่งบัญญัติถึงกระบวนการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงื่อนไขการไม่ได้เลื่อนเงินเดือนครึ่งขั้นอันเนื่องมาจากการขาดราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เห็นว่า ผู้ฟ้องได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นกรรมการจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา เมื่อทำแผนไม่เสร็จ ผอ.โรงเรียน จึงชอบที่จะสั่งให้มาปฏิบัติราชการต่อในวันปิดภาคเรียนถือว่าเป็นราชการจำเป็น ตามนัยข้อ 6 ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ดังนั้นข้าราชการครูในโรงเรียนจึงต้องมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ และลงลายมือชื่อมาปฏิบัติราชการ หากไม่มาปฏิบัติราชการต้องยื่นใบลา แต่ผู้ฟ้องทั้งสองไม่ได้มาปฏิบัติราชการ และไม่ยื่นใบลา จึงเป็นผู้ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (นางที่1 หลายครั้งหลายวัน นางที่ 2 หนึ่งครั้ง หนึ่งวัน) จึงไม่มีสิทธิ์ได้เลื่อนเงินเดือนตาม ข้อ 7(4) ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ใช้โดยอนุโลมใช้กับครูฯในตอนนั้น) ดังนั้นการที่สำนักงานเขตพื้นที่ ข ออกคำสั่งโดยไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้อง โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ข จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

 

คำพิพากษา ; คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.1062/2559 อ่านคำพิพากษา ณ ศาลปกครองนครราชสีมา ความว่า การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน (มติของ อ.ก.คศ. และการออกคำสั่งไม่ให้เลื่อนเงินเดือนของ ผอ.เขตฯชอบด้วยกฎหมายแล้ว)  


ที่มา ; หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 1 พ.ย. 2559

ถอดบทเรียน ; การที่มีคำสั่งของผู้อำนวยการโรงเรียนให้ข้าราชการครูมาปฏิบัติราชการในช่วงการปิดภาคเรียนเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การละเลยไม่มาปฏิบัติราชการตามคำสั่ง โดยไม่ยื่นใบลา ย่อมถือว่าเป็นการขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การขาดราชการเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผผลไม่ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี(รอบครึ่งปี)

ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. 2547

2. กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2550

3. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544
 

ตั้งข้อสอบ

1. คำถาม  ; ผู้สั่งเลื่อนเงินเดือนครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียน สพฐ.คือ  

    คำตอบ ; ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

2. คำถาม  ; คดีที่ศาลปกครองชั้นต้นรับพิจารณาคือ

    คำตอบ ; คดีทางการปกครอง


ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: เว็บไซต์บ้านสอบครู วันที่ 5 พฤศจิกายน 2559 

  • 05 พ.ย. 2559 เวลา 23:37 น.
  • 42,080

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^